กลับมาแล้ว! แฟรนไชส์โจ๊ก เฮลตี้ฟู้ดขายง่ายกำไรดี

มาแล้ว! แฟรนไชส์โจ๊ก ขายดีที่สุดในยุคนี้ เป็นแฟรนไชส์อาหารสายสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งคนที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด สร้างอาชีพ และผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ใช้เงินลงทุนน้อย คืนทุนเร็ว มาดูกันเลยมีแบรนด์อะไรบ้าง

1. โจ๊กสยาม

แฟรนไชส์โจ๊ก

ภาพจาก โจ๊กสยาม

โจ๊กสยามก่อตั้งเมื่อปี 2547 เดิมเป็นร้าน “โจ๊กบางกอกสาขาโชคชัย 4” ใช้เวลากว่า 20 ปีในการสร้างธุรกิจให้แข็งแกร่ง ก่อนเปิดขายแฟรนไชส์ในปี 2567 ปัจจุบันขยายสาขาแล้ว 21 แห่ง เป็นแฟรนไชส์โจ๊กที่ได้รับความไว้วางใจในการส่งมอบความสุขให้กับลูกค้าผู้รักสุขภาพ

แบรนด์แฟรนไชส์พิถีพิถันในการคัดสรรวัตถุดิบ นำมาผ่านกรรมวิธีการปรุง อันเป็นแบบฉบับของโจ๊กสยาม เพื่อทำให้ลูกค้าของเราได้สัมผัสถึง “เนื้อโจ๊กที่เนียนละเอียดหอมกลิ่นกระเทียมเจียว” อันเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ และพร้อมส่งต่อความสุขให้กับผู้คนทั่วทั้งประเทศ โจ๊กสยามเป็นร้านอาหารที่มี “โจ๊ก” เป็นเมนูหลัก และมีเมนูใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่น บักกุ๊ดเต๋ ต้มเลือดหมู หมูอุ๊ย เกี๊ยวน้ำ น้ำคาลามันซีบ๊วยโซดา เป็นต้น

แฟรนไชส์โจ๊ก

ภาพจาก โจ๊กสยาม

ร้านโจ๊กสยาม เปิดให้บริการแบบ Table Service ซึ่งลูกค้าสามารถนั่งทานที่ร้าน หรือซื้อกลับบ้านก็ได้ และมีบริการเดลิเวอรี่ผ่านแพลตฟอร์มแอพพลิเคชั่นต่างๆด้วย เช่น แกร๊บ, ไลน์แมน, โรบินฮู้ด, ฟู้ดแพนด้า เป็นต้น

รูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์มี 2 แบบ

  1. คีออส ขนาดพื้นที่ 20 ตารางเมตร เงินลงทุนรวม 500,000 บาท อายุสัญญา 5 ปี ระยะเวลาคืนทุน 2 ปี
  2. อาคารพาณิชย์ ขนาดพื้นที่ 48 ตารางเมตรขึ้นไป เงินลงทุนรวม 800,000 บาท อายุสัญญา 5 ปี ระยะเวลาคืนทุน 2 ปี

โจ๊กสยาม
สนใจลงทุน คลิก
https://bit.ly/4bUELbl
โทร. 081-8307093


2. โจ๊กบางกอก

แฟรนไชส์โจ๊ก

ภาพจาก https://bit.ly/3wYoB1P

“โจ๊กบางกอก” สาขาแรกที่โชคชัย 4 ซอย 35 จึงเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2545 เพื่อเป็นร้านต้นแบบทดลองตลาด และสร้างพื้นฐานความสำเร็จให้เป็นที่ยอมรับ ถือเป็นร้านโจ๊กรสชาติถูกปากคนไทย ที่มีสาขาแฟรนไชส์มากมาย เมนูเด็ดของร้านโจ๊กบางกอกคงหนีไม่พ้นเมนูโจ๊ก

แน่นอนว่ามีทั้งโจ๊กเปล่า โจ๊กธรรมดา โจ๊กพิเศษ ใส่ไข่ ซึ่งมีทั้งไข่ไก่ ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ไข่ลวก นอกจากนี้ บางสาขาของโจ๊กบางกอกยังมีเมนูพิเศษอย่างโจ๊กกุ้ง-ปลา โจ๊กหมูเห็ดหอม และโจ๊กซี่โครงหมูตุ๋นเห็ดหอม มาอิ่มท้องแบบเบาๆ ได้ที่ร้านโจ๊กบางกอกทุกสาขา

การลงทุนแฟรนไชส์ ค่าแฟรนไชส์ 20,000 บาท (รวม 100,800 – 165,500 บาท) ระยะเวลาคืนทุน 4-7 เดือน ลักษณะร้านแบ่งเป็น 2 ประเภท คือร้านในอาคารตึกแถว และร้านที่ในศูนย์อาหาร หรือสถานที่ตั้งชั่วคราว


3. โจ๊กแต้จิ๋ว

ภาพจาก www.joak-taejiw.com

โจ๊กแต้จิ๋ว ก่อตั้งในปี 2539 เป็นการนำสูตรจากรุ่นปู่รุ่นย่ามาต่อยอด จากนั้นผู้บริหารแฟรนไชส์ได้เข้าร่วมโครงการสร้างระบบแฟรนไชส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดขายแฟรนไชส์ในปี 2552 สร้างอาชีพให้กับประชาชนในระดับรากหญ้ากว่า 300 หลังคาเรือน

ถือเป็นแฟรนไชส์โจ๊กที่มีเชื้อสายแต้จิ๋วตระกูล “โค้ว” จากประเทศจีน การันตีรสชาติโดยเชลล์ชวนชิม ข้าวหอมหมูสับตำรับแต้จิ๋ว มีเมนูหลักๆ อาทิ โจ๊กหมูเทวดา ไม่ใส่ไข่, โจ๊กหมูไข่ออนเซน, โจ๊กหมูนิลมังกร ไข่เยี่ยวม้า, โจ๊กหมูไข่สามอย่าง, โจ๊กหมูนาวีเริงร่า ไข่เค็ม เป็นจ้น ปัจจุบันมาสาขามากกว่า 200 สาขาทั่วประเทศ

สำหรับผู้ลงทุนแฟรนไชส์โจ๊กแต้จิ๋ว จะได้รับชุดอุปกรณ์ครบพร้อมขาย พร้อมสอนสูตรการทำโจ๊ก สามารถเลือกลงทุนได้ 2 แบบ ได้แก่ เคาน์เตอร์ และ รถเข็น ราคาเริ่มต้น 50,000 บาท (ต่างหวัดอาจมีค่าเดินทางไปสอนสูตร และขนส่งอุปกรณ์) คืนทุนภายใน 1-2 เดือน ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีกำไรกว่า 60%


4.โจ๊กสามย่าน เจ้าแรก

แฟรนไชส์โจ๊ก

ภาพจาก facebook.com/congeesamyanoriginal

โจ๊กสามย่านเจ้าแรก ไม่ได้ขายแฟรนไชส์ แต่มีชื่อเสียงโด่งดังมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นร้านโจ๊กแรกๆ ที่มัดใจนักชิมมายาวนานกว่า 72 ปี อยู่ภายใต้การบริหารของทายาทรุ่นที่ 3 ได้สืบทอดสูตรโจ๊กต้นตำรับจากเมืองจีนจากรุ่นอากง

โดยเริ่มแรกไม่ได้ชื่อโจ๊กสามย่าน แต่เป็นชื่อ “ลี้เคี้ยงไถ่” ป้ายร้านใช้ภาษาไทยและจีน เปิดขายร้านแรกข้างคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ตัวร้านเป็นบ้านเรือนไม้ ปลูกติดๆ กันสำหรับทำการค้าขาย ปัจจุบันมี 3 สาขา ใครอยากกินโจ๊กสามย่านเจ้าแรกต้องตามไปที่ซอยอุดมสุข 9, สาขาสาธุประดิษฐ์ 30 และ ตลาดอยู่สอาดมาร์เก็ต

นอกจากโจ๊กสามย่าน เจ้าแรก ยังมีโจ๊กสามย่านอีกเจ้าเปิดร้านแรกตรงซอยจุฬา 6 ถนนบรรทัดทอง โลโก้แบรนด์ออกแนวทันสมัย “แดง-น้ำเงิน” มีเกือบ 20 สาขาทั่วประเทศ

นั่นคือ 4 ร้านโจ๊กขายดีที่สุดในยุคนี้ ลูกค้าพูดถึงมากที่สุด 3 แบรนด์แรกขายแฟรนไชส์ อีก 1 แบรนด์หลังไม่ขายแฟรนไชส์ แต่เป็นร้านโจ๊กแรกๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมายาวนานกว่า 72 ปี เป็นร้านโจ๊กในตำนานก็ว่าได้ ชอบแบรนด์ไหนเลือกกันเลย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช