ไขปริศนา! Shinkanzen Sushi ยังไม่ขายแฟรนไชส์
หากพูดถึงร้านอาหารญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของเมืองไทย หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น Shinkanzen Sushi ปัจจุบันอยู่ในพอร์ตการลงทุนของ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (CRG) หลังจากใช้เงินลงทุน 520 ล้านบาท ซื้อหุ้น 51% ของบริษัท เดอะ ฟู้ด ซีเล็คชั่น กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารญี่ปุ่น Shinkanzen Sushi และ Senma Sushi ถือเป็นการซื้อกิจการและร่วมลงทุนเสริมพอร์ตธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นให้มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
อะไรคือเคล็ดลับทำให้ Shinkanzen Sushi ได้รับความนิยม จนธุรกิจมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงมีคนถามว่า Shinkanzen Sushi ขายแฟรนไชส์ด้วยหรือไม่ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ
จุดเริ่มต้น Shinkanzen Sushi
ร้านอาหาร Shinkanzen Sushi เริ่มเปิดดำเนินกิจการมาตั้งแต่ปี 2558 โดยคุณชนวีร์ หอมเตย และ คุณศุภณัฐ สัจจะรัตนกุล นักศึกษาปี 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทั้งสองได้ออกเงินลงทุนก้อนแรก คนละ 100,000 บาท เพื่อเปิดร้าน Shinkanzen Sushi สาขาแรกตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต นิยามตัวเองว่าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นซูชิคุณภาพพรีเมียม ในราคาเข้าถึงง่ายเริ่มต้นคำละ 11 บาท โดยวัตถุดิบเกือบทั้งหมดถูกนำเข้ามาจากตลาดปลาโทโยสุ ในประเทศญี่ปุ่น ในตอนแรกเปิดเป็นร้านเล็กๆ มีที่นั่งเพียงแค่ 7-8 โต๊ะ แต่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
โดยมีลูกค้าเข้ามาทานเต็มพื้นที่ร้านตั้งแต่วันแรกที่เปิดบริการ หลังจากนั้นมา ร้าน Shinkanzen Sushi ก็เป็นที่รู้จักมากขึ้นเรื่อยๆ จนต้องขยายสาขามากขึ้น โดยเน้นตั้งสาขาใกล้ๆ มหาวิทยาลัย ย่านที่ทำงาน และห้างสรรพสินค้า ปัจจุบันเปิดดำเนินกิจการทั้งสิ้น 38 สาขา โดยสาขาส่วนใหญ่ยังอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล
สำหรับแผนการดำเนินงานต่อจากนี้ CRG เตรียมเปลี่ยนร้านรูปแบบใหม่ รวมถึงมองโอกาสในการขยายสาขาในศูนย์การค้า ซึ่งจะเปิดร้านอีกประมาณ 60 – 70 สาขา ภายในระยะเวลา 3 ปี
โดยรูปแบบร้านเดิมของ Shinkanzen Sushi มีทั้งแบบ Shinkanzen Sushi Restaurant จะเป็นร้านที่มีพื้นที่ประมาณ 150-200 ตารางเมตร สามารถรับลูกค้าได้ประมาณ 100-120 คน, Shinkanzen Go เป็นส่วนที่ให้บริการอยู่หน้าร้าน Shinkanzen Sushi Restaurant ในบางสาขา สำหรับบริการลูกค้าที่ต้องการซื้อกลับไปทานที่บ้าน และ Shinkanzen Omakase คอร์ส ซูชิ พรีเมียม โดยวัตถุดิบเกือบทั้งหมด ถูกนำเข้ามาจากตลาดปลาโทโยสุ ในประเทศญี่ปุ่น
Shinkanzen Sushi ยังไม่ขายแฟรนไชส์
จากความนิยมในแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่น Shinkanzen Sushi ของผู้บริโภคชาวไทย จึงไม่แปลกที่หลายๆ คนจะสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ Shinkanzen Sushi จึงได้ถามว่า Shinkanzen Sushi ขายแฟรนไชส์หรือไม่ ซึ่งทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ได้สอบถามไปยังทางร้าน Shinkanzen Sushi ได้คำตอบว่า…ร้านยังไม่ได้เปิดขายแฟรนไชส์ หากมีการเปิดขายแฟรนไชส์เมื่อไหร่จะแจ้งให้ทราบอีกที
ภาพจาก www.facebook.com/shinkanzensushi/
นั่นคือ เรื่องราวของร้านอาหารญี่ปุ่น Shinkanzen Sushi ที่มีจุดเริ่มต้นจากนักศึกษาชั้นปีที่ 3 เท่านั้น ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของ CRG ซึ่งปัจจุบัน ยังไม่ขายแฟรนไชส์ แต่อย่างใด
ข้อมูลจาก www.facebook.com/shinkanzensushi/
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3DWggep
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)