จับเทรนด์ยุคใหม่ เลิกกลัว AI แย่งงาน แต่ให้กลัวคนใช้ AI เป็น

จับเทรนด์ยุคใหม่ อนาคต AI ความท้าทายที่ส่งผลต่อธุรกิจ ผู้บริโภค คนทำงาน AI ช่วยทำการตลาด สร้างคอนเทนต์ สร้างรูปภาพ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน โดยใช้เวลาที่น้อยลง และพนักงานนำเวลาที่มีไปโฟกัสกับงานที่มีความสำคัญที่ต้องใช้การตัดสินใจ ชี้อนาคต AI ไม่ได้มาแย่งงานคน แต่คนที่ใช้ AI จะมาแย่งงานแทน

จับแทรนด์ยุคใหม่

คุณณัฐพล ยงค์ไพบูลย์ เจ้าของเพจ ChatGPT on Marketing พลิกการตลาดด้วย AI และ ผู้แต่งหนังสือ Generative AI for Marketing การตลาดฉลาดใช้ AI เพิ่มยอดขายกำไรพุ่ง เปิดเผยว่า สถานการณ์และอนาคตของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในปี 2567

ธุรกิจเอสเอ็มอีเริ่มตื่นตัวกับการนำ AI เข้ามาใช้ในการทำงานมากขึ้น ช่วยลดเวลาการทำงาน ลดต้นทุนต่างๆ จะเห็นได้ว่าตั้งปี 2565 หลายๆ บริษัทเริ่มมีการอบรมพนักงานในการใช้ AI บ้างแล้ว แต่ไม่ถึงขั้นจริงจังเท่ากับปี 2567 หลายบริษัทเริ่มใช้กันจริงจัง ไม่ว่าจะเป็น ChatGTP, Gemini ที่เป็นระบบเสียเงินนำมาใช้ในองค์กร

จับเทรนด์ยุคใหม่

องค์กรส่วนใหญ่จะนำ AI มาใช้งานด้านการตลาด ว่าด้วยรูปแบบ Generative AI สร้างคอนเทนท์ ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอ ส่วนแผนกอื่นเริ่มใช้ได้ เช่น HR การคัดกรอง ประกาศหางาน ช่วยประยัดเวลา งานที่ทำซ้ำๆ ส่วนงานอื่นๆ ยังไม่ค่อยได้ใช้กันมากนัก แผนกอื่นๆ ก็จะมีบัญชีนำมาใช้บ้าง วิเคราะห์ข้อมูลบ้าง AI ก็สามารถช่วยได้

“Generative AI ช่วยทำการตลาด สร้างคอนเทนต์ สร้างรูปภาพ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อช่วยทำการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้เวลาที่น้อยลง และนำเวลาที่เพิ่มขึ้นไปโฟกัสกับงานที่มีความสำคัญที่ต้องใช้การตัดสินใจ” คุณณัฐพล กล่าว

จับเทรนด์ยุคใหม่

คุณณัฐพล กล่าวต่อว่า ธุรกิจที่อยากเพิ่มยอดขาย เริ่มแรกต้องทำให้คนรู้จักสินค้าและบริการ เริ่มตั้งแต่การทำตลาด การสร้างโฆษณา โพสต์บทความต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยี AI สามารถสร้างบทความที่เจาะจงไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ระบุว่าลูกค้าของเราเป็นใคร อายุเท่าไหร่ ช่วยให้การทำการตลาดออกไปตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

ส่วนต่อมา คือ ฝ่ายขาย พัฒนาการของ Generative AI สามารถสร้างสคริปข้อความต่างๆ ที่ฝ่ายขายต้องการสื่อสารไปยังลูกค้า เมื่อลูกค้าตรงเป้าหมายก็สามารถปิดยอดขายได้เร็วขึ้น

อีกส่วนเป็น Business สามารถนำ AI มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลในองค์กรได้ เพราะรูปแบบของ ChatGTP มีประโยชน์เรื่องของการนำข้อมูลในอดีต เช่น ยอดขาย หรือข้อมูลด้านการตลาดต่างๆ ป้อนใส่เข้าไปให้ช่วยวิเคราะห์หาช่องทางหรือในอนาคตข้างหน้าต้องมีการปรับปรุงแผนการตลาดและแผนการดำเนินธุรกิจอะไรบ้างเพื่อให้ดีขึ้น

Generative AI เพิ่มยอดขายให้ทุกธุรกิจ

จับเทรนด์ยุคใหม่

ธุรกิจแฟรนไชส์มีการนำ AI มาใช้หรือไม่ คุณณัฐพล บอกว่า ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจด้านการตลาด เอเจนซี่ โปรดักชั่น และองค์กรบางที่ รวมถึงเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ไปเรียนด้วยเองในการนำ AI มาใช้ในการทำงาน ช่วยลดต้นทุน สร้างสื่อสารการตลาดใช้เงินค่อนข้างสูง พอใช้ AI ทำให้ต้นทุนต่างๆ ลดลง มีกราฟิก คอนเทนท์มือชีพช่วยทำงานให้เราได้

ส่วนการนำ AI มาช่วยเพิ่มยอดขาย เครื่องมือ Generative AI สามารถช่วยงานได้เกือบทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะธุรกิจค้าปลีก การขายสินค้าอีคอมเมิร์ซ นำมาช่วยสร้างข้อความต่างๆ เกี่ยวกับโฆษณา สินค้า อธิบายรายละเอียดสินค้าบนเว็บไซต์

กลุ่มบริการ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ช่วยเรื่องการโปรโมตบริการต่างๆ Customer Service พนักงานที่ตอบแชทลูกค้า ปัจจุบันมีเครื่องมือพวกแชทบอทผนวกกับ Generative AI สมัยพวกแชทบอทพวกนี้ตอบได้แบบหุ่นยนต์ ถามและตั้งคำตอบไว้ แต่ปัจจุบัน Generative AI สามารถคิดวิเคราะห์คำถามได้ ที่สามารถตอบได้เหมือนมนุษย์มากขึ้น เรียกได้ว่าช่วยในการให้บริการลูกค้าและการขายสินค้าได้ดีกว่าที่ผ่านมา

AI ลดต้นทุน เพิ่ม Productivity

จับเทรนด์ยุคใหม่

ภาพจาก www.facebook.com/chatgptonmarketing

มูลค่าการนำ AI มาใช้ คุณณัฐพล บอกว่า มูลค่าคือการลดต้นทุนให้ธุรกิจ สร้างการเติบโตได้สูงขึ้น โดยที่มีการใช้ต้นทุนที่น้อยลง เดิมที่เอสเอ็มอีอยากขยายธุรกิจ ต้องสร้างทีมการตลาด จะต้องใช้คนหลายคน อาจต้องใช้งบประมาณสูง เมื่อมี AI มาช่วยจะสามารถลดงานต่างๆ ที่คนทำได้มากขึ้น ทำให้ธุรกิจมีกำไรมากขึ้น นำกำไรไปขยายการลงทุนต่างๆ ที่สำคัญ องค์กรใหญ่ๆ เมื่อนำ AI มาใช้ในการทำงานจะช่วยให้งานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เดิมทีคนจะกลัว AI มาแย่งงาน แต่มาตอนนี้ต้องกลัวคนที่ใช้ AI มาแย่งงาน เพราะสามารถงานได้ทวีคูณมากขึ้น ผลลัพธ์ของงานสูงขึ้น โดยใช้เวลาน้อยลง คนกลุ่มนี้จะมีทักษะด้าน AI จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน การให้พนักงานในองค์กรใช้เครื่องมือ AI จะส่งผลต่อ Productivity ทำงานเร็วขึ้น ลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ

“ธุรกิจไม่ต้องกลัวที่จะใช้ AI เหมือนแต่ก่อนเรากลัวอินเทอร์เน็ต สุดท้ายทุกคนก็ได้ใช้อินเทอร์เน็ต หลีกเลี่ยงการใช้อินเทอร์เน็ตไม่ได้” คุณณัฐพล กล่าว 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช