โอกาสรอด SMEs ไทย ในกำมือเจ้าสัว!
ถือเป็นประเด็นที่มีคนพูดถึงกันเยอะมาก โดยเฉพาะในยุคที่เศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ แถมการแข่งขันก็หนักหน่วงกว่าเดิม เพราะต้องชนกับทุนใหญ่ที่มีทั้งสายป่านยาวและช่องทางเข้าถึงตลาดดีกว่า
ยิ่งมีประเด็นดราม่าล่าสุด “แบรนด์เล็กถูกทุนใหญ่ทำสินค้าเหมือนขายแข่ง” ถือว่าเป็นด่านหินสุดๆ ที่ SMEs ตัวเล็กๆ ต้องเจอทันทีที่เข้าวางขายในร้านสะดวกซื้อ พอสินค้าติดตลาดนิดเดียวปุ๊บ ก็อาจจะมีสินค้าเวอร์ชั่นคล้ายๆ กัน ออกมาวางขายข้างๆ ทันที แถมถูกกว่า ขายง่ายกว่า เพราะว่าทุนใหญ่เขาคุม shelf เอง
แต่ SMEs ก็ไม่ได้หมดทางรอด ยังมีวิธี “อยู่ให้รอด และโตให้ได้” แม้ในสนามที่เขาวางหมากไว้ก่อนแล้ว
1. สร้างความแตกต่างที่ลอกได้ยาก
ทำสินค้าที่ไม่ใช่แค่รสชาติหรือหน้าตา แต่มี “อัตลักษณ์” เฉพาะตัว เช่น ส่วนผสมท้องถิ่น กระบวนการทำเฉพาะทาง หรือถ้ามีแบรนด์สตอรี่แรง เช่น สินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ช่วยเกษตรกร หรือฝีมือคนพิการ กลุ่มลูกค้าจะรู้สึกผิดถ้าไม่สนับสนุนสินค้า
2. ไม่แข่งด้วยราคา ให้แข่งด้วยคุณค่า
เจ้าสัวอาจผลิตสินค้าคล้ายกันได้ แต่ความรู้สึกที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ SMEs ยังพอซื้อได้ อย่าลดราคาสู้จนตัวเองพัง แต่เพิ่ม “คุณค่า” เช่น แถมของเล็กๆ มีแพ็คเกจจิ้งที่เก็บต่อไว้ได้ หรือ QR code ที่พาไปดูเบื้องหลังการผลิต
3. เจรจาอย่างฉลาด ไม่ใช่แค่เข้าให้ได้
SMEs อย่าขอเข้าไปวางขายแบบได้ก็เอา ลองต่อรองขอพื้นที่โปรโมท ขอจัดแคมเปญร่วม หรือจัดกิจกรรม sampling ที่หน้าร้าน SMEs หลายเจ้าที่เจรจาดี ได้วางสินค้าหน้าชั้น หรือบน Top Shelf ก็ยังขายดีแม้มีคู่แข่งเลียนแบบ
4. กระจายความเสี่ยง อย่าอยู่ร้านเดียว
การลงทุนอย่าเอาเงินไว้ในตะกร้าใบเดียว เพราะถ้าเจ๊งจะไม่เหลืออะไรเลย เช่นเดียวกับการขายสินค้า SMEs ก็อย่าเอาทุกอย่างไปขายที่ร้านสะดวกซื้อเจ้าเดียว ลองขายผ่านช่องทางอื่นควบคู่กันไป เช่น Online (TikTok Shop, Shopee, Lazada) Pop-up market งานแฟร์ ร้านค้าท้องถิ่น ร้านสุขภาพ หรือ zero waste store
5. พัฒนาสินค้าอย่างต่อเนื่อง
สำคัญมาก สิ่งที่ SME จะขาดไม่ได้คือ การพัฒนาตัวเองและสินค้าอย่างต่อเนื่อง อาจมีการผสมผสานของวัตถุดิบใหม่ๆ เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์เดิม รวมถึงพัฒนาแพ็กเก็จจิ้งให้มีความสวยงามทันสมัย สะดวกต่อการบริโภค รวมถึงมาตรฐานการผลิต เพราะถ้าเป็นแบรนด์ที่อยู่มานาน แล้วถูกลอกเลียน ยิ่งต้องพัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด
ยกตัวอย่าง…แบรนด์ขนมพื้นบ้านที่ถูกลอกแบบในร้านสะดวกซื้อ เปลี่ยนมาขายแบบกล่องของฝาก สร้างแพ็กเกจสุดปัง พร้อมเล่าเรื่องการทำแบบดั้งเดิม กลับมาขายได้แพงขึ้น แถมได้กำไรดีกว่าเดิม
นั่นคือ โอกาสรอด SMEs ที่อยู่ในกำมือของเจ้าสัว ที่สำคัญก็คือ พัฒนาตัวเองและสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะผลิตสินค้าให้มีความหลากหลาย สินค้าตัวนี้เจ๊ง ยังมีอีกตัว เหมือนการลงทุนในตะกร้าใบเดียว ถ้าเจ๊งก็ไม่เหลืออะไรเลย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)