โมเดลแฟรนไชส์ ความคาดหวังใหม่ไทย ดัน GDP โต 40% ในปี 2570
ธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็น โมเดลแฟรนไชส์ ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับหลายๆ ประเทศ ในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานร่วมกันผลักดันและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้มแข็งและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่เน้นสร้างความแข็งแบบคู่ขนาน คือ การสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายที่มั่นคงให้กับประชาชน พร้อมๆ กับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย
แต่ละปีธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ราวๆ 2.5-3 แสนล้านบาท มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณ 600 กว่าแบรนด์ทั่วประเทศ ธุรกิจแฟรนไชส์เติบโตเฉลี่ย 3 ปีที่ผ่านมา 18-20% ต่อปี แนวโน้มคาดว่ายังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบรนด์ไทยและต่างประเทศ
แต่อาจบางแบรนด์ล้มตายบ้าง แต่ก็มีแบรนด์แฟรนไชส์เกิดขึ้นมาทดแทนทุกปี เพราะคนมองว่าซื้อแฟรนไชส์ดีกว่าสร้างธุรกิจเอง ส่วนคนขายแฟรนไชส์ก็อยากรวยเร็ว ถ้าแบรนด์ไม่ดี ไม่แข็งแกร่งก็ไปไม่ถึงฝันทุกราย
ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่ภาวะเศรษฐกิจไม่ดีก็ยังโต เพราะช่วยสนับสนุนการจ้างงาน สร้างอาชีพ ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
การพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ให้เข้มแข็งและเติบโต ทั้งการสร้างแฟรนไชส์ขึ้นมาใหม่ การส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์เดิม การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนแฟรนไชส์ รวมถึงการสนับสนุนด้านสินเชื่อแฟรนไชส์จากสถาบันการเงิน มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน GDP ของ SMEs ไทยให้ถึงร้อยละ 40 ในปี 2570 จากปีที่แล้ว 2565 อยู่ที่ร้อยละ 35.2
มีรายงานข้อมูลว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกและไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกสร้างรายได้มากกว่า 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าการลงทุนแฟรนไชส์ 119.82 ล้านบาท
ประเทศที่มีขนาดธุรกิจแฟรนไชส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา สามารถสร้างรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์มากกว่า 800,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ประกอบกับสภาแฟรนไชส์โลก (World Franchise Council: WFC) รายงานปี 2563 มีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วโลกประมาณ 2 ล้านแห่ง สามารถเกิดการจ้างงานกว่า 19 ล้านราย
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์สร้างอาชีพ สร้างการจ้างงานมากแค่ไหน กรณีแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven มีจำนวนราวๆ 14,854 สาขาทั่วประเทศ แบ่งเป็น
- ร้านสาขาบริษัท 7,546 แห่ง
- ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 7,308 สาขา
นั่นแสดงว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ 7-Eleven แค่ 1 แบรนด์ สร้างอาชีพ สร้างผู้ประกอบการใหม่ 7,308 ราย สร้างการจ้างงานราวๆ (ร้าน 7-Eleven 1 สาขา มีพนักงานอย่างต่ำ 6 คน) 14,854 x 6 = 89,124 ราย มากกว่าการจ้างงานในโรงงานหลายๆ แห่งมารวมกันอีกต่างหาก
ข้อมูลสถิติยังพบว่า นักลงทุน คนซื้อแฟรนไชส์ สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2567 ถึง 15% แบ่งออกเป็น
- Investors Geography เน้นคนรุ่นใหม่ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง พบอายุน้อยลงเรื่อย
- ผู้หญิง 61% , ผู้ชาย 39
- First Jobber อายุ 25-44 ปี , 45-54 ปี
- แฟรนไชส์มาแรง ยังเป็นอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม โดยเฉพาะรูปแบบที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ไม่ยุ่งยาก
สรุปก็คือ โมเดลแฟรนไชส์ ถือเป็นความคาดหวังใหม่ให้กับประเทศไทย สามารถดัน GDP โต 40% ได้ในปี 2570 ดูจากแผนการพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ไทยของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 5 ด้าน
ยิ่งเกื้อหนุนและช่วยสนับสนุนให้แฟรนไชส์ไทยแข็งแกร่ง อาทิ การเสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาผู้ประกอบการ, ด้านมาตรฐาน, ด้านส่งเสริมธุรกิจแฟรนไชส์และการสร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ, ด้านการจัดหาทำเลที่ดีในการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และ ด้านการเงิน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)