ขายสูตร vs ขายแฟรนไชส์ อย่างไหนดีกว่ากัน!

เชื่อว่ามีหลายคนที่กำลังทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ อยากจะมีรายได้มากขึ้น ด้วยวิธีการขายสูตรให้คนอื่นนำไปเปิดร้าน หรือขายแฟรนไชส์ แต่ไม่รู้ว่าจะตัดสินใจเลือกอะไรระหว่างการขายสูตร กับ ขายแฟรนไชส์ เพราะยังไม่รู้ว่าแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร เพราะตัวเองไม่รู้เรื่องการทำธุรกิจแฟรนไชส์เลย อีกทั้งการขายสูตรอาหารก็ไม่รู้ว่าจะมีความยุ่งยากหรือไม่

ถ้าถามว่าขายสูตรกับขายแฟรนไชส์ อย่างไหนดีกว่ากัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อเปรียบเทียบและมีข้อมูลแต่ละแบบมานำเสนอให้ทราบ เพื่อนำไปใช้พิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกรูปแบบการทำธุรกิจครับ

#ขายสูตร

ข้อดี

1.มีรายได้จากการเปิดคอร์สอบรม

ขายแฟรนไชส์

นอกจากจะเปิดร้านขายอาหารตามปกติแล้ว เจ้าของร้านอาหารอาจจะเปิดคอร์สอบรมการทำธุรกิจร้าน รวมถึงวิธีการทำอาหารเมนูต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน เพื่อสร้างรายได้เพิ่ม ถ้าร้านอาหารของคุณมีเมนูอาหารสูตรเด็ดที่แตกต่างจากร้านอาหารทั่วไป ก็อาจสามารถดึงดูดผู้สนใจทำธุรกิจร้านอาหารสมัครเข้ามาเรียนวิธีการทำอาหารได้จำนวนมาก

2.ลดต้นทุนในการขยายสาขาเพิ่ม

14

สำหรับเจ้าของร้านอาหารที่ไม่อยากขายแฟรนไชส์ อยากขยายสาขาด้วยตัวเอง หากเลือกวิธีการสร้างรายได้เพิ่มด้วยการขายสูตรและเปิดคอร์สอบรมสอนการทำอาหาร ก็อาจจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการขยายสาขาด้วยตัวเองลงได้ เพราะวิธีการขายสูตรไม่จำเป็นต้องมีสาขามากมาย มีเพียงหน้าร้านและสถานที่ในการสอนการทำอาหารก็เพียงพอแล้ว

3.ไม่ต้องดูแลเครือข่ายร้านสาขา

10

เจ้าของร้านอาหารที่เลือกวิธีการขายสูตร จะไม่ต้องมีภาระหน้าที่ในการดูแลและช่วยเหลือเครือข่ายร้านต่างๆ เหมือนกับการขายแฟรนไชส์ที่จะต้องควบคุมดูแลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การขายสูตรอาหารจะขายแล้วขายเลย ไม่ต้องไปควบคุมดูแลว่าคนที่มาซื้อสูตรอาหารจะไปเปิดร้านอาหารแบบไหน ตกแต่งอย่างไร หรือจะขายทำเลที่ไหน

4.ไม่ต้องสร้างร้านต้นแบบ

6

การขายสูตรอาหารไม่จำเป็นต้องสร้างร้านต้นแบบเหมือนกับการขายแฟรนไชส์ ที่จะต้องมีร้านตัวอย่างให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้เห็นในเรื่องการตกแต่งร้าน สินค้าและบริการ การบริหารจัดการ ยอดขาย และกำไร เจ้าของร้านอาหารที่ต้องการขายสูตรแค่เปิดหน้าร้านขายอาหารปกติทั่วไป ส่วนอีกมุมหนึ่งของร้านก็จัดเป็นที่สอนการทำอาหารให้ผู้สนใจ

5.ไม่ต้องสร้างแบรนด์ติดตลาด

9

เจ้าของร้านอาหารที่คิดจะ ขายแฟรนไชส์ ในช่วงแรกๆ จะต้องสร้างแบรนด์ธุรกิจหรือร้านอาหารให้เป็นที่รู้จักของผู้คนในวงกว้าง ทำการตลาดให้สินค้าและบริการได้รับความนิยมจากผู้บริโภค แต่สำหรับเจ้าของร้านอาหารที่ต้องการขายสูตรไม่จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ให้โด่งดังมากนัก เพียงแค่เจ้าของร้านอาหารมีฝีมือการทำอาหารให้อร่อยจนลูกค้าติดใจก็เพียงพอ

ข้อเสีย

8

1.ไม่สามารถควบคุมคนซื้อสูตร

การขายแฟรนไชส์จะสามารถควบคุมและดูแลผู้ซื้อแฟรนไชส์ ให้บริหารจัดการร้านให้เป็นมาตรฐานเดียวกันได้ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ขายแฟรนไชส์ ส่วนการขายสูตรนั้น เจ้าของร้านอาหารไม่จำเป็นต้องไปควบคุมดูแลผู้ซื้อสูตรอาหารในเรื่องการบริหารจัดการร้านอาหาร ผู้ซื้อสูตรสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนดัดแปลงเมนูอาหารใหม่ๆ ก็ได้ตามใจ

2.สูตรอาจถูกคนซื้อนำไปขายต่อ

นอกจากเจ้าของร้านอาหารจะไม่สามารถควบคุมและดูแลผู้ซื้อสูตรอาหารได้ ยังอาจถูกผู้ซื้อสูตรหรือผู้ที่มาเรียนวิธีการทำอาหารไปเปิดคอร์สอบรมวิธีการทำอาหารเหมือนกันก็ได้ เพราะไม่ได้มีข้อตกลงกัน ผู้ซื้อสูตรกลับไปเปิดร้านมีลูกค้ามาใช้บริการจำนวนมากก็สามารถขายสูตรต่อให้กับคนอื่น เพื่อสร้างรายได้เพิ่มก็ยังทำได้

7

3.ผู้ซื้อสูตรอาจกลายเป็นคู่แข่ง

นอกจากผู้ที่มาซื้อสูตรอาหารจะสามารถขายสูตรต่อให้คนอื่นในพื้นที่ของตัวเองได้ วันดีคืนดีคุณอาจจะเห็นมาเปิดร้านขายข้างๆ หรือในพื้นที่ใกล้เคียงกับคุณก็ยังสามารถทำได้ ยิ่งหากร้านของคุณไม่มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ทันสมัย หากผู้ซื้อมาเปิดร้านใกล้เคียงคุณมีการพัฒนาที่ดีกว่า มีเมนูที่ดีกว่า และมีบริการที่ดีกว่า คุณก็มีสิทธิเจ๊งได้เช่นเดียวกัน

4.ยุ่งยากในการจัดคอร์สเรียน

เจ้าของร้านอาหารที่อยากขายสูตรแทนการขายแฟรนไชส์ อาจจะต้องมีการพัฒนาเมนูใหม่ๆ ในร้าน เพื่อดึงดูดลูกค้าและผู้สนใจอยากเรียนรู้การทำอาหาร ที่สำคัญราคาเรียนการทำอาหารแต่ละคอร์สจะต้องไม่แพงหรือไม่ถูกจนเกินไป รวมถึงการจัดตารางการอบรมกี่วัน อบรมวันไหนบ้าง ถ้าผู้สนใจอยู่คนละพื้นที่จะต้องทำอย่างไรบ้าง

13

5.มีต้นทุนวัตถุดิบและอุปกรณ์

เจ้าของร้านอาหารที่ขายสูตรและเปิดคอร์สอบรมการทำอาหาร นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบเข้าร้านเป็นประจำสำหรับเปิดร้านอยู่แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการสอนทำอาหารภายในร้านอีกด้วย เพราะอย่าลืมว่าผู้มาซื้อสูตรได้จ่ายเงินค่าฝึกอบรมไปแล้ว ดังนั้น เจ้าของร้านที่สอนการทำอาหารก็ต้องจ่ายค่าวัตถุดิบให้ผู้มาเรียนด้วย


#ขายแฟรนไชส์

ข้อดี

1.ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนต่ำ

18

 

การขายแฟรนไชส์สามารถช่วยให้เจ้าของธุรกิจขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ใช้เงินลงทุนต่ำ ผู้ขายแฟรนไชส์แทบจะไม่ต้องใช้เงินทุนของตัวเองด้วยซ้ำ ค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเงินลงทุนสำหรับการขยายสาขานั้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะเป็นผู้รับผิดชอบเกือบทั้งหมด ปัจจุบันมีหลายแบรนด์แฟรนไชส์ในเมืองไทยมีมากกว่าพันสาขา เช่น ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด 2,510 สาขา, ธุรกิจห้าดาว 5,000 สาขา, เชสเตอร์มากกว่า 200 สาขา เป็นต้น

15

52

2.มีรายได้จากค่าแฟรนไชส์ ค่าวัตถุดิบ

2

การขายแฟรนไชส์นอกจากจะขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วแล้ว ผู้ขายแฟรนไชส์ยังจะมีรายได้จากหลากหลายช่องทางจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าการตลาด ค่าโฆษณา ค่าต่อสัญญาแฟรนไชส์ ค่าจัดส่งสินค้าและวัตถุดิบ ค่าฝึกอบรม รวมถึงค่าเช่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขายและบริหารจัดการร้าน

3.กระจายสินค้าและบริการได้กว้างมากขึ้น

1

ผู้ขายแฟรนไชส์จะสามารถกระจายสินค้าและบริการภายใต้แบรนด์ของตัวเองได้กว้างมากขึ้น แม้แต่ในพื้นที่ที่ตัวเองไม่ค่อยชำนาญ ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารสาขาในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ยกตัวอย่างกรณีแฟรนไชส์ “ธุรกิจห้าดาว” ปัจจุบันขยายสาขาและกระจายสินค้าภายใต้แบรนด์ไปทั่วทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาหารที่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างมาก

4.ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วยทำการตลาดในพื้นที่

5

การขายแฟรนไชส์นอกจากจะกระจายสินค้าและบริการได้กว้างขวางทั่วประเทศ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ยังไม่ต้องทำการตลาดหรือบริหารธุรกิจในพื้นที่ที่ตัวเองไม่ชำนาญอีกด้วย ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะทำหน้าที่บริหารจัดการธุรกิจแทนคุณเอง ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ไก่ทอดเคเอฟซีของสหรัฐอเมริกาขายแฟรนไชส์ไปทั่วโลก ผู้ซื้อแฟรนไชส์ในแต่ละประเทศจะเป็นผู้ทำการตลาดเอง

5.มีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าราคาถูก

4

ผู้ขายแฟรนไชส์จะมีกำลังในการจัดซื้อจากจำนวนการขายที่เพิ่มมากขึ้น และแฟรนไชส์ซีต้องสั่งซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบผ่านแฟรนไชส์ซอร์ ทำให้แฟรนไชส์ซอร์มีอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อสูงขึ้น ต้นทุนต่อหน่วยของแฟรนไชส์ซอร์ก็จะถูกลง

ข้อเสีย

17

1.มีภาระมากขึ้น ต้องดูแลแฟรนไชส์ซี

เจ้าของธุรกิจที่ขายแฟรนไชส์นอกจากจะมีภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการร้านของตัวเองแล้ว ยังต้องมีหน้าที่ในการบริหารจัดการดูแลร้านสาขาแฟรนไชส์ซี เพื่อควบคุมแต่ละสาขาให้มีมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์เพื่อให้ธุรกิจมียอดขายและอยู่รอดเติบโตไปพร้อมๆ กันทุกสาขา

2.มีค่าใช้จ่ายสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์

การสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ในแต่ละขั้นตอนจะมีค่าใช้จ่ายมากน้อยแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นค่าฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์ การจดทะเบียนบริษัท ตราสินค้า ค่าการตลาด สร้างแบรนด์ สร้างทีมงาน รวมถึงค่าจ้างที่ปรึกษาทางด้านแฟนไชส์ ค่าจ้างนักกฎหมายทำการร่างและออกแบบสัญญาแฟรนไชส์ ฯลฯ

16

ภาพจาก https://bit.ly/3zcq0QR

3.ต้องเปิดเผยสูตรการทำธุรกิจให้คนอื่น

เจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์ต้องเตรียมตัวเตรียมใจด้วยว่า สูตรหรือเคล็ดลับการทำธุรกิจที่ตัวเองรักตัวเองหวงนั้น จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป เมื่อขายแฟรนไชส์ไปแล้วจะต้องถ่ายทอดกลยุทธ์หรือเคล็ดลับความสำเร็จของธุรกิจให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปปฏิบัติตามด้วย เช่น เจ้าของร้านผัดไทยจะต้องถ่ายทอดวิธีการทำผัดไทยที่แสนอร่อยแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปด้วย เพื่อให้ทุกๆ สาขามีรสชาติเป็นมาตรฐานเดียวกัน

4.ไม่สามารถควบคุมเครือข่ายสาขาได้ทุกอย่าง

บางครั้งเจ้าของธุรกิจที่อยากขายแฟรนไชส์ ทำสัญญาแฟรนไชส์อาจรัดกุมไม่เพียงพอ และถึงแม้ว่าสัญญาแฟรนไชส์จะทำไว้ได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติแฟรนไชส์ซอร์ก็ไม่สามารถกำกับดูแลเครือข่ายร้านแฟรนไชส์ได้ในทุกๆ เรื่อง ผิดกับร้านค้าสาขาของแฟรนไชส์ซอร์เอง ที่ผู้บริหารสามารถสั่งการได้ทุกเรื่องตามนโยบายจากส่วนกลาง

5.การทำงานร่วมกันอาจเกิดความขัดแย้ง

บางครั้งผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี กับเจ้าของแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซอร์ มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน แต่ปรากฏว่าทีมงานบริหารหรือระดับพนักงานของทั้ง 2 องค์กรมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง จนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานมีปัญหา ซึ่งตรงนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การฟ้องร้อง บอกเลิกสัญญาในภายหลังได้

18

นั่นคือ การเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ระหว่างการขายสูตร และ ขายแฟรนไชส์ ซึ่งเจ้าของธุรกิจที่อยากขยายกิจการหรือสร้างรายได้เพิ่มจากธุรกิจที่กำลังทำอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประเมินศักยภาพธุรกิจและความพร้อมของตัวเอง เพราะบางธุรกิจเหมาะสำหรับการขายสูตร แต่บางธุรกิจเหมาะสำหรับการขายแฟรนไชส์


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3zqVfrs

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช