ไขปริศนา! วราภรณ์ ซาลาเปา ยังไม่ขายแฟรนไชส์

หลายคนอาจสงสัยและมีคำถามเข้ามาเกี่ยวกับ “ วราภรณ์ซาลาเปา ” ขายแฟรนไชส์หรือไม่ เพราะเป็นแบรนด์ซาลาเปาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมาก มีการขยายสาขาแล้วกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ได้ทราบ

จุดเริ่มต้น วราภรณ์ ซาลาเปา

วราภรณ์ซาลาเปา

“วราภรณ์ ซาลาเปา” เกิดขึ้นมาจากแนวคิดของ “คุณวราภรณ์ สุธัญญา” ที่ต้องการทำซาลาเปาให้ลูกๆ กินเองที่บ้าน หลังจากสังเกตเห็นลูกๆ ทั้ง 4 คน ชอบทานซาลาเปาที่คุณพ่อซื้อมาให้ หลังจากที่คุณวราภรณ์ทำซาลาเปาให้ลูกๆ ทาน และมีการแจกให้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้ชิมจนหลายๆ คนติดใจในรสชาติ และมีการบอกกันแบบปากต่อปาก จึงทำให้คุณวราภรณ์มีแนวความคิดที่จะทำซาลาเปาขายเอง

ในปี 2535 คุณวราภรณ์และครอบครัว เริ่มทำซาลาเปาขายเอง โดยเปิดเป็นกิจการเล็กๆ ภายในครอบครัว เริ่มจากการเป็นร้านซาลาเปาห้องแถวย่านนางเลิ้ง โดยในช่วงแรกๆ คุณวราภรณ์ต้องตื่นเที่ยงคืนทุกวัน เพื่อมาทำซาลาเปาให้แล้วเสร็จประมาณ 6-7 โมงเช้า เพื่อลูกค้าจะได้ซื้อซาลาเปาสดๆ ใหม่ๆ ไปทาน

สำหรับชื่อ “วราภรณ์ ซาลาเปา” เกิดมาจากคุณวราภรณ์รับออเดอร์ทางโทรศัพท์ พอลูกค้าถามว่าใครรับออเดอร์ คุณวราภรณ์ก็บอกว่า “วราภรณ์ค่ะ” หลังจากนั้นชื่อ “วราภรณ์ ซาลาเปา” จึงเรียกติดปากกันในเวลาต่อมา

1

ปัจจุบัน วราภรณ์ ซาลาเปา มีจำนวนสาขา 100 แห่ง โดยมีรูปแบบร้าน 3 รูปแบบ คือ

  1. ร้านแบบคีออส (ร้านขนาดเล็ก)
  2. ร้านขนาดกลาง
  3. ร้านขนาดใหญ่

โดยมีสินค้าและบริการหลากหลาย อาทิ ซาลาเปา ติ่มซำ อาหารจานเดียว หมั่นโถว หมั่นโถวเบอร์เกอร์ เครื่องดื่ม ชา กาแฟ บริการจัดส่ง บริการสแน็คบ็อกซ์ บริการจัดเลี้ยง

10

ภาพจาก facebook.com/warapornsalapao.th

กลยุทธ์การขายของ “วราภรณ์ ซาลาเปา” คือ ทำในสั่งที่ถนัด และกล้าต่อยอด ขยายสาขาในพื้นที่ที่มีศักยภาพ รวมถึงการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจเข้ากับสถานการณ์ และรักษาคุณภาพมาตรฐาน
รายได้ วราภรณ์ ซาลาเปา

จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน บริษัท วราภรณ์ สมพงษ์ ฟู้ดส์ จำกัด เจ้าของแบรนด์ วราภรณ์ ซาลาเปา จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ดังนี้

  • ปี 2563 รายได้ 1,142 ล้านบาท กำไร 114 ล้านบาท
  • ปี 2564 รายได้ 1,084 ล้านบาท กำไร 106 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 1,008 ล้านบาท กำไร 124 ล้านบาท

ยังไม่ขายแฟรนไชส์

2

สำหรับผู้ที่สนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ “วราภรณ์ ซาลาเปา” ทีมงานไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ได้ตรวจสอบข้อมูลบนเว็บไซต์วราภรณ์ซาลาเปา https://warapornsalapao.com/blog/detail/FAQ พบว่ามีคำถามเข้าไปเป็นจำนวนมากเช่นกันว่า “วราภรณ์ ซาลาเปา” เปิดขายแฟรนไชส์หรือไม่?…ทางเรายังไม่มี Franchise ค่ะ ทุกสาขาเป็นการดำเนินการของเราทั้งหมดค่ะ

นั่นคือ เรื่องราวและความน่าสนใจของแบรนด์ “วราภรณ์ ซาลาเปา” แบรนด์ซาลาเปาพันล้าน ที่ผู้หญิงคนหนึ่งกล้าคิดที่จะเริ่มต้นทำในสิ่งที่ตนเองถนัด กล้าต่อยอด ขยายสาขา และรักษาคุณภาพมาตรฐาน

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3fegLrv , https://bit.ly/3UJ3fN4 , https://bit.ly/3BKYTMz

ข้อมูลเพิ่มเติม วราภรณ์ ซาลาเปา

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3fr7xZi

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช