ไม่ง้องาน!!! เรียนจบปุ๊บ ขายของแบบไหน? รายได้ดี

ข้อมูลน่าสนใจระบุว่าตัวเลขอัตรา “ว่างงาน” อยู่ที่ระดับ 1.89% คิดเป็นผู้ว่างงานทั้งสิ้นราว 7.3 แสนคน นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้จบการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา มีอัตราการว่างงานสูงขึ้นเป็น 3.18% และ 3.44% ตามลำดับ หากคิดเป็นตัวเลขจะพบว่ามีเด็กจบระดับอุดมศึกษาที่ว่างงานและไม่เคยมีงานทำมาก่อนอยู่ประมาณเกือบ 80,000 คน และค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นจนปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 120,000 คน

ปัญหาการว่างงานเหล่านี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด แต่ถ้ามองอีกด้านอาจเป็นปัญหาของนักศึกษาจบใหม่เองที่อาจมีทักษะไม่ตรงตามความต้องการของตลาด หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทำให้หลายคนต้องการเป็นนายตัวเองมากกว่าการเป็นลูกจ้าง ดังนั้นลองไปดูกันว่า ถ้าเรามีลูกหลานเรียนจบแล้วไม่อยากทำงาน ไม่ง้องาน จะแนะนำให้ไปค้าขายอะไรที่รายได้ดีไม่แพ้กัน

1.ขายของออนไลน์

ไม่ง้องาน

ในยุคนี้คงต้องพูดถึงขายของออนไลน์เป็นอย่างแรก เพราะมีแนวโน้มเติบโตสูงมาก มูลค่าการตลาดในปีที่ผ่านมาสูงกว่า 7 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นมากว่า 75% ซึ่งถือว่าสูงมาก ซึ่งแน่นอนว่ามีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่ กระโดดเข้าสู่วงการนี้จำนวนไม่น้อย รวมถึงบรรดานักศึกษาจบใหม่ หรือคนที่ไม่มีงานทำ แต่ใช่ว่าทุกคนที่ขายของออนไลน์แล้วจะประสบความสำเร็จ

สำคัญคือเรื่องเทคนิคการบริหารจัดการ สินค้า บริการ ข้อดีของขายของออนไลน์เหมือนจะไม่มีต้นทุนแต่ที่จริงมีต้นทุนอื่นที่เราต้องระวังเช่นค่าสต็อกสินค้า , ค่าจัดส่งสินค้า , ค่าจัดการระบบหลังบ้าน , ค่าโฆษณาสินค้า เป็นต้น คนที่ขายดีและมีกำไรคือคนที่บริหาจัดการสิ่งเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อนาคตของการขายสินค้าออนไลน์ยังตอบโจทย์และสดใสแต่ก็ขึ้นอยู่กับตัวของผู้ลงทุนเองด้วย

2.ตัวแทนขายประกัน

ไม่ง้องาน

การเป็นนักศึกษาจบใหม่หลายคนอาจต้องการงานที่ตรงกับความรู้ที่เรียนมา ถ้าบอกว่าให้มาขายประกันคนส่วนใหญ่อาจไม่อยากทำอาชีพนี้มากนัก แต่ในความเป็นจริงโดยเฉพาะยุคนี้ที่คนส่วนใหญ่มองหาหลักประกันให้ตัวเองในอนาคต แม้จะมีข่าวเกี่ยวกับการเคลมประกันที่อาจทำให้ขายได้ยากขึ้น แต่งานขายที่แท้จริง ก่อนลงพื้นที่ขาย ตัวแทนจะได้รับการฝึกอบรม มีการสอบขอใบอนุญาต มีการเทรนด์งานสอนงานจากหัวหน้างาน และทุกวันนี้ทุกบริษัทมีระบบการขายที่อำนวยความสะดวกให้ตัวแทนมากขึ้น

ผลตอบแทนของการลงทุนในอาชีพนี้อาจไม่ได้มากมายทันที ต้องอาศัยเวลาในการหาลูกค้า แต่ถ้าเริ่มมีลูกค้าสัก 3-4 คน และเราให้บริการที่ดี จนลูกค้าประทับใจ นำไปบอกต่อเพื่อนหรือญาติ จะทำให้เราเริ่มมีฐานลูกค้าในมือมากขึ้น ขยายลูกค้าออกไปได้เรื่อยๆ รายได้ก็จะเริ่มมากขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับความขยัน อดทน และตั้งใจทำจริงเป็นสำคัญด้วย

3.เปิดท้ายขายของ

ไม่ง้องาน

การเป็นนายตัวเองคือสิ่งที่เด็กจบใหม่กำลังมองหา การได้เงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 15,000 บาท บางคนมองว่าไม่พอใช้ในยุคนี้ ดังนั้นอาชีพอิสระอย่างการเปิดท้ายขายของจึงน่าสนใจ ปัจจุบันมีทำเลค้าขายให้เลือกมากมาย ลองไปติดต่อกับเจ้าของพื้นที่เหล่านั้น และลองเริ่มขายจากสินค้าจำนวนไม่มาก

ซึ่งแหล่งสินค้าสามารถหาได้ทั่วไป หรือจะเริ่มจากสินค้าที่ตัวเองมี เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า หรือบางคนมีความรู้ในเรื่องงานศิลปะ อาจทำงานแฮนด์เมดออกขาย บางคนอาจเรียนด้านกราฟฟิค ก็อาจนำความรู้ส่วนนี้มาใช้พัฒนาการขายตัวเอง หรือบางคนจบด้านโปรแกรมเมอร์มีความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ก็อาจนำความรู้ที่มีมาพัฒนาการขายให้ดียิ่งขึ้นได้

4.ปลูกผักสวนครัวขาย

ไม่ง้องาน

คนในยุคนี้สนใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น หากไม่อยากทำงาน ลองหันมาปลูกผักสวนครัวขาย ยิ่งเป็นผักออร์แกนิคด้วยยิ่งดี เพราะคนรักสุขภาพเยอะมาก แต่ที่สำคัญก่อนหน้าปลูกผักเราต้องหาตลาดรอบรับด้วย เช่น ติดต่อแหล่งรับซื้อผักขนาดใหญ่ หรือโรงงานรับซื้อผักที่นำไปผลิตและต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นต้น

รวมถึงต้องศึกษาว่าผักอะไรที่ตลาดนิยมมากที่สุด และมีความต้องการมากที่สุด นอกจากส่งผักตามตลาดหลักแล้ว ต้องนำไปขายในตลาดหรือแหล่งชุมชนร่วมด้วย เพื่อให้มีรายได้หลาย ๆ ทาง ส่วนต้นทุนไม่เกิน 5,000 สำหรับ ค่าปุ๋ย ค่ายา และเมล็ดพันธุ์ และพอได้ต้นทุนเข้ามาเรื่อย ๆ ค่อยขยายพื้นที่ให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งราคาขายหากเป็นผักออร์แกนิกก็ถือว่าแพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน

5.รับจ้างสอนพิเศษ

ไม่ง้องาน

สำหรับคนที่เบื่อและไม่อยากทำงานประจำ แต่ตัวเองพอมีความรู้ขอแนะนำว่าให้เปิดตัวเป็น “ติวเตอร์” รับสอนพิเศษตามบ้าน อัตราค่าจ้างสอนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าชั่วโมงละ 300-500 บาท ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่สอน ยิ่งถ้าเราเป็นนักศึกษาจบใหม่ มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ศิลปะ คอมพิวเตอร์ หรือเก่งด้านคณิตศาสตร์ สังคม ภาษาไทย

สิ่งเหล่านี้พัฒนามาเป็นรายได้ให้เราได้ทั้งสิ้น ยิ่งเด็กๆในช่วงการแพร่ระบาดโควิด19 ส่วนใหญ่ไม่ได้ไปโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองก็ต้องการหาติวเตอร์มาสอนเพิ่มความรู้ให้บุตรหลาน ยิ่งเราสอนมาก บริการดี จะยิ่งมีลูกค้าประทับใจและอาจบอกต่อๆ กันไปทำให้เรามีรายได้ในช่องทางนี้มากขึ้น หรือถ้าจะหัวการค้าสักหน่อย จะทำคอร์สเรียนขายก็เป็นการสร้างรายได้ที่ดีมาก

6.ขายอาหารปิ้งย่าง

11

คนที่มีหัวการค้าเมื่อจบออกมาอาจไม่ต้องหางานที่ไหนแต่มาสร้างธุรกิจตัวเอง เช่นการเปิดร้านปิ้งย่างง่ายๆ ที่เลือกได้เลยว่าอยากจะขายอะไร ทั้งหมูย่าง เนื้อย่าง ไก่ย่าง ปลาหมึกย่าง ลูกชิ้นปิ้ง กล้วยปิ้ง เฟรนฟรายส์ เป็นต้น

ข้อดีของสินค้าเหล่านี้คือขายง่าย ราคาไม่แพง เป็นสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องการ งบในการลงทุนก็ไม่สูง เบ็ดเสร็จประมาณ 5,000 บาท อาศัยว่าต้องมีทำเลที่ดี หรือบางคนไม่ต้องหาทำเลที่ไหน ใช้พื้นที่หน้าบ้านตัวเองก็ได้ แต่เพิ่มช่องทางการขายแบบออนไลน์เข้าร่วมด้วย ยิ่งถ้ามีความรู้เรื่องโซเชี่ยล เรื่องการตลาดยุคใหม่ สามารถนำมาปรับใช้กับการขายของตัวเองได้มาก อาจจะเริ่มจากการสร้างแบรนด์ สร้างโลโก้ พัฒนาสินค้าให้มีจุดเด่นน่าสนใจ สะสมประสบการณ์ขายไปเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจจะพัฒนาสู่การขายในระบบแฟรนไชส์ได้

7.ขายสินค้าด้านเวชภัณฑ์และอุปกรณ์การแพทย์

10

การแพร่ระบาดโควิด 19 ทำให้หน้ากากอนามัย , เจลแอลกอฮอล์ , สเปรย์แอลกอฮอล์ , เครื่องตรวจวัดไข้ ฯลฯ กลายเป็นสินค้าขายดีมาก มีมูลค่าการตลาดกว่า 230,000 ล้านบาท อัตราเฉลี่ยเติบโตประมาณ 4% ต่อปี

แน่นอนว่าทิศทางต่อจากนี้ก็ยังสดใสและความต้องการในสินค้าเหล่านี้จะไม่มีวันลดลง สำคัญคือเราต้องพัฒนาสินค้าให้ดูน่าสนใจ เช่นหน้ากากอนามัยที่อาจคิดลวดลายใหม่ๆ ให้เป็นแฟชั่นมากขึ้น , ชนิดของผ้าที่ดีกว่าเดิม เป็นต้น รวมถึงการทำตลาดที่ต้องดึงลูกค้าให้มาสนใจสินค้าเราได้ เมื่อสินค้าฮิตติดตลาด เราอาจจะกลายเป็นเจ้าของแบรนด์เจ้าของกิจการชนิดที่ไม่ต้องง้อการทำงานประจำเลย

คนที่จบใหม่และยังไม่มีงานทำ อาจต้องเลือกว่าที่เรายังไม่ทำงานเพราะเราไม่ชอบงานประจำหรือว่าเราเลือกงานมากเกินไป คนที่อยากเป็นนายตัวเอง อาจเลือกวิธีการค้าขาย หรือสร้างรายได้ที่ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ แต่การทำงานที่แท้จริงกับทฤษฏีในตำรานั่นไม่เหมือนกัน บางคนเก่งทฤษฏีแต่เริ่มทำจริง กลับไปไม่รอดสิ่งสำคัญคือการพลิกแพลงและเรียนรู้จากสถานการณ์จริง

ดังนั้นใครที่เรียนจบแต่ไม่อยากทำงาน จึงควรหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้เอาไว้ปรึกษาในยามฉุกเฉินจะช่วยให้การทำธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3JO9etK , https://bit.ly/359keTI

อ้างอิงจาก https://bit.ly/36N7NOb

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด