ไวรัลชนชั้น ทำไมถึงดัง ความจริงที่คนไทยไม่อยากฟัง!
ความจริงที่ต้องยอมรับว่าสังคมไทยยังมีความเหลื่อมล้ำในเรื่องรายได้อยู่มาก คนจนก็ยิ่งจน คนรวยก็ยิ่งรวย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนไม่เคยแคบลงได้สักที
www.ThaiSMEsCenter.com คงไม่ได้คิดไปเองว่าเวลาที่ใครสักคนพูดถึงความสำเร็จสิ่งที่อยากรู้ก่อนเลยคือ “เขารวยมาก่อนหรือเปล่า” “พ่อแม่เขามีเงินหรือเปล่า” คำว่า “ลูกคนรวย” มักได้เปรียบ “ลูกคนจน” เป็นความจริงที่ฝังอยู่ในใจคนไทยมานาน และยิ่งตอกย้ำความจริงที่คนไทยไม่อยากฟังนี้กับไวรัลหนึ่งที่กำลังดังมากเป็นภาพยนต์สั้นในเรื่อง #TheGoodHuman ที่มีประโยคเด็ดในตอนท้ายว่า “เกิดเป็นลูกคนรวย ถ้าไม่ทำตัวหัว ..วยจนเกินไป ยังไงก็ประสบความสำเร็จ”
ไวรัลชนชั้น นี้พูดถึงอะไร? ทำไมคนไทยถึงไม่อยากฟัง
ภาพจาก https://bit.ly/3fHxKPZ
ไวรัลดังกล่าวนี้ได้เนื้อหาตอกย้ำความเป็น elite (แปลตรงๆคือ ผู้ลากมากดี) โดยเป็นผลงานชุดในชุด #TheGoodHuman ที่ต้องการกระตุ้นให้คนฉุกคิด ซึ่งเนื้อหาเชื่อได้ว่าหลายคนฟังแล้วอาจไม่สบอารมณ์นัก แต่ทั้งหมดนั้นก็คือความจริง หากถอดความหมายจากไวรัลนี้ออกมา จะทำให้ทราบว่า “เกิดเป็นคนรวย ทำไมจึงมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก”
- คนรวยมีโอกาสได้ทดลองทำหลายอย่างเพราะมีต้นทุนที่ดีกว่า
- คนรวยไม่ต้องกลัวผิดพลาดแม้จะไม่ล้มเหลวแต่ก็ยังเรียกได้ว่า “ล้มบนฟูก”
- สังคมคนรวย จะคบแต่คนรวย และเกื้อหนุนกันทำให้มีช่องทางเส้นสายที่ดีกว่า
- ต้นทุนทางสังคมที่แตกต่างทำให้มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับคนในธุรกิจที่มากกว่า
- คนรวยเริ่มต้นธุรกิจจากสิ่งที่พ่อแม่สร้างต่อยอดได้เลยในทันที
ภาพจาก https://bit.ly/3fHxKPZ
เมื่อความจริงเป็นอย่างนี้เวลาลูกคนรวยประสบความสำเร็จจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใหม่หรือสนใจ แม้ในทางทฤษฏีโลกสวยจะบอกว่าให้เราเรียนรู้ความสำเร็จจากคนที่รวยแล้ว ไม่จำเป็นต้องมองเรื่องเงินทองที่เขามี หรือต้นทุนทางสังคมที่แตกต่าง แต่ให้มองว่าเขาทำอย่างไร เขาคิดอย่างไร เขาปฏิบัติอย่างไร แต่สุดท้ายสังคมไทยก็ยังมองว่าเรื่องแหล่านี้มันก็แค่ทฤษฏี สุดท้ายถ้าไม่ใช่ลูกคนรวย ไม่ใช่คนมีเงิน โอกาสประสบความสำเร็จก็ยากอยู่ดี เขาถึงได้ทิ้งท้ายในไวรัลนี้ไว้อย่างน่าสนใจว่า “เกิดเป็นลูกคนรวย ถ้าไม่ทำตัวหัว ..วยจนเกินไป ยังไงก็ประสบความสำเร็จ”
ไวรัลดังที่มีราคาประมูลถึง 509,455.57 บาท
ภาพจาก https://bit.ly/3AixLmZ
สิ่งที่หลายคนอาจยังไม่ทราบคือตัวแสดงในภาพยนตร์ที่รับบทเป็น “แวน” ไม่ใช่นักธุรกิจจริงๆ แต่เขาคือนักแสดงในสังกัดเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ และเคยมีผลงานหลายเรื่องเช่น App War แอปชนแอป รวมถึงผลงานล่าสุดคือบทของโอ๋ ประชาชล ในภาพยนตร์ 4 kings แต่ที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ไวรัลดังกล่าวนี้ได้เปิดประมูลใน Foundation ราคาอยู่ที่ 5.00 ETH หรือ $15,407.00 หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 509,455.57 บาท (อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ 19 มกราคม 2565) และความดังของไวรัลนี้ยังมีทั้งการแชร์คลิปและมีม (meme) ในประโยคสุดฮิตตามที่ได้กล่าวไป ถือเป็นอีกหนึ่งกระแสที่มาแรงในยุคนี้ที่เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินได้ฟังและทำให้อารมณ์ขึ้นกันมาบ้างแล้ว
ตอกย้ำด้วยงานวิจัยระบุว่า “คนรวยมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าคนฉลาด”
ภาพจาก https://bit.ly/3G0Nd8J
ใครที่เกิดมา “รวย” ไม่ใช่เรื่องผิด เช่นเดียวกับคนที่เกิดมา “จน” ก็ไม่ผิดเช่นกัน คนจน คนรายได้น้อย จำนวนไม่น้อยที่ไต่เต้าจนชีวิตประสบความสำเร็จ ในขณะที่คนรวยหลายคนเช่นกันที่ประมาทในการใช้ชีวิต พลิกจากคนรวยกลายมาเป็นคนจนก็มีให้เห็นบ่อย ๆแต่ถ้ามองในเชิงทฤษฏียังไงคนรวยถ้าไม่ห่วยแตกเกินไปก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ ตอกย้ำด้วยงานวิจัย Georgetown Center on Education and the Workforce (CEW) ในอเมริกา ระบุว่าคนที่ฐานะทางบ้านดีมีโอกาสประสบความสำเร็จได้กว่าคนฉลาด
โดยยกตัวอย่างเด็กอนุบาลที่เรียนดี แต่มาจากฐานะทางบ้านที่ไม่ดี มีโอกาสถึง 71% ที่จะสามารถประสบความสำเร็จในวัย 25 ปี ส่วนเด็กที่มาจากบ้านที่มีฐานะอัตราประสบความสำเร็จของพวกเขาอยู่ที่ 91% เป็นต้น
บทสรุปของเรื่องนี้ต้องการสื่อให้ทุกคนเห็นว่าไม่ว่าจะเกิดมารวยหรือจน เป็นสิ่งที่เราเลือกไม่ได้ แม้ว่าคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่คือคนที่มีเงินทุน ซึ่งมีข้อได้เปรียบที่ดีกว่าทั้งด้านการศึกษา ทรัพยากร การเข้าถึงแหล่งเงินทุน โอกาสทางธุรกิจต่างๆ แต่ข้อดีของคนที่เกิดมาจนแล้วไต่เต้าไปจนถึงคนรวยคือประสบการณ์และการได้เรียนรู้ การได้ฝึกทำจริง และเมื่อได้มีธุรกิจของตัวเองมักจะเป็นธุรกิจที่แข็งแกร่งและยั่งยืนได้มากกว่า
ขอบคุณข้อมูล https://cnb.cx/3FHifSI , https://bit.ly/33DhXz9 , https://bit.ly/3FR0qAC , https://bit.ly/3GQj64O
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3H1eb0U
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)