“ไวไว” ธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยอดฮิต รายได้กว่า 7 พันล้านบาท
ถ้าบอกว่าอาหารยอดฮิตของคนไทยคือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็คงไม่ใช่คำพูดที่เกินจริง เพราะเราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและทุกบ้านต้องมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอยู่ในครัว ยิ่งวิถีชีวิตที่เร่งรีบของคนเมืองทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกลายเป็นของที่จำเป็นต้องมี
หนึ่งในแบรนด์ที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 50 ปี ต้องยกให้ “ไวไว” แม้ไม่ใช่แบรนด์แรกสุดที่เปิดตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแต่ www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่า “ไวไว” คือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่คนไทยทั่วประเทศต้องรู้จัก ไม่น่าแปลกใจที่ธุรกิจสุดฮิตแบบนี้จะสามารถสร้างรายได้มากกว่า 7 พันล้านบาทเลยทีเดียว
สถิติคนไทยกับการบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
ภาพจาก www.facebook.com/waiwaiinstantnoodle/
ตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ในประเทศไทย ถึงมีมูลค่าสูงถึง 17,000 ล้านบาท สถิติที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือ คนไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองเพียงแค่เกาหลีใต้และเวียดนามเท่านั้น เจาะลึกเข้าไปอีกพบว่าเฉลี่ยแล้วคนไทย 1 คนบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 53.2 ซอง/ปี
สำหรับประวัติของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทยพบว่าเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2514-2515 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อแรกในประเทศคือ “ซันวา” ที่มีต้นแบบมาจากบะหมี่ญี่ปุ่นที่ต้องต้มก่อนกิน ตามมาด้วย แบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่างๆ อีกมากมาย พร้อมการพัฒนารูปแบบให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น จนทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนในเมืองที่เร่งรีบ และไม่ค่อยมีเวลาในการรับประทานอาหารมากนัก
จุดเริ่มต้นของ “ไวไว” ธุรกิจที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 50 ปี
ภาพจาก www.facebook.com/waiwaiinstantnoodle/
เริ่มต้นจากคุณชาญ แต้มคงคา ที่ก่อนหน้านี้ทำธุรกิจด้านนำเข้า-ส่งออก โดยมีสินค้าหลักในขณะนั้นคือหมากฝรั่งและลูกอม แต่สิ่งที่มองเห็นคือกระแสนิยมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากญี่ปุ่น ที่มองว่าเป็นโอกาสที่ท้าทายและมีความต้องการของลูกค้ามาก ด้วยเหตุนี้จึงได้เริ่มต้นการไปดูงานในต่างประเทศเพื่อศึกษากระบวนการผลิตต่างๆ หลังจากนั้นในปี 2515 จึงได้ลงทุนร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งบริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จำกัด เพื่อผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบรนด์ไวไว ออกสู่ตลาด
สำหรับสินค้าที่ออกจำหน่ายชิ้นแรกก็คือ ไวไว รสปรุงสำเร็จ หรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปซองสีแดง ด้านหลังซองมีรูปเด็กใส่เสื้อสีแดงเป็นพรีเซ็นเตอร์ และเพื่อต่อยอดความสำเร็จ และขยายธุรกิจให้เติบโตไปอีก บริษัท โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารไทย จึงได้แตกแบรนด์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใหม่ อย่าง “ไวไว ควิก” ในปี พ.ศ. 2540 นอกจาก ไวไวและควิก แล้วบริษัทยังมีแบรนด์ “ซือดะ” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่มีเครื่องหมายฮาลาลสำหรับเจาะลูกค้ากลุ่ม ชาวมุสลิม โดยเฉพาะใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และมีผลิตภัณฑ์ ผงปรุงสำเร็จ ภายใต้แบรนด์ “รสเด็ด” อีกด้วย
5 กลยุทธ์การตลาดของ “ไวไว” ครองใจลูกค้า
ภาพจาก www.facebook.com/waiwaiinstantnoodle/
1.เจาะตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากในประเทศแล้ว บริษัทยังส่งสินค้าออกไปจำหน่ายในต่างประเทศอีกด้วย โดยส่งออกกว่า 20 ประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ยุโรป, ออสเตรเลีย, จีน, ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้าน
2.แตกไลน์ธุรกิจที่ตอกย้ำแบรนด์ “ไวไว”
นอกจากสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพื่อตอกย้ำแบรนด์ให้เป็นภาพจำของคนได้มากขึ้น ในปี 2558 ได้เปิดร้านอาหารชื่อ “ควิก เทอเรส” มีเป้าหมายเพื่อขยายธุรกิจใหม่ ๆ ด้วยการนำสินค้าที่มีอยู่แล้วของบริษัทมาต่อยอดผ่านการเพิ่มมูลค่าของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่กลายเป็นเมนูอาหารต่าง ๆ เช่น ยำ, สปาเกตตี, ก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น
ภาพจาก www.facebook.com/waiwaiinstantnoodle/
3.ทุ่มงบการตลาดเพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด
นอกจากกลยุทธ์ด้านสินค้าและคุณภาพ ด้านการตลาดก็เป็นสิ่งที่ “ไวไว” เน้นมากเช่นการทุ่มงบการตลาด 50 ล้านบาท เปิดตัวแคมเปน “ทำวันนี้ ทำไวไว”เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับทุกคน ได้รีบลุกขึ้นมาทำตามความฝัน ด้วยกลยุทธ์ Music Marketing ผ่านเพลง “ทำวันนี้ ทำไวไว”
ภาพจาก www.facebook.com/waiwaiinstantnoodle/
4.สร้างรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้ชัดเจน
ภาพจำที่คุ้นเคยกันดีคือการที่นำไวไวมาเทใส่เครื่องปรุงกินกันแบบไม่ต้องเทน้ำร้อน แต่ก็อร่อยมาก สิ่งเหล่านี้กลายเป็นภาพจำที่ชัดเจน ไม่นับรวมเรื่องกลิ่นที่หอมมากของไวไว และยังมีการพัฒนารสชาติอื่นมาเรื่อยๆ เช่น ไวไวรสหอยลายผัดฉ่า, ไวไวรสหมูสับต้มยำ เป็นต้น
ภาพจาก www.facebook.com/waiwaiinstantnoodle/
5.เน้นการใช้วัตถุดิบ “ข้าวเจ้า100%”
คีเวิร์ดสำคัญที่ทำให้ “ไวไว” ประสบความสำเร็จอย่างมากคือวัตถุดิบที่ใช้ ข้าวเจ้า 100% ไม่มีการผสมแป้ง และเน้นการตลาดที่เข้าถึงครัวเรือนเป็นหลัก รวมถึงจุดเด่นในเรื่องผงปรุงรสที่ช่วยสร้างรสชาตให้บะหมี่ไวไวเป็นแบรนด์ที่มีน้ำซุปรสชาติกลมกล่อมอย่างมาก
รายได้ของ “ไวไว” มากกว่า 7 พันล้านบาท
ภาพจาก https://bit.ly/3HA68cO
ภาพรวมของ “ไวไว” ยังมีอัตราการเติบโตต่อเนื่อง ยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่ต้นทุนวัตุดิบแพงขึ้นทุกอย่าง ทำให้ “ไวไว” เองก็ต้องมีการปรับขึ้นราคาตามกลไกตลาด ถึงกระนั้นความต้องการสินค้าก็ยังมีมากต่อเนื่อง มีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 24% ที่สามารถสร้างรายได้ในปี 2562 กว่า 7,059 ล้านบาท รายได้เติบโตจากปีก่อนหน้านี้กว่า 8.2% และกำไรเติบโต 26.1%
สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ “ไวไว” ไม่เคยหยุดนิ่งกับที่ตลอดเวลาของการทำธุรกิจมุ่งมั่นและพัฒนาสินค้าตัวเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจับกระแสความต้องการของลูกค้าได้อย่างถูกจุด สามารถสร้างคอนเทนต์ที่โดนใจผู้บริโภคได้อย่างมาก แม้ชื่อเสียงของแบรนด์จะเป็นที่จดจำ แต่ “ไวไว” ยังต้องการสร้างฐานลูกค้ารุ่นใหม่ให้ขยายต่อเนื่องมากขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจว่าธุรกิจนี้จะยังเติบโตได้อีกมากและคาดว่าจะประสบความสำเร็จได้อย่างมหาศาล
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3tNEza2 , https://bit.ly/3N1YFEl , https://bit.ly/3b6xuLj , https://bit.ly/3xHZKf7
อ้างอิงจาก https://bit.ly/39IWXKz
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)