กลยุทธ์ “แดรี่ควีน” เจ้าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไทย ในวันที่คู่แข่งมากหน้าหลายตา

แดรี่ควีน” คาดปี 2567 ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟแข่งเดือด ร้านขนมหวาน ร้านเครื่องดื่ม เริ่ม Launch ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเสริมธุรกิจแข่งในสมรภูมิ เดินหน้ากลยุทธ์ตัวเอง ไม่ React กับการเติบโตแบรนด์จีน ผลิตสินค้าที่คู่แข่งไม่มี ทำเค้กสดๆ หน้าร้าน ออกสินค้าใหม่ทุก 45-60 วัน

แดรี่ควีน

เพื่อกระตุ้นยอดขาย สร้างความตื่นเต้นให้ลูกค้าอยากลองของใหม่ ตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่มอย่างต่ำ 20-30 สาขาจาก 530 สาขา หลังยอดขายไตรมาสแรกทะลุเป้า พร้อมลุยขยายโมเดลใหม่ Stand Alone เพิ่ม หลังเปิดสาขาแรกรังสิตภิรมย์ ผลตอบรับดี ให้บริการได้ถึงตี 1 ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ

ไตรมาส 1/67 ยอดขาย Double-digit Growth

คุณธนกฤต กิตติพนาชนม์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไมเนอร์ ดีคิว จำกัด ในเครือ ไมเนอร์ กรุ๊ป ผู้ดำเนินธุรกิจร้านไอศกรีม “แดรี่ ควีน” เปิดเผยไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ว่า การดำเนินธุรกิจแดรี่ควีนช่วงไตรมาส 1/2567 ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้

โดยพบว่าตั้งแต่ต้นปี ตัวเลขการเติบโต Double-digit Growth สาขาเดิมสามารถทำยอดขายได้เกินเป้าหมาย เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการขยายสาขาเปิดใหม่ไปแล้ว 6 สาขา ส่วนใหญ่เป็นของบริษัท ในพื้นที่กรุงเทพฯ

สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจช่วงไตรมาส 2 -4 ปี 2567 มุ่งเน้นการปรับโฉมของแบรนด์แดรี่ควีน หลังจากอยู่มายาวนานกว่า 28 ปี มีรีโนเวทร้านใหม่อย่างน้อย 40 สาขา เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าแดรี่ควีนมีอะไรใหม่ๆ เข้ามา จะได้เข้ามาใช้บริการร้านแดรี่ควีนบ่อยขึ้น โดยแดรี่ควีนตั้งเป้าหมายขยายสาขาปี 2567 อย่างต่ำ 20-30 สาขา จาก 530 สาขาในปัจจุบัน

รวมถึง Touch Point ช่องทางปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า แดรี่ควีนได้มีการปรับช่องทางและวิธีการสื่อสารใหม่ วิธีการวางแบบ วิธีการพูดจากันในสื่อ หรืออาร์ตเวิร์กที่ถ่ายรูปทั้งหมดได้มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปลายปี 2566

ส่วน Packaging ทุกครั้งที่แดรี่ควีนออก Lead time offer Promotion หรือ LTO ใหม่ๆ ก็จะเป็นภาชนะแก้วใหม่ มีดีไซน์ทุกครั้ง เมื่อลูกค้าได้เห็นจะได้รู้สึกตื่นเต้น ในเชิงของ LTO ภายในปี 2567 แดรี่ควีนจะมีการออกสินค้าใหม่ทุก 45-60 วันเหมือนเดิม เพื่อกระตุ้นยอดขาย เพราะลูกค้าแดรี่ควีนอยากลองของใหม่ตลอดเวลา ถ้าแดรี่ควีนขายสินค้าเดิมทำให้ลูกค้าไม่ตื่นเต้น ไม่อยากมาใช้บริหารที่ร้านแดรี่ควีน ทำให้แดรี่ควีนจำเป็นต้องออกสินค้าใหม่ทุก 45-60 วัน

สำหรับสินค้าใหม่ของแดรี่ควีนที่ขายอยู่ในปัจจุบัน คือ ทุเรียนข้าวเหนียวดำ เป็นเมนูปรับเปลี่ยนจากปี 2566 ที่เป็นข้าวเหนียวเขียว อีกทั้งยังมีเมนูใหม่อย่าง “บัวลอยทุเรียน” และ OMG วิปทุเรียนยักษ์ รวมถึงเมนูผลไม้เป็นชิ้นๆ ไว้บริการลูกค้า

“หลังจากเปิดตัวสินค้าใหม่เหล่านี้ ได้ผลตอบรับดีเกินคาด สร้างยอดขายให้กับแดรี่ควันได้เป็นอย่างดี ยอดขายทะลุเป้า ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสภาพอากาศร้อนในเมืองไทย รวมถึงแดรี่ควีนมีช่องทางการสื่อสารการตลาดไปยังลูกค้าได้ทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้สินค้าใหม่ๆ ของแดรี่ควันขายดิบขายดีพอสมควร” คุณธนกฤต กล่าว

เดินหน้าลุยโมเดล… DQ Lounge – EV Truck – Stand Alone

แดรี่ควีน

ภาพจาก https://citly.me/BKs5b

คุณธนกฤต เปิดเผยในส่วนของแผนการดำเนินธุรกิจแดรี่ควีนตลอดทั้งปี 2567 ยังเป็นไปตามแผน โดยเฉพาะร้านโมเดล “DQ Lounge” หลังเปิดไปแล้วสาขาแรกที่ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า เวสต์เกต ชั้น 1 ขนาดพื้นที่ทั้งหมด 40 ตารางเมตร

ช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมา และเปิดเพิ่มอีก 1 สาขา ที่ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าฝั่งคลองหลวงได้เป็นอย่างดี คาดว่าภายในสิ้นปี 2567 จะเปิดครบ 10 สาขา รวมถึงการเตรียมพัฒนาสินค้าใหม่ๆ สำหรับร้าน DQ Lounge โดยเฉพาะ คาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในปีนี้ หรือต้นปีหน้า ตอนนี้อยู่ในช่วงของการศึกษาพฤติกรรมลูกค้า

ภาพจาก https://citly.me/kXrfi

สำหรับ EV Truck ตอนนี้ยังไม่มีการขยายสาขา EV Truck เพิ่ม แต่สิ่งที่จะทำต่อไปนี้ คือ ให้ลูกค้าแฟรนไชส์ได้ทดลองใช้ ว่าเหมาะสมกับพื้นที่ทำเลของตัวเองหรือไม่ เพื่อจะได้พัฒนาต่อไป นอกจากนี้ แดรี่ควีนยังมีร้านรูปแบบ Stand Alone ที่เพิ่งเปิดสาขาแรกที่รังสิตภิรมย์ เป็นสาขาที่เปิดให้บริการถึงตี 1 เปิดให้บริการนานกว่าสาขาบนห้างฯ ผลของการเปิดดึก ปรากฏว่าลูกค้าให้การตอบรับดี ทำให้แดรี่ควีนรู้สึกมั่นใจในการเปิดสาขา Stand Alone เพิ่มมากขึ้น

เศรษฐกิจ-วัตถุดิบ-ค่าแรง…ความท้าทายแดรี่ควีน

แดรี่ควีน

สำหรับปัจจัยเสี่ยงและความท้าทายของแดรี่ควีน คุณธนกฤต บอกว่า ต้องมองไปถึงเรื่องสภาพเศรษฐกิจ ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อาจส่งผลกระทบด้านต้นทุนการดำเนินธุรกิจ แต่ไม่อยากปรับราคาขึ้น ยิ่งสภาพตลาดเป็นแบบนี้ ยิ่งกระทบต่อลูกค้าของแดรี่ควีน ไม่อยากเพิ่มความลำบากให้ลูกค้า อยากให้ลูกค้ามาใช้บริการที่ร้านแดรี่ควีนมากขึ้น ดังนั้น เรื่องการปรับราคาสินค้าทางแดรี่ควีนคงไม่ได้คิดไว้ในตอนนี้ แดรี่ควีนจะพยายามพยุงราคาสินค้าทุกอย่างไปเรื่อยๆ

ส่วนเรื่องเรื่องการปรับค่าแรง 400 บาทของรัฐบาล คุณธนกฤตคาดว่า น่าจะกระทบธุรกิจค่อนข้างเยอะพอสมควร เพราะแดรี่ควีนมีพนักงานกว่า 1,500 คน โดยแผนการรับมือของแดรี่ควีนจะไม่ปรับเปลี่ยนในเรื่องของคนในองค์กร แต่จะมุ่งพัฒนาและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในร้าน เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมากขึ้น

แดรี่ควีนจำเป็นต้องใช้พนักงาน ทั้งบริการเสิร์ฟลูกค้า ทำเค้กในร้านให้ลูกค้าได้เห็น เป็นงานฝีมือที่แดรี่ควีนจำเป็นต้องมี พนักงานต้องเป็นคนทำ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้ร้าน แดรี่ควีนจะไม่ลดพนักงานอย่างแน่นอน

เทคโนโลยีแรกๆ ที่จะนำมาใช้ในร้าน คือ เทคโนโลยีการชำระเงินที่เร็วขึ้น อย่าง QR Code Payment ที่ใช้ในปัจจุบันเกิดปัญหา คือ การจ่ายเงินล่าช้า ทำให้ลูกค้าต่อแถวและยืนอออยู่หน้าร้านจำนวนมาก ถ้าแดรี่ควีนนำระบบการชำระเงินที่รวดเร็วขึ้น จะทำให้ออเดอร์เข้ามาในร้านมากขึ้น และพนักงานก็จะโฟกัสลูกค้ามากกว่ารอเรื่องระบบการจ่ายเงิน

ไม่ React คู่แข่ง! เดินตามกลยุทธ์ตัวเอง

สำหรับแบรนด์ดังจีน คุณธนกฤตยังมองว่าเป็นคู่แข่งของแดรี่ควีนในตลาด แต่ไม่ concern แดรี่ควีนจะไม่ React หรือเปลี่ยนกลยุทธ์ของแบรนด์ไปกับการเติบโตของแบรนด์จีนหรืออินโดฯ เพราะกลยุทธ์ธุรกิจแดรี่ควีนยังช่วยให้ผลการดำเนินธุรกิจบรรลุเป้าหมายอยู่

แดรี่ควีนจะโฟกัสแบรนด์ตัวเองมากกว่า ออกสินค้าใหม่ๆ ให้ลูกค้ารู้สึกตื่นเต้น และกลับมาทานสินค้าของแดรี่ควีนมากขึ้น รวมถึงการผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่คู่แข่งไม่มีอย่าง “เค้ก” พนักงานทำเองสดๆ หน้าร้าน

แดรี่ควีนจะให้ความสำคัญมุ่งเน้นให้พนักงานในร้านถ่ายขั้นตอนการทำเค้ก ขั้นตอนการทำเมนูพิเศษต่างๆ การทำสินค้าใหม่ๆ ให้ลูกค้าได้เห็นว่าสินค้าเหล่านี้ทำจากหน้าร้าน พนักงานทำแบบสดๆ เห็นกระบวนการทำทุกอย่าง เป็นสินค้าที่ไม่ได้มาจากโรงงาน ทำด้วยมือเองทุกอย่าง เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้มาใช้บริการที่ร้าน

คุณภาพแบรนด์ ปัจจัยทำแฟรนไชส์ไทยโต

แดรี่ควีน

คุณธนกฤต มองภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยด้วยว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยยังคงเติบโตและขยายตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การการระบาดโควิด-19 เหตุผลที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโต คือ เป็นเรื่องยากของคนที่จะสร้างแบรนด์ขึ้นมาเองในตอนนี้

ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นตัวเลือกอันดับแรกในการทำธุรกิจ เพราะแบรนด์มีชื่อเสียง คนรู้จัก เมื่อซื้อไปเปิดแล้วมีลูกค้ารองรับ ไม่ต้องสร้างแบรนด์ใหม่ ลูกค้าเวลาไปไหนจะรู้ทันทีว่าจะไปซื้อสินค้าคุณภาพได้ที่แบรนด์ไหน

ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเดือด! มีขายทุกที่

เมื่อถามถึงภาพรวมตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเมืองไทย คุณธนกฤต บอกเลยว่า ตลาดไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจะดุเดือดมากขึ้น เห็นได้จากปัจจุบันธุรกิจร้านขนมหวาน ร้านเครื่องดื่มหลายๆ แบรนด์ เริ่ม Launch ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟเสริมธุรกิจของตัวเองจำนวนมาก นั่นแปลว่าไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟจะมีขายทุกที่และทุกแบรนด์

“ธุรกิจไหนไม่เคยเป็นคู่แข่งของแดรี่ควีนจะเป็นคู่แข่ง ไม่นับแค่คู่แข่งจากจีนเท่านั้น คู่แข่งร้านกาแฟแบรนด์ดังๆ ที่มีสาขาเยอะๆ ก็ขายซอฟต์เสิร์ฟกันแล้ว คาดว่าว่าการแข่งขันดุเดือดมากกว่าตลาดไอศกรีมในร้านสะดวกซื้อ หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีขายอยู่ไม่กี่แบรนด์ แต่แศกรีมซอฟต์เสิร์ฟมีทุกแบรนด์ ทุกยี่ห้อ ทุกรสชาติตามคอนเซ็ปต์ของแต่ละแบรนด์”

หลักการพิจารณาแฟรนไชส์ซี..แดรี่ควีน

คุณธนกฤต อธิบายว่า การพิจารณาแฟรนไชส์ซีแดรี่ควีน จะดูเรื่องเงินลงทุนเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน รวมถึงดูเรื่องทำเลเปิดร้านที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ส่งเข้ามาด้วย พิจารณาจากทำเลนั้นส่งเสริมแบรนด์อิมเมจของแดรี่ควีนไหม รวมถึงทำเลนั้นตอบโจทย์ที่ทาง LandLord ต้องการหรือเปล่า เป็นการส่งเสริมธุรกิจเขา ส่งเสริมธุรกิจเรา ทำให้ภาพลักษณ์แดรี่ควีนดีด้วย

ในส่วนจังหวัดที่แดรี่ควีนอยากมีแฟรนไชส์ซี แต่ยังไม่มี คือ บึงกาฬ และ แม่ฮ่องสอน สาเหตุที่แดรี่ควีนไม่เปิดร้านในช่วงที่ผ่านมา เพราะกลัวจะมีความเสี่ยงกับแฟรนไชส์ซี อย่างกรณีแม่ฮ่องสอน ก็รู้กันดีว่า คนไปเที่ยวแค่ 3-6 เดือน แต่อีก 6 เดือนไม่มีใครไป ถ้าบอกให้แฟรนไชส์เปิดเลยก็ได้ แต่ถ้าเขาขาดทุน เปิดแล้วเจ๊ง จะดูไม่ดีกับแบรนด์แดรี่ควีน

“เราต้องดูแฟรนไชส์ซีด้วยว่าจะรอดและได้กำไรหรือเปล่า เราเน้นคุณภาพของรีเทิร์นที่แฟรนไชส์ซีจะได้ เราไม่เน้นขยายสาขาเพื่อจะได้กำไรจากการเปิดร้าน เราแค่หวังให้แฟรนไชส์ซีอยู่กับเราไปถึง 10 ปีตามระยะเวลาสัญญา”

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช