จริงมั้ย? ธุรกิจร้านอาหาร คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
ต้องยอมรับว่าการเปิดร้านอาหาร ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมทำกันมากที่สุด เพราะทำง่าย ขายง่าย ผู้คนต้องกินทุกวัน ถ้าบริหารจัดการดีก็สามารถทำกำไรได้มหาศาล แต่ถ้าบริหารจัดการไม่ดี ทำเลไม่มีศักยภาพ หรือภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย ก็ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายๆ คนเจ๊งและปิดกิจการไปเป็นจำนวนมาก
สำหรับกระแสที่เรามักได้ยินบ่อยครั้งที่ว่า ธุรกิจร้านอาหาร ทำไมบางคนบอกดี บางคนบอกไม่ดี คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า อะไรที่ทำให้เกิดความแตกต่างสุดขั้วทางมุมมองเช่นนี้ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
คนในอยากออก
สำหรับกระแสที่ว่าคนทำธุรกิจร้านอาหารอยากจะออกจากวงการนี้ อาจจะมีหลายปัจจัยทำให้ผู้ประกอบการร้านอาหารไม่อยากจะทำธุรกิจร้านอาหารต่อไป ไม่ว่าจะปิดกิจการ ขายกิจการ เซ้งกิจการ และอื่นๆ
เริ่มแรกที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากทำธุรกิจอาหารต่อไป ก็คือ เจ้าของกิจการร้านอาหาทำอาหารไม่เป็น บริหารจัดการร้านไม่เป็น วางโมเดลร้านอาหารไม่เป็น อยากทำร้านอาหารเพราะรายได้
เมื่อทำอะไรไมเป็น แต่มีเงินลงทุนก็เลยต้องจ้างคนอื่นมาทำ มาบริหารจัดการแทน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะจบลงด้วยการถูกหุ้นส่วนโกง หรือไม่ก็โดนยักยอกเงินในร้านจนอยู่ไม่ได้ หรือพอมีปัญหาหาคนงาน พ่อครัวป่วยลา ตัวเองก็ทำอะไรไม่เป็น นอกจากนั่งคิดเงินบนโต๊ะ สุดท้ายก็ต้องปิดร้านอยู่ดี
นอกจากนี้ เจ้าของร้านอาหารยังต้องเจอกับปัญหาเรื่องพนักงานในร้านมาสาย ลาป่วยอยู่บ่ยอครั้ง จนไม่สามารถให้บริการลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการได้ทัน ลูกค้าต้องรอนาน ทำให้เจ้าของร้านปวดหัว ที่สำคัญเมื่อปิดร้านแล้วต้องอยู่จัดการอะไรอีกหลายอย่าง แม้เหนื่อยแทบขาดใจก็ต้องฝืน ทำอะไรซ้ำๆ จำเจทุกวัน ทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายwไม่อยากทำต่อ
ขณะเดียวกัน ปัจจุบันต้องยอมรับธุรกิจร้านอาหารมีจำนวนมาก ทั้งร้านอาหารเก่า ร้านอาหารใหม่ ทำให้เกิดการแข่งขันสูง เพราะลูกค้ามีทางเลือกที่จะใช้บริหารร้านไหนก็ได้ ยิ่งถ้าร้านอาหารใดที่มีโมเดลร้านไม่ชัดเจน และแตกต่างจากร้านอื่นมักจะไปไม่รอด และที่สำคัญเรื่องของรสชาติอาหารต้องอร่อย บริการและบรรยากาศต้องดีเยี่ยม
อีกปัจจัยหนึ่งที่ถือเป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการร้านอาหารกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ ก็คือ ต้นทุนค่าวัตถุดิบในการปรุงอาหารสูงขึ้น ราคาวัตถุดิบต่างๆ มีการเพิ่มขึ้นค่าครองชีพที่สูงขึ้น หรือสูงขึ้นตามเทศกาลต่างๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เมื่อจำเป็นต้องขึ้นราคาขายอาหารแต่ละเมนู ทำให้ลูกค้ามาใช้บริการน้อยลง สุดท้ายขาดทุน จึงอยากปิดกิจการ ยิ่งในช่วงหน้าฝนร้านอาหารที่ไม่มีหน้าร้านทำทำให้ลำบากในช่วงฝนตก ลูกค้าก็ไม่มาใช้บริการ แถมมีเวลาพักผ่อนน้อย ตื่นเช้า
สรุปก็คือ เปิดร้านอาหารแล้วไม่รุ่ง รายได้ไม่เป็นดังที่ตั้งใจเอาไว้ ลูกค้าน้อย คู่แข่งเยอะ เหนื่อย เวลาพักผ่อนน้อย ราคาวัตถุดิบแพง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เจ้าของธุรกิจร้านอาหารอยากออกจากวงการอาหาร
คนนอกอยากเข้า
คนนอกอยากเข้ามาเปิดร้านอาหารเพราะคิดว่า ธุรกิจร้านอาหารขายของกิน คนต้องกินทุกวันอยู่แล้ว เป็นธุรกิจกำไรเยอะ หรือบางคนอยากทำธุรกิจร้านอาหาร ตัวเองก็ยังทำอาหารไม่เป็น แต่อยากรวย เพราะมีเงินลงทุนเปิดร้านสบายๆ
นอกจากนี้ คนที่อยากเปิดร้านอาหารส่วนหนึ่งมองว่าขายได้ง่าย ได้กำไรแบบวันต่อวัน เพราะลูกค้าต้องกินเป็นประจำ มีเงินทุนหมุนเวียน สามารถซื้อสินค้าและวัตถุดิบมาทดแทนได้ตลอดเวลา มีความสะดวกสบาย เพราะเป็นเจ้านายตัวเอง
ที่สำคัญบางประเภทของธุรกิจอาหาร สามารถทำคนเดียวได้แบบสบายๆ ขายได้ทั้งหน้าบ้าน หรือตลาดนัด จะเปิดร้านขายหรือจะหยุดเมื่อไหร่ก็ได้ อีกทั้งเจ้าของธุรกิจร้านอาหารสามารถทำกินได้เองในครอบครัวในช่วงเย็น ไม่ต้องเปลืองเงินไปซื้อของกินข้างนอก เพิ่มโอกาสในการขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ หากของกินได้รับความนิยมจากลูกค้า
นอกจากนี้ คนที่อยากทำธุรกิจร้านอาหาร นอกจากตนจะทำอาหารอร่อยแล้ว ยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการขายออนไลน์ น่าจะเพิ่มยอดขายได้อีกทาง ไม่ต้องมีหน้าร้าน เพียงแค่มีครัวในบ้านเท่านั้น ที่สำคัญคนส่วนหนึ่งมีทำเลเปิดร้านขายอาหารที่มีศักยภาพคนพลุกพล่านตลอดทั้งวัน รวมถึงค่าเช่าไม่แพงอีกต่างหาก หรือซื้อแฟรนไชส์อาหารดังๆ มาเปิดได้
#แฟรนไชส์อาหารคนนิยมลงทุน https://bit.ly/3dkPcfk
นั่นคือ เหตุผลที่ว่าทำไม ธุรกิจร้านอาหาร คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3QzAteD
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)