ไอเดียหาเงิน! “ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า” สร้างรายได้ยุค COVID

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID ดูจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลายได้ในช่วงนี้ แน่นอนว่ากระทบต่อการหาเงิน การสร้างรายได้ของคนส่วนใหญ่ ตอนนี้สิ่งที่อยากรู้คือมีวิธีหาเงินแบบไหน ทำอะไรที่พอจะได้เงินบ้าง

www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจทุกความต้องการเหล่านี้และเราก็พยายามหาไอเดียสร้างรายได้น่าสนใจใหม่ๆ มานำเสนอเป็นทางเลือก ซึ่งตอนนี้หากลองเข้าไปค้นหาในอินเทอร์เนต พบว่า “ ธุรกิจรับถ่ายภาพสินค้า ” กำลังได้รับความสนใจเพราะเป็นธุรกิจที่เราสามารถทำได้แค่มีกล้อง มีไอเดีย รู้จักการหาลูกค้า รู้จักวิธีการถ่ายภาพ ก็สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้กับตัวเองและครอบครัวได้

ธุรกิจรับถ่ายภาพสินค้าคือ?

ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า

ภาพจาก freepik.com

บางคนสงสัยว่าทำไมต้อง “จ่ายถ่ายภาพสินค้า” ในเมื่อยุคนี้ทุกคนก็มีสมาร์ทโฟน มีแอพพลิเคชั่นแต่งรูปสวยๆ ทำไมต้องไปเสียเงินจ้างคนมาถ่ายภาพอีก ซึ่งอันที่จริงสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจะได้รับจากการจ้างถ่ายภาพสินค้าคือ “ความสวยงาม” อย่าลืมว่าตอนนี้การตลาดออนไลน์มาแรงโดยเฉพาะใน IG หรือ Facebook ที่ส่วนใหญ่เน้นภาพสวยงามดึงดูดลูกค้าเป็นอันดับแรก

การจ้างถ่ายภาพสินค้าจึงต้องมีการจัดพร็อพต่างๆ ประกอบ แล้วถ่ายภาพให้สวยงาม จากนั้นภาพถ่ายสินค้าเหล่านี้ก็จะถูกส่งคืนให้ลูกค้าที่มาจ้าง เพื่อให้พวกเขาได้นำไปโปรโมต โพสต์ขายลงในโซเชียลมีเดียต่างๆ แน่นอนว่าคนที่จ้างถ่ายภาพต้องการให้ลูกค้าได้เห็นว่าสินค้าของเราแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในตลาด โดยเฉพาะการทำการตลาดใน Instagram ที่ต้องใช้ภาพถ่ายในการทำคอนเทนต์เป็นหลัก ทำให้เกิดธุรกิจถ่ายภาพสไตล์ IG ขึ้นเป็นจำนวนมาก! และเป็นช่องทางสร้างรายได้ที่ดีด้วยเช่นกัน

วิธีเริ่มต้นทำธุรกิจ “รับถ่ายภาพสินค้า”

ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า

ภาพจาก freepik.com

สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือ “ความสวยงาม” ของภาพถ่ายสินค้า ชนิดที่เห็นต้องว้าว ว้าว ว้าว ดังนั้นสำรวจตัวเองก่อนว่าเราเป็นคนที่รู้จักมุมกล้องในการถ่ายภาพดีแค่ไหน มีไอเดียในการถ่ายภาพดีแค่ไหน และอุปกรณ์ที่เรามีเพียงพอต่อการรับงานจากลูกค้าหรือเปล่า โดยเฉพาะ “ไฟ” สำหรับส่องสว่าง และ “พร็อพ” ที่ช่วยทำให้ภาพสินค้าดูน่าสนใจมากขึ้น

ในช่วงเริ่มต้นการถ่ายภาพสินค้า เราอาจจะเริ่มมองหาสินค้ารอบตัวมาทดลองถ่ายก่อนเพื่อให้มีรูปสินค้าในการโพสต์ให้ลูกค้าดูว่าเราสามารถถ่ายรูปสินค้าออกมาได้ประมาณไหน สไตล์ไหน โดยในช่วงเริ่มต้นให้เราใส่ความเป็นตัวเองลงไปได้เต็มที่เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นความแตกต่างของงาน เมื่อเราพร้อมรับงานแล้วก็สร้างเพจ สร้าง Instagram เพื่อรับงานจากลูกค้าได้เลย

3 เคล็ดลับทำธุรกิจรับถ่ายภาพ ต้องรู้!

1.เข้าใจความต้องการของลูกค้า

ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า

ภาพจาก freepik.com

เราต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการเห็นอะไรจากงานของเรา จำเป็นที่เราต้องสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจน เช่นสินค้าเกี่ยวกับอะไร วัตถุดิบ ส่วนประกอบมีอะไรบ้าง พื่อที่จะได้นำมาใช้ในการหาพร้อพ เลือกสีของฉากให้เข้ากับความเป็นตัวสินค้าได้ดีที่สุด เช่น สินค้าเกี่ยวกับสกินแคร์ที่เป็น Vit C ก็อาจจะต้องใช้ส้มหรือมะนาวมาเพิ่มสีสันทั้งยังสื่อสารเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เป็นต้น

2.อัพเดทเทรนด์และเทคนิคถ่ายภาพให้พัฒนาต่อเนื่อง

ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า

ภาพจาก freepik.com

เนื่องจากเป็นงานที่ต้องการความแปลกใหม่น่าสนใจ เราควรศึกษาเทคนิคการถ่ายรูป การจัดไฟ การใช้พร้อพ การ Styling การจัดวาง นอกจากนี้ยังต้องตามเทรนด์ต่างประเทศเมือว่าช่วงนี้อะไรมาแรง เทรนด์สีไหนได้รับความนิยม เพื่อจะได้นำมาปรับใช้กับงานได้

3.มีสไตล์และความเป็นตัวเองในการทำงาน

ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า

ภาพจาก freepik.com

ปัจจุบันคนทำธุรกิจนี้มีมาก ดังนั้นเราต้องหาจุดแตกต่างให้ลูกค้าเห็นชัดเจนซึ่งก็คือใส่ความเป็นตัวเองในชิ้นงานเพื่อให้มีเอกลักษณ์มากขึ้น ที่สำคัญป้องกันไม่ให้คู่แข่งเลียนแบบเราได้ และจะกลายเป็นจุดแข็งทางการตลาดของเราได้เช่นกัน

คิดราคาอย่างไรในการรับงาน “ถ่ายภาพสินค้า”

ธุรกิจรับถ่ายรูปสินค้า

ภาพจาก freepik.com

อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์รับงานถ่ายภาพสินค้ารายหนึ่งที่ได้ประการราคาในการรับงานถ่ายภาพสินค้า โดยหากเป็นถ่ายภาพสินค้า ฉากขาวพร้อมปรับแสงสี ไม่จัดพรอพ ไม่รวมไดคัท /1 ภาพ ราคา100 บาท, เหมา 20 ภาพ ราคา 1,500 บาท ส่วนการถ่ายภาพสินค้า จัดพรอพพร้อมปรับแต่งสีให้เข้ากับ Mood Tone 1 ภาพ ราคา 250 บาท, 10 ภาพ ราคา 2,000 บาท, 15 ภาพ ราคา 2,500, 20 ภาพ ราคา 2,900 บาท เป็นต้น

แต่ราคาดังกล่าวนี้อ้างอิงจากเว็บไซต์หนึ่งไม่ใช่ราคาสำหรับการรับงานทั่วไปที่อาจจะแตกต่างกันไป แต่สิ่งสำคัญในการรับงานและธุรกิจนี้คือต้องให้บริการที่ประทับใจกับลูกค้า เพื่อจะได้สร้างฐานลูกค้าประจำให้เกิดขึ้นกับเรา เพื่อโอกาสในการสร้างรายได้ที่มากขึ้นในอนาคต

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3yprVOu

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด