“ไม้ขีดไฟตราพระยานาค” ธุรกิจหนึ่งเดียวในเมืองไทย ที่แข่งกับตัวเอง!
หากพูดถึงไม้ขีดไฟ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึง “ไม้ขีดไฟตราพระยานาค” เป็นอันดับแรก เพราะเป็นสินค้าจุดไฟที่อยู่คู่กับครอบครัวไทยมายาวนานมากกว่า 90 ปี แต่ถ้าถามว่าเราใช้ไม้ขีดไฟครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ คงจะนับย้อนกลับไปไม่ถูก
ไม้ขีดไฟ เคยเป็นธุรกิจที่รุ่งเรือง เป็นสินค้าสามัญประจำบ้าน ที่ทุกครัวเรือนต้องมี ทั้งจุดเทียน จุดตะเกียง ก่อไฟทำอาหาร แต่เวลาผ่านไปความนิยมในการใช้ไม้ขีดไฟ ค่อยๆ น้อยลง เพราะเจอคู่แข่งข้ามสายพันธุ์อย่าง “ไฟแช็ค” มาดีสรัป
ภาพจาก https://citly.me/lT25W
ประเทศไทยเริ่มรู้จักไม้ขีดไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศสวีเดน และญี่ปุ่น มีลวดลายหลายแบบบนกลักไม้ขีดไฟ เป็นรูปต่างๆ สารพัด ทั้งรูปสัตว์ รูปคน รูปผลไม้ รูปดอกไม้สวยงาม หลายๆ คนมีการเก็บสะสมหน้าไม้ขีดไฟกันเป็นงานอดิเรก โดยฉลากไม้ขีดไฟ นักสะสมมักจะเรียกว่า หน้าไม้ขีดไฟจนปัจจุบัน
ภาพจาก https://citly.me/v6BJG
จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ 7 ประเทศไทยถึงมีโรงงานผลิตไม้ขีดไฟเป็นของตัวเอง ทำให้ไม้ขีดไฟที่นำเข้าจากต่างประเทศค่อยๆ หมดไป โดยโรงงานผลิตไม้ขีดไฟยุคแรกๆ นั้น ได้แก่ บริษัท มิ่นแซ จำกัด ผลิตไม้ขีดไฟตรานกแก้ว ตรารถกูบ, บริษัท ตั้งอา จำกัด ผลิตไม้ขีดไฟตรามิกกี้เม้าท์, บริษัท ไทยไฟ จำกัด ผลิตไม้ขีดไฟตรา 24 มิถุนา เป็นรูปพระที่นั่งอนันตสมาคม
บริษัทเอเชียไม้ขีดไฟ จำกัด ผลิตไม้ขีดไฟชุด ก.ไก่ ข.ไข่, บริษัท Siam Match ซึ่งก่อตั้งปี 2473 ภายหลังเปลี่ยนมาเป็นบริษัทไม้ขีดไฟไทย จำกัด ผลิตไม้ขีดไฟตราธงไตรรงค์ ตราพระยานาค ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งเป็นบริษัท จีไอเอฟ ไทย แมช จำกัดจนถึงปัจจุบัน เป็นบริษัทเอกชนคนไทย 100% ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู เมืองสมุทรปราการ จดทะเบียนจัดตั้ง 10 พ.ค. 2544 มี นายจิตรกร โสธรนพบุตร และนางสาวยุพา โสธรนพบุตร มีรายชื่อเป็นกรรมการบริษัท
ภาพจาก https://citly.me/c61g4
ปัจจุบันบริษัท จีไอเอฟ ไทย แมช จำกัด ถือเป็นผู้ผลิตไม้ขีดไฟที่ไม่มีคู่แข่งโดยตรง เนื่องจากเป็นผู้ผลิตไม้ขีดไฟรายหลักเพียงเจ้าเดียวในประเทศไทย แต่ถึงอย่างไรแม้จะไม่มีคู่แข่งไม้ขีดไฟด้วยกันเอง แต่ยังมี “ไฟแช็ค” ที่หาซื้อได้ง่าย พกพาสะดวก เป็นคู่แข่งหลักมาทำให้ไม้ขีดไฟตราพระยานาคเริ่มเลือนรางหายไป แต่ก็ยังหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป
ภาพจาก https://citly.me/ULaKd
บริษัท ไจไอเอฟฯ ยังคงผลิตไม้ขีดไฟตราพระยานาคออกสู่ตลาด แต่อาจจะลดปริมาณการผลิตลงเมื่อเทียบกับสมัยก่อนที่เกือบทุกครอบครัวต้องมีเก็บไว้ แต่บริษัทฯ หันไปรับจ้างผลิตไม้ขีดไฟให้กับโรงแรม ร้านอาหาร และอื่นๆ อีกทั้งมีการผลิตกล่องไม้ขีดส่งเสริมการขายในรูปทรงต่างๆ ออกแบบดีไซน์ที่แตกต่างกันมากมาย จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
รายได้ไม้ขีดไฟตราพระยานาค
ภาพจาก https://citly.me/IMYZs
จากการตรวจงบกำไรขาดทุน บริษัท จีไอเอฟ ไทย แมช จำกัด จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังนี้
- ปี 63 รายได้ 26.9 ล้านบาท กำไร 1.9 ล้านบาท
- ปี 64 รายได้ 25 ล้านบาท กำไร 9.35 แสนบาท
- ปี 65 รายได้ 27.8 ล้านบาท กำไร 4.12 แสนบาท
เมื่อดูรายได้ของไม้ขีดไฟตราพระยานาค จะเห็นได้ว่าตั้งปี 2563 จนถึง 2565 ถือว่ามีรายได้คงที่ ยังทำกำไรได้ทุกปี อาจเป็นเพราะตลาดสำคัญของไม้ขีดไฟพระยานาคยังไม่หายไปไหน แต่เป็นตลาดเฉพาะเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตามวัดต่างๆ กลุ่มร้านอาหาร และโรงแรม ซึ่งปัจจุบันบางโรงแรมมีไม่ขีดไฟให้ลูกค้าใช้ในห้องพัก
ในยุคที่ไฟแช็คได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เป็นอุปกรณ์จุดไฟใช้งานง่าย สะดวก พกพาง่าย จากการสำรวจตลาดไฟแช็คที่วางขายตามร้านค้าทั่วไปในปัจจุบัน พบว่ามีอยู่ 2 ยี่ห้อที่คนนิยมซื้อใช้ มีราคาถูก นั่นคือ ยี่ห้อ TAIYO และ MoTo มาดูว่ารายได้ของไฟแช็คทั้ง 2 ยี่ห้อ มีกำไรมากน้อยแค่ไหน ท่ามกลางความนิยมไม้ขีดไฟน้อยลงเรื่อยๆ
บริษัท ไทยเมอร์รี่ จำกัด (Taiyo)
- ปี 63 รายได้ 1,592.9 ล้านบาท กำไร 14.2 ล้านบาท
- ปี 64 รายได้ 1,122.8 ล้านบาท ขาดทุน 31.9 ล้านบาท
- ปี 65 รายได้ 1,497.9 ล้านบาท กำไร 24.2 ล้านบาท
บริษัท โมโต เทรดดิ้ง จำกัด (Moto)
- ปี 63 รายได้ 1.3 หมื่นบาท ขาดทุน 2.20 แสนบาท
- ปี 64 รายได้ 27.8 ล้านบาท กำไร 9.96 แสนบาท
- ปี 65 รายได้ 39.3 ล้านบาท กำไร 6.66 แสนบาท
รายได้ของบริษัทไฟแช็คทั้ง 2 ยี่ห้อ ดีกว่าบริษัทไม้ขีดไฟตราพระยานาค โดยเฉพาะไทยเมอร์รี่ ผู้ผลิตไฟแช็คยี่ห้อ Taiyo ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากที่สุด มีรายได้หลักพันล้านบาท แสดงให้เห็นถึงอนาคตตลาดไฟแช็คในประเทศว่า ยังเติบโตต่อไป แต่อาจเติบโตแบบทรงตัว ไม่หวือหวามากนัก เพราะการซื้อไฟแช็ค 1 ชิ้น ใช้ได้นานเป็นเดือน
ภาพจาก https://citly.me/tFbig
เราจะเห็นได้ว่า ธุรกิจไม้ขีดไฟตราพระยานาค เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีความท้าทาย แม้จะไม่มีคู่แข่งโดยตรง ที่ต้องปวดหัวเรื่องราคา แต่โจทย์ที่ยากที่สุดของไม้ขีดไฟตราพระยานาค คือ การแข่งขันกับตัวเอง เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตต่อไปเรื่อยๆ
เจ้าของธุรกิจ หรือผู้สนใจทำแฟรนไชส์ สนใจรับคำปรึกษาวางระบบแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3MAqgPI
เจ้าของธุรกิจสนใจบริการจดเครื่องหมายการค้าแฟรนไชส์ คลิก https://bit.ly/3My1RtT
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ข้อมูลจาก
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)