จริงมั๊ย? แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย อายุสั้น

ในไทยตอนนี้มีแฟรนไชส์อยู่ 2 รูปแบบที่คนนิยมทำกัน คือ Product Franchise และ Business Format Franchise ทั้ง 2 รูปแบบต่างกันตรงที่ใช้เงินลงทุนต่ำกับสูง และระบบหลังบ้าน-หน้าบ้านที่ Product Franchise ไม่ค่อยมี

Product Franchise จะใช้เงินลงทุนต่ำ หลักหมื่น หลักแสนต้นๆ เน้นขายสินค้า ไม่ได้เน้นขายระบบ ส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์สตรีทฟู้ด ชานมไข่มุก รถเข็น เคาน์เตอร์ ซุ้มขายของ แฟรนไชส์กลุ่มนี้จะได้กำไรครึ่งต่อครึ่งของต้นทุนวัตถุดิบ เพราะต้องซื้อจากแฟรนไชส์ซอร์ กำไรอาจตกอยู่ที่ 50-60% หรืออาจจะไม่ถึง ขึ้นอยู่กับบริหารจัดการของแฟรนไชส์ซีด้วย

ถ้าถามว่า แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย อายุสั้น จริงหรือไม่?

แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย

ขึ้นอยู่กับธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ ว่ามีชื่อเสียง และได้รับความนิยมในตลาดแค่ไหน ถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม เปิดในทำเลที่ดีมากๆ คนสัญจรผ่านไปมาตลอดทั้งวัน เชื่อว่าน่าจะทำยอดขายได้ดี จะอยู่รอดได้ ขายมากได้กำไรมาก ขายน้อยได้กำไรน้อย แต่ถ้าเปิดทำเลคนเงียบๆ นานๆ กว่าจะมีคนผ่าน ยิ่งแบรนด์ไม่ดัง สินค้าไม่ตอบโจทย์ ก็อยู่รอดยาก

แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ จะไม่มีค่า Royalty Fee ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บเป็นรายเดือนจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยคิดจากยอดขาย โดยทั่วไปมักจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ 3-5% จากยอดขายแต่ละเดือน

ค่า Royalty Fee ถือเป็นรายได้ของเจ้าของแฟรนไชส์ โดยทั่วไปจะนำไปสนับสนุนแบรนด์และแฟรนไชส์ซี เจ้าของแฟรนไชส์ที่ไม่เก็บค่า Royalty Fee ต้องการให้คนซื้อแฟรนไชส์รู้สึกว่าต้นทุนต่ำลง และดึงดูดให้คนมาซื้อแฟรนไชส์มากขึ้น

แต่ข้อเสีย คือ ต้องไม่ลืมว่าเมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ไม่มีรายได้ในส่วนนี้ ก็ไม่มีเงินไปบริหารการตลาดของแบรนด์ ภาระความเสี่ยงทั้งหมดก็จะตกอยู่ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ลงทุนต่ำที่จ่ายค่าแฟรนไชส์แรกเข้าครั้งเดียวแล้วจบ

แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ทำเงินน้อย

ซึ่งหลังจากนั้นจะไม่ค่อยมีการซัพพอร์ตจากเจ้าของแบรนด์เท่าไหร่ จัดส่งเพียงแต่วัตถุดิบเท่านั้น เพราะถือว่าขายขาดไปแล้ว เรียกได้ว่าขายตามมีตามเกิด ผู้ซื้อแฟรนไชส์คนไหนถ้าบริหารจัดการไม่ดี หรือสินค้าไม่ถูกใจลูกค้า อยู่รอดยาก

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะอยู่รอดและเติบโต ต้องมีใน 4 ด้าน คือ สินค้าบริการที่มีคุณภาพ ระบบงานที่ดีมีประสิทธิภาพ ทีมงานที่มีความสามารถ และผลกำไรที่มั่นคง โดยก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ ต้องต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องหลักๆ คือ

  1. ควรหาความรู้ความเข้าใจเรื่องของแฟรนไชส์ก่อนเป็นอันดับแรก
  2. ให้พิจารณาดูว่าตนเองชอบธุรกิจอะไร มีลักษณะอย่างไร
  3. หาข้อมูลแฟรนไชส์ในธุรกิจที่ตนชอบ และทำการวิเคราะห์ ข้อดี ข้อเสียต่างๆ

สุดท้าย ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์ให้ดี เป็นธุรกิจกระแส หรือธุรกิจที่คนต้องกินต้องใช้ อย่าลืมว่าแฟรนไชส์ไม่ใช่ธุรกิจที่การันตีอย่างแน่นอนว่าจะประสบผลสำเร็จ มีผลกำไร หรือไม่เจ๊ง การซื้อแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าเลือกแฟรนไชส์แบบไหน มีความตั้งใจ ความทุ่มเทจริงจังหรือไม่ นั่นเอง เพราะคนซื้อแฟรนไชส์ใหญ่ๆ 7-Eleven ไปไม่รอดหรือเจ๊งไปมากก็มีถมเถ หรือ คนซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดอยู่ได้ เลี้ยงครอบครัวก็มีมาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช