ทำร้านให้รวย แกะสูตรบอม Bill of Material ให้ไว!

ต้นทุนคือตัวแปรสำคัญในการทำธุรกิจ โดยเฉพาะบรรดาแฟรนไชส์อาหารควรมีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบประมาณ 35 – 40% ยิ่งตอนนี้ราคาวัตถุดิบพุ่งสูงทั้งเนื้อสัตว์ , ไข่ , ผักสด ฯลฯ หากร้านไหนควบคุมต้นทุนวัตถุดิบไม่ดีมีโอกาสทุนหายกำไรหด บางร้านขายดีแต่ทำไมถึงเจ๊ง เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะการบริหารจัดการในเรื่องนี้ไม่มีประสิทธิภาพ

คำถามคือจะให้บริหารจัดการยังไง มีวิธีไหนที่ช่วยควบคุมได้บ้าง?

Bill of Material

เทคนิคที่แฟรนไชส์อาหาร – เครื่องดื่มควรรู้คือ “BOM” (Bill of Material) ซึ่งสูตร BOM ที่ว่านี้ในอุตสาหกรรมการผลิต เขารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะมันคือรายการวัสดุ, สูตรการผลิต หรือ โครงสร้างสินค้า (Product Structure) ที่ใช้แสดงข้อมูล ส่วนประกอบ, จำนวนวัสดุที่ใช้ ลำดับการผลิตคร่าวๆ ครอบคลุมจนปริมาณที่ใช้ผลิต และระยะเวลาการผลิต ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า 1 รายการ

แต่เมื่อเอามาใช้ในธุรกิจร้านอาหาร – เครื่องดื่มจะหมายถึงการบันทึกสูตรอาหาร-เครื่องดื่มแต่ละเมนู รายการวัตถุดิบที่ใช้แต่ละเมนู ว่าใช้อะไรเท่าไหร่ กี่กรัม กี่ช้อน กี่ชิ้น กี่ตัว กี่ฟอง ฯลฯ แล้วกำหนดบันทึกลงในเครื่อง POS ซึ่งจะมีประโยชน์เช่น

  • สามารถตรวจสอบการใช้วัตถุดิบได้แม่นยำขึ้น
  • ตรวจสอบข้อมูลการใช้งานวัตถุดิบได้ง่ายขึ้น
  • ทำให้รู้ต้นเหตุของปัญหา นำไปสู่การหาสาเหตุและวิธีแก้ไขได้อย่างถูกต้อง
  • ควบคุมเรื่องต้นทุนได้อย่างเป็นระบบช่วยเจ้าของกิจการทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น
  • ควบคุมในเรื่องรสชาติและมาตรฐานสินค้าให้เหมือนกันได้

ถ้ายังมองไม่เห็นภาพว่า BOM” (Bill of Material) จะช่วยให้ควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไร

Bill of Material

ยกตัวอย่างของร้านอาหารตามสั่ง ถ้าลูกค้าสั่งข้าวผัดกระเพรา 1 จาน โดยปกติทั่วไปถ้าไม่มีสูตร BOM อยากใส่วัตถุดิบอะไรเท่าไหร่ก็ตามใจ นอกจากควบคุมต้นทุนวัตถุดิบไม่ได้ รสชาติบางทีก็ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก

แต่ถ้ามีสูตร BOM เข้ามาร่วมด้วยจะทำให้รู้ทันทีว่า ข้าวกระเพรา 1 จาน จะต้องใช้ข้าวเท่าไหร่ , หมูเท่าไหร่ , ซอสปรุงเท่าไหร่ ,กระเพราเท่าไหร่ ,พริก กระเทียมเท่าไหร่ และเครื่อง POS ก็จะตัดรายการวัตถุดิบในสต็อกให้โดยอัตโนมัติ

เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการมากๆ เพราะการมีสูตร BOM จะช่วยให้หาค่าความแตกต่างการใช้วัตถุดิบระหว่างขายจริง กับใช้จริงเพราะ แต่ละเมนูการใช้วัตถุดิบกับการขายออกไปจะสัมพันธ์กันถ้าตัดไปตัดมาแล้วรายการของในสต็อกไม่สัมพันธ์กับการขายออกก็จะทำให้เรารู้ว่ากำลังมีปัญหา

Bill of Material

เช่น หมู 1 กิโลกรัม ทำผัดกระเพราะได้ 20 ออเดอร์ ถ้าเราขายผัดกระเพราะออกไป 20 ออเดอร์หมูในสต็อกก็จะต้องหมดไป 1 กิโลกรัม แต่ถ้าวันนั้นขายออกไป 20 ออเดอร์นับสต็อกเสร็จหมูหายไป 2 กิโล

หรือขายไป 30 ออเดอร์แต่นับสต็อกหมูใช้ไปแค่กิโลเดียวแสดงว่ามีปัญหาผิดพลาดทำให้เราได้รู้และหาสาเหตุและหาวิธีแก้ไขเช่น อาจเกิดจากไม่ทำตามสูตร ใช้มากไป น้อยไปหรือ ตอนรับวัตถุดิบเข้าไม่ได้ตรวจสอบจำนวน หรือ เกิดการทุจริต เป็นต้นซึ่งก็จะมีผลต่อการจัดการต้นทุนโดยตรง

Bill of Material

ส่วนใหญ่สูตร BOM นี้จะใช้ในร้านอาหารขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นร้านขนาดกลาง – เล็ก มักมองข้ามอาจเพราะวิธีการค่อนข้างยุ่งยากเพราะต้องคีย์ข้อมูลวัตถุดิบลงในระบบ POS เริ่มตั้งแต่รับวัตถุดิบอะไรเข้ามาบ้าง

แล้วต้องมาแยกเป็นหน่วยย่อย เช่น น้ำปลา 1 ลัง แยกเป็นกี่ขวด จากน้ำปลาแต่ละขวดแยกเป็นกี่กรัม และใช้ในแต่ละเมนูเท่าไหร่ ซึ่งในความเป็นจริง สูตร Bill of Material (BOM) มักนำไปใช้กับต้นทุนวัตถุดิบสำคัญๆ พวกน้ำปลา น้ำตาล เกลือ พวกนี้ไม่ค่อยใส่ลงในสูตรเท่าไหร่นัก เพราะละเอียดและยิบย่อยเกินไป

แม้สูตร BOM อาจดูยุ่งยากแต่ถ้าช่วยให้ธุรกิจเป็นระบบและมีคุณภาพก็นับว่าคุ้มค่าที่จะทำ สิ่งเล็กๆที่หลายคนมองข้ามอาจเป็นปัญหาแบบน้ำซึมบ่อทรายที่หากไม่รับการแก้ไข จากรูเล็กจะกลายเป็นรูใหญ่ มีผลต่อยอดขาย มีผลต่อกำไรได้เช่นกัน

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด