แฟรนไชส์ Mixue ในเวียดนาม ดังไกลกว่าไทย?

แฟรนไชส์ Mixue ในเมืองไทยตอนนี้เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักเป็นอย่างดี ด้วยจุดเด่นร้านไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟวาฟเฟิลโคนใหญ่ๆ รสชาติอร่อยเหมือนกับนมอัดเม็ด มีเครื่องดื่มชานมไข่มุกและชาผลไม้อีกมากมาย ราคาเริ่มต้น 15-50 บาท ปัจจุบัน แฟรนไชส์ Mixue มีสาขาในประเทศไทยกว่า 200 แห่ง และตั้งเป้าว่าจะขยายให้ถึง 2,000 สาขาในเวลา 3 ปี

แต่ก็ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยเท่านั้นที่ Mixue เดินเกมรุกทำตลาด นับเฉพาะในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “เวียดนาม” คือประเทศแรกในแถบนี้ที่ Mixue บุกเข้าไปทำการตลาดก่อน จากวันนั้นถึงวันนี้ Mixue ในเวียดนามเหมือนหรือต่างจากในไทยแค่ไหน ใครอยากรู้ ต้องไปดูเรื่องนี้พร้อมกัน

แฟรนไชส์ Mixue

ภาพจาก www.facebook.com/Mixue.Vietnam

Mixue เข้าสู่ตลาดเวียดนามอย่างเป็นทางการภายใต้ชื่อนิติบุคคล Snow King Global Company เมื่อปี 2018 เปิดตลาดครั้งแรกที่กรุงฮานอย ซึ่งก็ไม่ต่างจากในเมืองไทยที่ใช้เวลาไม่นานก็แย่ง Marketshare จากแบรนด์เครื่องดื่มที่เปิดตัวก่อนหน้าอย่าง Dingtea, TocoToco, Tiger Sugar, Phúc Long และ Gong Cha ได้ทันทีและกลายเป็นแบรนด์เครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามในแง่ของจำนวนสาขา ถ้านับรวมสาขาของ Mixue ในเวียดนามตอนนี้มีไม่ต่ำกว่า2,000 แห่ง ซึ่งมากกว่าสาขาที่มีในเมืองไทยชัดเจน

ไม่ใช่แค่ในฮานอยเท่านั้นที่ Mixue เข้าไปทำตลาด พื้นที่รองๆ ลงมาอีกหลายแห่งในเวียดนามก็มี Mixue เช่นกัน ยกตัวอย่างที่จังหวัดบั๊กนิญและเมืองไฮฟอง เป็นต้น

แฟรนไชส์ Mixue

ภาพจาก www.facebook.com/Mixue.Vietnam

ในแง่ของจุดเด่นก็ไม่ต่างจากในเมืองไทย ผลิตภัณฑ์หลักคือ ไอศกรีมราคา 10,000 VND (ประมาณ 13 บาท) ส่วนชาไข่มุกราคาเฉลี่ย 25,000 VND/แก้ว (ประมาณ 34 บาท) ซึ่งถือว่าถูกมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันในตลาด ที่มีราคาประมาณ 45,000-75,000 VND (ประมาณ 62 – 103 บาท)

และเนื่องจากราคาถูก ผลิตภัณฑ์จึงเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมาก นอกจากนี้ ต้นทุนการลงทุนสำหรับร้านแฟรนไชส์อยู่ที่ 600-700 ล้าน VND (ประมาณ 826,000 – 964,000 บาท) ซึ่งราคานี้ไม่รวมค่าเช่าและค่าพนักงานโดยตามตารางการลงทุนให้ข้อมูลว่ามีโอกาสคืนทุนได้เร็วภายใน 7-8 เดือน

แฟรนไชส์ Mixue

ภาพจาก www.facebook.com/Mixue.Vietnam

จากตัวเลขการลงทุนที่ดูจะไม่สูงหากเทียบกับแบรนด์อื่น แถมยังเป็นสินค้าที่ดูจะได้รับความนิยมล้นหลาม มีนักลงทุนในเวียดนามที่สนใจเยอะมาก ซึ่งแน่นอนว่าตามเงื่อนไขในสัญญาแล้ว Mixue จะขายวัตถุดิบ วัสดุบรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะ และสินค้าอื่นๆ ให้กับร้านแฟรนไชส์ พร้อมกันนี้ ยังเก็บค่าแฟรนไชส์ ค่าบริหารจัดการ ค่าอบรม จากผู้ลงทุนตามระบบของแฟรนไชส์ด้วย

ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาตลาดในเวียดนามมองว่า Mixue เป็นธุรกิจที่เน้นหาผู้ลงทุนจำนวนมากๆ เพราะถ้ามองในด้านผลกำไรแล้วพบว่า ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์คิดเป็นเพียง 1.9% ของรายได้ของ Mixue เท่านั้น รายได้ส่วนใหญ่ของ Mixue มาจากการขายวัตถุดิบและอุปกรณ์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยในการสร้างรายได้ที่สำคัญสุด

ภาพจาก www.facebook.com/Mixue.Vietnam

ความกังวลของผู้เชี่ยวชาญในเวียดนามมองการเติบโตที่รวดเร็วทำให้การกระจายสาขานั้นใกล้ชิดติดกันเกินไป อาจเป็นผลดีของ Mixue ก็จริงแต่ในแง่คนลงทุนแล้วแตกต่างอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น แต่ละร้านควรจะต้องห่างกันอย่างน้อย 0.5-1 กม.

แต่ในความเป็นจริง ณ ตอนนี้ในพื้นที่ที่เป็นทำเลน่าสนใจการเปิดร้านห่างกันแค่50 เมตร ซึ่งถือว่าหนาแน่นเกินไป เป็นความกังวลในระยะยาวว่าไม่ใช่แค่การแข่งขันกับแบรนด์อื่นเท่านั้นแต่ยังต้องแข่งขันกับลูกค้าจากแบรนด์ของตัวเองด้วย

ภาพจาก www.facebook.com/Mixue.Vietnam

จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่จะมีกระแสวิจารณ์แสดงความไม่พอใจของผู้ลงทุน Mixue ในเวียดนามบางรายที่ระบุว่าแม้ต้นทุนร้านค้าที่ระบุจะอยู่เพียง 600-700 ล้านดอง แต่งบการลงทุนที่แท้จริงอาจสูงถึง1,100-1,200 ล้านดอง ( 1.5 – 1.6 ล้านบาท)

และนอกจากปัญหาด้าน Area ยังมีเงื่อนไขเรื่องโปรโมชัน การทำตลาดโดยกำหนดจากแฟรนไชส์ซอ ซึ่งตรงนี้เป็นต้นทุนที่ผู้ลงทุนต้องแบกรับค่าการทำตลาด ถึงขนาดที่บอกว่ารายได้ของร้าน 6 – 7 ล้านดองต่อวัน (ประมาณ 8,000 – 10,000 บาท) เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งเดือนก็ยังแทบจะไม่มีกำไร

ภาพจาก www.facebook.com/Mixue.Vietnam

หากวิเคราะห์ในภาพรวมถามว่าตอนนี้ Mixue ในเมืองไทยต่างกับเวียดนามตรงไหน ต้องบอกว่าต่างกันที่ เราเพิ่งเริ่มแต่เวียดนามเขาเริ่มต้นไปนานแล้ว ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ Mixue ในเมืองไทยต้องเอาปัญหานี้มาแก้ไขทบทวนว่าจะทำอย่างไรให้การลงทุนนั้นตอบแทนสู่ผู้ลงทุนได้มากที่สุด และอย่าลืมว่าวัฒนธรรมเมืองไทยนิยมอะไรที่เป็นกระแส

หากวันข้างหน้ามีแบรนด์ใหม่ที่น่าสนใจกว่าเข้ามาทำตลาด ถึงจุดนั้น Mixue จะรับมือยังไง แม้ว่า Mixue จะมีจุดเด่นและความน่าสนใจหลายอย่างแต่ในฐานะคนอยากลงทุนต้องคิดวิเคราะห์ในระยะยาวถึงความคุ้มค่าที่แท้จริงด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด