แม่ค้าตลาดนัด! ไร้เงินทุน! ก้าวสู่เศรษฐี 100 ล้าน ในเวลา 9 เดือน
“ไม่มีเงิน” จะเริ่มทำธุรกิจได้ยังไง? คำพูดนี้คือเหตุผลที่คนส่วนใหญ่คิด ซึ่งไม่ต่างจากเหตุผลปลอบใจที่บอกตัวเองว่าที่ฉันไม่รวย ก็เพราะฉันไม่มีเงินทุนจะเริ่มต้น! www.ThaiSMEsCenter.com ยังเชื่อมั่นว่าแท้ที่จริงคำว่า “เงินทุน” เป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจ สิ่งสำคัญกว่าคือ “ความตั้งใจ” “แนวคิด” และ “ลงมือทำ”
ตัวอย่างของคนที่ประสบความสำเร็จก็มีมาก อย่างคุณพิชญ์นรี ตันติวิทย์ (คุณเม) เจ้าของแบรนด์ PRIMAYA ผู้หญิงคนนี้สุดยอดมาก หาเงินได้กว่า 100 ล้านตอนอายุแค่ 27 ปี ทั้งๆที่จุดเริ่มต้นก็มาจากแม่ค้าตลาดนัด เคยขายมาทั้งข้าวเหนียวหมูปิ้ง , ช่วยพ่อขับรถเร่ขายกับข้าว ขนาดตอนที่ตัดสินใจเริ่มต้นทำธุรกิจแรกเงินทุนตอนนั้นยังไม่มีสักบาท แต่ทำไมเขาถึงประสบความสำเร็จได้ เป็นเรื่องที่เราควรศึกษาเพราะว่ามันสุดยอดมาก
ชีวิตเด็กจนๆ บ้านๆ แต่มีเป้าหมาย “อยากสร้างธุรกิจ”
ภาพจาก https://bit.ly/33qXuh0
ในวัยเด็กคุณเมชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เกิดและเติบโตที่นครศรีธรรมราช เริ่มต้นการเรียนหนังสือจากโรงเรียนวัดแถวบ้าน อาชีพที่บ้านคือขายของชำ และทำสวนยางพารา น้ำประปาก็ไม่มีใช้ รายได้ก็พอได้กินได้ใช้ ต้องตื่นตีสามช่วยแม่ปิ้งข้าวเหนียว บางครั้งก็ติดรถเร่ไปกับพ่อช่วยขายกับข้าว ในตอนนั้นอย่าไปคิดเรื่องธุรกิจคิดแค่ว่ามีเงินให้ได้ใช้ไปวันๆ มากกว่า แต่ในใจแล้วคุณเมมีความฝันและตั้งใจว่าสักวันต้อง “สร้างธุรกิจ” ของตัวเอง
พอเริ่มโตได้เข้ามาศึกษาศึกษาต่อด้านธุรกิจการบินที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย แต่มุมมองตอนนั้นเห็นว่าแม้ตัวเองจะเรียนจบ หางานทำได้ แต่เงินเดือนสตาร์ทก็แค่ 12,000 –15,000 รายได้แค่นี้อาจจะพอกินพอใช้แต่ไม่พอเก็บและคงไม่มีเหลือเอาไปทำอะไรได้ คิดดังนั้นทางออกที่ตัดสินใจ คือ “ต้องหารายได้เสริม” แต่ด้วยความที่เงินทุนเริ่มต้นก็ไม่มีสักบาท แถมยังไม่มีประสบการณ์ เลยต้องมองหาช่องทางว่าจะทำอะไรที่ลงทุนน้อย แต่ขายง่าย ขายดีได้มากที่สุด
เริ่มต้นจากขายน้ำอโวคาโด สะสมเงินทุนสร้างแบรนด์ PRIMAYA
ภาพจาก https://bit.ly/33qXuh0
เริ่มธุรกิจแรกตั้งแต่ยังเรียนอยู่ปี 3 กับการทำน้ำเพื่อสุขภาพจากอโวคาโด ก็เป็นน้ำบรรจุขวดธรรมดาๆ ที่ขายตามตลาดนัด แต่ก็ถือเป็นจุดเริ่มที่ทำให้รู้จักการขายสินค้าเพื่อสุขภาพ รายได้ก็ไม่มาก ต่อมาก็ได้ร่วมหุ้นกับเพื่อนๆ ทำสบู่ขาย ซึ่งตรงนี้เองที่ทำให้เริ่มรู้จักกับคำว่า “ตลาดออนไลน์” ปรากฏว่าสบู่เริ่มขายดีมีรายได้จากตรงนี้หลักหมื่น ที่สำคัญเริ่มมองเห็นลู่ทางในการขายที่ชัดเจน ต่อมาขยับการลงทุนให้ใหญ่ขึ้นด้วยการทำลิปสติกดินสอแบบจิ้มจุ่ม ซึ่งเป็นเจ้าแรกๆในประเทศไทยที่ทำสินค้านี้ ปรากฏว่ายิ่งขายดี ตอนนี้มีรายได้หลักแสน
ภาพจาก www.primaya.co.th
จุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดคือ จะสร้างแบรนด์ของตัวเอง โดยนำเงินเก็บที่ได้จากการทำธุรกิจขายของก่อนหน้านี้มาลงทุนหมดหน้าตัก ทั้งติดต่อโรงงานเอง สร้างแบรนด์ จ้างโรงงานผลิต หาแล็ปทดลองสินค้า เรียกว่าทุ่มหมดหน้าตัก ถ้าพลาดก็คือหมดตัว จึงเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์ PRIMAYA ตั้งแต่ปี 2558 แต่ดูเหมือนการตัดสินใจนี้จะมาถูกทาง ธุรกิจ PRIMAYA เติบโตอย่างรวดเร็วและมียอดขายมากขึ้น สามารถสร้างรายได้กว่า 100 ล้านในเวลาแค่ 9 เดือน ปัจจุบัน PRIMAYA มีแบรนด์สินค้าในเครือ 4 ชนิดคือพรีมายา เอส / พรีมายา ไฟเบอร์รี่ / แอลลี่ เบอร์รี่คอลลาเจน และ แคลเอส
เคล็ดลับสำคัญ สร้างธุรกิจอย่างไรให้ ประสบความสำเร็จ
จะเห็นได้ว่านี่คือธุรกิจที่เริ่มต้นจาก ศูนย์จริงๆ พ่อแม่ไม่ได้มีเงินทุนให้ แถมช่วงแรกเรียกว่ายังไม่มีประสบการณ์ใดๆ ก้าวจากความไม่รู้และค่อยๆต่อยอดจนสำเร็จ เคล็ดลับน่าสนใจที่เราควรศึกษาได้แก่
1.ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง
ภาพจาก www.primaya.co.th
เริ่มตั้งแต่เด็กคุณเมมีเป้าหมายชัดเจนว่าสักวันต้องมีธุรกิจตัวเอง แม้ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร แต่ก็พยายามเสาะหาและไม่รอโอกาสให้วิ่งเข้ามา ทำงานทุกอย่างเก็บประสบการณ์และเมื่อเห็นช่องทางก็เดินหน้าทันที
2.คิดจากเล็กไปใหญ่
ภาพจาก www.primaya.co.th
ด้วยความที่ไม่มีเงินทุน ไม่มีประสบการณ์ใดๆ การเรียนรู้จึงสำคัญที่สุด นักธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จถ้าเข้าใจตั้งแต่พื้นฐาน เข้าใจความรู้สึกตั้งแต่การเป็นพ่อค้าแม่ค้าธรรมดา เมื่อได้ก้าวเป็นเจ้าของกิจการจะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ไม่กลัวที่จะก้าวพลาด
ภาพจาก www.primaya.co.th
ความกลัวคืออุปสรรคที่ทำให้เราไม่กล้าจะก้าวไปในทางที่เราคิด คุณเมแสดงให้เห็นว่าถ้าตั้งใจจริง เราต้องทำได้ ทุ่มเททุกสิ่งที่เรามีเทหมดหน้าตัก ถ้าพลาดคือหมดตัว แต่ทุกอย่างต้องคิดและวางแผนมาก่อนจะลงทุนด้วย
4.รักษาคุณภาพของสินค้าและเน้นการตลาดที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
ภาพจาก https://bit.ly/3Jx4ecD
ธุรกิจใดๆ ก็ตามจะขายดีสินค้าต้องถูกใจลูกค้า ที่สำคัญคุณภาพต้องมาอันดับหนึ่ง ถ้าลูกค้าประทับใจ จะเป็นการบอกปากต่อปาก ทำให้สินค้าขายดียิ่งขึ้น และยุคนี้ต้องไม่ลืมเรื่องการตลาดออนไลน์เพราะมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงลูกค้าได้มาก
5.บริหารคนเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน
ภาพจาก www.primaya.co.th
ธุรกิจใดๆ ก็ตามไม่สามารถเติบโตได้ด้วยเราคนเดียว ทุกองค์กรต้องมีลูกน้อง มีพนักงาน คนเหล่านี้คือหัวใจหลักที่เจ้าของกิจการต้องให้ความสำคัญ ดูแลให้เหมือนคนในครอบครัว เพื่อให้พนักงานทุ่มเทแรงกายแรงใจ และอยากทำงานให้กับเรา คนมีความสามารถต้องรักษาเอาไว้ จะช่วยต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตได้
ทุกวันนี้ PRIMAYA ไม่ได้ดังแค่ตลาดในประเทศแต่ขยายไปถึงตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดในเอเชีย อย่างตลาดจีน กัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ โดยมีเป้าหมายสำคัญการผลิตสินค้าที่พัฒนามากขึ้น ให้ลูกค้าทุกคนได้รับประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ยิ่งในยุคนี้เรื่องสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก สินค้าของ PRIMAYA จึงต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุดในราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/34rcI5W , https://bit.ly/3ojRj5C , https://bit.ly/3ono1Dl , https://bit.ly/3ooD1Rg
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3IeVoQA
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)