ขายก๋วยเตี๋ยว ชามละ 200! สร้างรายได้กว่า 100 ล้าน
ยุคที่ค่าครองชีพแพงแสนแพง กลยุทธ์การตลาดส่วนใหญ่มักเน้นการสร้างราคาที่ลูกค้าพอใจเพื่อให้เกิดอำนาจใจการตัดสินใจซื้อที่มากขึ้น ถ้าพูดถึงหลักการนี้แสดงว่าสินค้าที่ราคาแพงคงจะขายไม่ได้แน่
แต่งานนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เห็นต่างออกไป เพราะการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าดูแตกต่าง ดูเป็นสินค้าที่ลูกค้ารู้สึกว่าจ่ายแพงแต่ก็คุ้มค่า เป็นกลยุท์การขายที่เราไม่ต้องกระโดดไปสู้ในเรื่องราคา แถมยังได้ฐานลูกค้าที่พอใจจ่าย ซึ่งหลายคนอาจไม่เชื่อว่ากลยุทธ์ที่ว่านี้นำไปใช้ได้แม้จะเป็น “ก๋วยเตี๋ยว” ที่ส่วนใหญ่จะเห็นราคา 30-40 บาท แต่ “ก๋วยเตี๋ยวเรือทองสมิทธ์” ราคาสูงถึง 200-400 บาท แต่ปรากฏว่ายอดขายก็สูงตาม รวมแล้วกว่า 100 ล้าน บาททีเดียว
ก๋วยเตี๋ยวเรือทองสมิทธ์ ขายแพง แต่ทำไมขายดี!
ภาพจาก https://bit.ly/3Ldr5vo
ก๋วยเตี๋ยวเรือทองสมิทธ์ เริ่มต้นความคิดจากคุณกานต์ กิตติเวช และผู้ก่อตั้งอีก 3 คน โดยมีแนวคิดที่อยากเปิดร้านอาหารที่เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม คำตอบจึงมาอยู่ที่ก๋วยเตี๋ยวเรือ ซึ่งเป็นเมนูยอดฮิตของคนไทย แน่นอนว่าถ้าจะคิดทำเป็นธุรกิจสิ่งที่ต้องมีคือความแตกต่างและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อคิดค้นสูตรของตัวเองได้ จึงเริ่มเปิดสาขาแรกในเดือนกันยายน ปี 2561 ที่ เซ็นทรัล เอมบาสซี
ตอนนั้นไม่ได้ใช้กลยุทธ์การตลาดใดๆ เน้น “ปากต่อปาก” ให้คุณภาพสินค้าเป็นตัวโฆษณา และดูเหมือนจะได้ผลดีทำให้ปัจจุบันทองสมิทธ์มีทั้งหมด 10 สาขาได้แก่เซ็นทรัล เอมบาสซี, เอ็มควอเทียร์, สยาม พารากอน, เซ็นทรัล ลาดพร้าว, เซ็นทรัลเวิลด์ , อารีย์ , ทองหล่อ , ทาวอินทาวน์ , เย็นอากาศ และ เมกะบางนา
จุดเด่นของก๋วยเตี๋ยวเรือทองสมิทธ์จะเน้นที่ “วัตถุดิบ” ที่ต้องมีความพิเศษ คัดสรรอย่างดีเช่น เนื้อวากิวในชามก๋วยเตี๋ยว จะต้องเป็นเนื้อวากิวจากออสเตรเลียและคัดมาเฉพาะส่วน เพื่อให้เนื้อทุกชิ้นในแต่ละชาม อร่อยเหมือนๆ กันเครื่องปรุงทั้งหมดจะผลิตเองจากครัวกลางทั้งการคั่วพริก ทอดกระเทียม เพื่อให้มีความสดใหม่ รสชาติถูกใจลูกค้า ซึ่งหากได้กินสักครั้งจะต้องติดใจและรู้สึกว่าราคานี้คุ้มค่ามาก
ภาพจาก https://bit.ly/3Ldr5vo
ประการต่อมาที่ทำให้แบรนด์นี้กลายเป็นที่รู้จักคือ “การนำเสนอ” สู่สายตาลูกค้าและการสร้างความจดจำ โดยคำว่า “ทองสมิทธ์” มาจากคำว่า “ทอง” กับคำว่า “สมิทธ์” คำว่า ทอง ดูมีความเป็นไทยส่วนคำว่า สมิทธ์ ในภาษาบาลีที่พ้องกับคำว่า สัมฤทธิ์ ที่แปลว่า การเดินทางไปสู่ความสำเร็จ ก็กลายเป็นว่า คอนเซปต์การตกแต่ง และสิ่งต่าง ๆ ภายในร้าน ก็ถูกปรับให้เข้ากับชื่อของร้านได้อย่างลงตัว
เช่น ตัวร้านถูกออกแบบให้เป็นบ้านไทยสีเข้ม สไตล์อบอุ่นไม่มีการวางตัวเรือไว้หน้าร้านเพื่อสื่อความเป็นก๋วยเตี๋ยวเรือแต่ที่แตกต่างยิ่งกว่าคือ ลายกราฟิกบนผนังที่มีการตกแต่งด้วยเส้นสีทอง เพื่อให้ดีไซน์สอดคล้องกับชื่อร้าน และดูทันสมัย รวมถึงการใช้ช้อนก็ยังเป็นสีทอง ยกระดับของแบรนด์ให้ดูมีความพรีเมี่ยมมากยิ่งขึ้น
ภาพจาก https://bit.ly/3Ldr5vo
นอกจากนี้เรื่องของทำเลก็เป็นสิ่งสำคัญปัจจุบันสาขาทั้ง 10 แห่งตั้งอยู่ในย่านที่มีกลุ่มลูกค้าจำนวนมากคือคนวัยทำงาน นักเรียน ย่านธุรกิจต่างๆ เพิ่มอำนาจในการซื้อให้ได้มากขึ้น รวมถึงการพัฒนาเมนูใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและให้ลูกค้าสามารถปรับรสชาติได้ตามต้องการ
มีความเผ็ดให้เลือก 4 ระดับ เมนูที่ได้รับความนิยมเช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือเนื้อวากิว, แซ่บแห้ง, ข้าวต้มแห้ง และนอกจากนั้นยังมีเมนูทานเล่นยอดนิยม เช่น เกี๊ยวกรอบ และ ขนมถ้วย เป็นต้น
ร้านก๋วยเตี๋ยวที่มีรายได้ต่อปีกว่า 100 ล้านบาท
ภาพจาก https://bit.ly/3Ldr5vo
ความสำเร็จของทองสมิทธ์ ตอกย้ำให้เห็นว่าแบรนด์ใดก็ตามที่มีจุดยืนในตัวเองที่ชัดเจน มีการบริหารจัดการที่ดี เอาใจใส่ในสินค้าและลูกค้า ย่อมสร้างมูลค่าสินค้าให้เพิ่มขึ้นได้แม้จะเป็นก๋วยเตี๋ยวที่ราคาสูงถึงชามละ 200-400 ลูกค้าก็พร้อมและยินดีจ่ายเพื่อให้ได้รับสินค้าและบริการที่ดีเหล่านั้น
การันตีความเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากรายได้ในแต่ละปีที่น่าสนใจ เริ่มจากปี 2561 มีรายได้อยู่ที่ 14.9 ล้านบาท กำไร 1.1 ล้านบาท แต่พอเข้าปี 2562 หลังเปิดร้านได้เพียง 1 ปี รายได้พุ่งสูงถึง 153.5 ล้านบาท มีกำไร 34.6 ล้านบาท และความนิยมก็ยังแรงไม่หยุด มาถึงปี 2563 รายได้เพิ่มสูงขึ้นแตะ 286.8 ล้านบาท มีกำไรสูงถึง 38.8 ล้านบาท
ภาพจาก https://bit.ly/3Ldr5vo
และแม้ในสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19 จะทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบไปบ้าง แต่ทางร้านก็มีการพัฒนาให้สอดคล้องก้าวตามยุคสมัย ด้วยการปรับมาขายแบบเดลิเวอรี่มากขึ้น รวมถึงปรับเมนูเป็นชุด D.I.Y.เพื่อให้ลูกค้าสนุกกับการทำเมนูของทองสมิทธ์ทานเองที่บ้านแต่ยังคงความอร่อยเหมือนกับทานที่ร้าน
ซึ่งก็ทำให้ยอดขายยังขับเคลื่อนเดินหน้าต่อได้ แต่ด้วยความแข็งแรงของแบรนด์ที่มั่นคง ลูกค้าส่วนใหญ่พร้อมใจกลับมารับประทานที่ร้านมากขึ้นหลังจากเริ่มคลายล็อคมาตรการต่างๆ ส่งผลให้ยอดขายเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3KVKbpX , https://bit.ly/3B7W4oh , https://bit.ly/3gkk4uC
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gDnoRA
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)