การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1)
แฟนคลับที่ชอบไขลานเขาเล่าพงศาวดารวงการนาฬิกาให้ฟังว่า นาฬิกาสวิสในอดีตยอดขายติดลมบน คนรุ่นใหม่หัวใจสวิสคิดนาฬิกาใส่ถ่านประมาณว่าไฮเทค สายไขลานกับฟันเฟืองระดับคลาสสิคไม่สนใจสเปคสายควอตซ์ นวัตกรรมรุ่นเล็กเอาฝันไปหยอดลูกพระอาทิตย์ นาฬิกาควอตซ์ญี่ปุ่นไล่บี้รุ่นพี่หน้าซีด Seiko อ้าแขนรับเอาไปผลิตลูกค้าติดใจกันกรี๊ดกร๊าด ส่วนแบ่งการตลาดพลิกโฉมทันที
ก่อนนี้นาฬิกาญี่ปุ่นตีตลาดโลกได้เพียง 1% ครานั้นดีดตัวพุ่งปรู๊ดกันเห็นๆเป็น 33% นาฬิกาสวิสไม่เคยมีใครกล้าคิดมาล้อเล่น อะไรมันจะเป็นมันก็ต้องเป็น ความยากเข็ญก็แวะมารุมยำในปี 2522 – 2524 ยอดขายนาฬิกาสวิสในตลาดโลกลดวูบทันที จาก 65% เหลือ 10% รายรับกระเด็นคนงานจึงตกงาน 62,000 คน ตำแหน่งจ้าวแห่งนาฬิกาที่เคยครองมันล่องหนหายวับไล่จับไม่ทัน อาการสาหัสในครั้งนั้นเกิดขึ้นเพราะว่า องศาความเห็นมันเฉ ออกเรือล่องทะเลขยับแว่นแลก็ไม่เห็นหินโสโครก เทวดามาให้โชคแสงเข้านึกว่าอุกาบาตก็ปัดทิ้ง
อ่าน “บท(ได้)ความ” การตลาดสายตาสั้นคืออะไร? ทำให้อาการเข้าปิ้งที่เล่านี้ถือว่าเข้าข่ายติดเชื้อ “การตลาดสายตาสั้น” ศ. ธีโอดอร์ เลอวิทท์ ประจำ Harvard Business School เชื่อมั่นชัดว่า นักธุรกิจที่ไม่มองการณ์ไกล จะมี “วงจรหลอกตัวเอง” ซุกไว้ในฝัน คล้ายกับ คนสายตาสั้นที่ทึกทักให้การเท็จด้วยความจริงใจต่อศาล ท่านจึงกำหนดหลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น
- มั่นใจไม่ใช่เล่นว่าการเติบโตนั้นปลอดภัยโดยกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้นและมั่งคั่งขึ้น
- เชื่อในกึ๋นว่าการทดแทนที่มีศักยภาพในการแข่งขันอื่นๆไม่สามารถคุกคามผลิตภัณฑ์หลักของตนได้
- ฝากชีวิตพึ่งพาไว้กับการผลิตจำนวนมากและประโยชน์ของการลดต้นทุนต่อหน่วยอย่างรวดเร็วและผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างทันควัน
- มีความหลงใหลในผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ซึ่งได้รับการพัฒนามาหลายปีพร้อมกับต้นทุนการผลิตที่ไม่แพง (สำแดงให้เชื่อได้ว่าไม่มีปัญหาใดๆ)
วกกลับมารักษาใจ กรณี “มะโนสไลด์” ที่เกิดขึ้นทำให้จอมยุทธ์นาฬิกาสวิสมึนและเจ็บหนักแต่ก็ไม่ลำบากถึงตายจัดว่าเข้าข่าย “คนดีผีเห็นใจ” ไม่น่าเชื่อว่า ธุรกิจนาฬิกาสวิส สามารถฟื้นตัวได้ใหม่ หลังจาก โคลาส จอร์จ ฮาเย็ก ที่ปรึกษาด้านการจัดการ ธนาคารสวิส ขี่ม้าขาวเข้ามากู้สภาพ เสนอให้ ผู้ผลิตนาฬิกาสวิสขนาดใหญ่ 2 กลุ่ม คือ ASUAG มี Mido Rado Oris Longines Hamilton และ Eterna กับ SSIH มี Lemania Omega Rayville Tissot Buler ให้ร่วมกัน ผลิตนาฬิกาคุณภาพสวิสในราคาที่จับต้อง จัดตั้งแบรนด์ใหม่ว่า The Swatch Group โดย ฮาเย็ก รับเป็น ประธานบริษัท
วิทยากร : ดร.สุรวงศ์ วัฒนกูล
การตลาดสายตาสั้น
- การตลาดสายตาสั้น หลักประเมินตัวตนไว้ให้พิจารณา 4 ประเด็น (ตอนที่ 1) – https://bit.ly/3SXXxoy
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 2) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3Ehkn6B
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 3) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3rw9GWf
- “การตลาดสายตาสั้น” (ตอนที่ 4) โดย สุรวงศ์ วัฒนกูล – https://bit.ly/3EeL2Rp
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3RP3m7P
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)