แฟรนไชส์ไก่จุ่มซอส Wingstop อเมริกา โต 400% ใน 5 ปี

เชื่อว่าใครที่เป็นแฟนไก่ทอดอเมริกา น่าจะรู้จัก แฟรนไชส์ไก่จุ่มซอส Wingstop กันเป็นอย่างดี ถือเป็นต้นฉบับร้านขายปีกไก่ทอดจุ่มซอสที่กำลังได้รับความนิยมในเมืองไทย ปัจจุบันมีสาขามากกว่า 2,563 แห่งทั่วโลก

นับว่าเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญก็คือเพียงแค่ 5 ปี แฟรนไชส์ Wingstop ทำรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า และหุ้นของ Wingstop เพิ่มขึ้นเกือบ 400% ปัจจุบันมีมูลค่า 400,000 ล้านบาท

Wingstop แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดอเมริกาที่เชี่ยวชาญด้านปีกไก่โดยเฉพาะ มี Business model ที่น่าสนใจ โดยบริษัทมีเป้าหมายการเติบโตไปทั่วโลก แล้วเรื่องราวและกลยุทธ์ของ Wingstop เป็นอย่างไร ลองมาดูกัน

จุดเริ่มต้น Wingstop

แฟรนไชส์ไก่จุ่มซอส
ภาพจาก https://ir.wingstop.com

แฟรนไชส์ Wingstop ก่อตั้งขึ้นในปี 1994 ในเมืองการ์แลนด์ รัฐเท็กซัส โดย Antonio Swad และ Bernadette Fiaschetti มีเมนูชูโรงอย่างปีกไก่บัฟฟาโลคุณภาพสูง เฟรนซฟราย เบียร์ ไวน์ ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งปี 1997 เริ่มนำเสนอขายแฟรนไชส์ และเปิดสาขาแฟรนไชส์แห่งแรกปี 1998 จนกระทั่งปี 2002 ขายปีกไก่ไปแล้วมากกว่า 1,000 ล้านชิ้นทั่วโลก

ปี 2005 แฟรนไชส์ Wingstop เริ่มเปิดตัวเมนูอาหารกลางวัน และในปี 2009 เริ่มจำหน่ายเมนูและผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีกระดูก จนกระทั่งในปี 2010 แฟรนไชส์ Wingstop บุกตลาดต่างประเทศ เปิดสาขาแห่งแรกในเม็กซิโก

ปี 2014 – 2016 แฟรนไชส์ Wingstop เป็นเชนร้านอาหารที่เติบโตเร็วเป็นอันดับ 3 ในอเมริกา วัดจากยอดขายและการเติบโตของสาขาจัดโดย Nation’s Restaurant News ในปี 2015 Wingstop เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเสนอราคาขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรกที่ 19 ดอลลาร์ต่อหุ้น สามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่า

ปี 2019 แฟรนไชส์ Wingstop เริ่มใช้สโลแกน Where Flavor Gets Its Wings และปี 2020 Wingstop เริ่มให้บริการจัดส่งในดัลลาส เท็กซัส ผ่าน DoorDash ให้บริการสั่งอาหาร และจัดส่งอาหารออนไลน์เป็นครั้งแรก ทำให้ในปัจจุบัน Wingstop มียอดขายกว่า 60% ผ่านช่องทาง Digital

ภาพจาก https://ir.wingstop.com

ปี 2023 ยอดขายของ Wingstop อยู่ที่ 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 27.1% ถือเป็นการเติบโตปีที่ 20 ติดต่อกัน ภายใต้เป้าหมายการเป็นแบรนด์ร้านอาหาร 10 อันดับแรกของโลกในปี 2025

ปี 2024 ยอดขายของ Wingstop เพิ่มขึ้นเป็น 4.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 36.8%

  • เปิดสาขาใหม่ 349 แห่ง
  • จำนวนสาขาทั่วโลก 2,563 แห่ง เพิ่มขึ้น 15.8%
  • ยอดขายสาขาเดิมในอเมริกา เพิ่มขึ้น 19.9% เป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 21 ติดต่อกัน
  • รายได้รวม 625.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 36%
  • รายได้สุทธิ 108.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 54.9%

Wingstop ดำเนินธุรกิจแบบบริหารสาขาเองและแฟรนไชส์ โดยเฉพาะสาขาแฟรนไชส์คิดเป็นสัดส่วน 98% ของจำนวนสาขาทั้งหมดของ Wingstop ที่มีอยู่จำนวน 2,563 สาขาทั่วโลก ที่สำคัญแต่ละสาขามียอดขายเติบโตถึง 21%

แฟรนไชส์ไก่จุ่มซอส
ภาพจาก https://bit.ly/4jCR1B7

กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของ Wingstop มาจาก The Wingstop Way เป็นการรวมเอาระบบคุณค่าหลัก ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ และความสนุกสนาน โดย The Wingstop Way ขยายไปสู่แพลตฟอร์มด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลของแบรนด์ โดยที่แฟรนไชส์ Wingstop มุ่งมั่นที่จะมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและพันธมิตรทุกคน

ในปี 2023 แฟรนไชส์ Wingstop ได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทหรือ “สถานที่ทำงานดีที่สุด” และบริษัทยังติดอันดับในรายชื่อ “แฟรนไชส์ที่เติบโตเร็วที่สุด” ของนิตยสาร Entrepreneur อยู่ในอันดับที่ 16 ในรายชื่อ “แฟรนไชส์ 500 แบรนด์” และในปี 2025 ก้าวขึ้นมาติดอันดับ 11 แบรนด์แฟรนไชส์ที่เติบโตเร็วที่สุดของนิตยสาร Entrepreneur อีกด้วย โดยอันดับ 1 เป็นของ Taco Bell

ไม่เพียงเท่านี้ แฟรนไชส์ Wingstop ยังติดอันดับในรายชื่อ “ร้านอาหารเครือ 500 อันดับแรก” ของนิตยสาร Technomic 2023 และอันดับ 40 แฟรนไชส์ที่เติบโตอย่างชาญฉลาดของ Franchise Time

กลยุทธ์ธุรกิจ Wingstop

แฟรนไชส์ไก่จุ่มซอส
ภาพจาก www.facebook.com/Wingstop

1. เปิดตัวเมนูใหม่เป็นทางเลือกให้ลูกค้า ในช่วงปี 2022 แฟรนไชส์ Wingstop ได้ออกเมนูแซนด์วิชไก่ ให้ลูกค้าทานไก่เป็นมื้อระหว่างวันบ่อยขึ้น เมนูนี้ขายดิบขายดี ขายได้มากกว่า 1 ล้านชิ้น และหมดสต็อกที่เตรียมไว้สำหรับ 1 เดือน ภายในเวลา 6 วัน

ปัจจุบัน Wingstop มีเมนูซิกเนเจอร์ ปีกไก่ เทนเดอร์ไก่ แซนด์วิชไก่แบบคลาสสิก เสิร์ฟด้วยรสชาติที่เข้มข้น 12 รสชาติ ได้แก่ Original Hot, Cajun, Atomic, Mild, Teriyaki, Lemon Pepper, Hawaiian, Garlic Parmesan, Hickory Smoked BBQ, Louisiana Rub และ Mango Habanero ปีกไก่ของ Wingstop ปรุงตามออเดอร์ ราดซอสและคลุกเคล้าด้วยมือ เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียงทำเองหลากหลายชนิด เช่น เฟรนช์ฟรายสดปรุงรส น้ำสลัดแรนซ์หรือบลูชีส

ภาพจาก www.facebook.com/Wingstop

2. จัดโปรโมชั่นขยายฐานลูกค้า อีกหนึ่งกลยุทธ์ของ Wingstop เพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้คนรู้จักแพร่หลาย โดยเข้าไปเป็นพันธมิตรกับทีม NBA มีการทำโปรโมชั่นแจกไก่ฟรีทุกครั้งที่ทีมบาสเก็ตบอลชนะ กลายเป็นกระแสบนโซเชียลฯ ได้รวดเร็ว

3. ขายแฟรนไชส์ เป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่สำคัญเป็นวิธีสร้างการเติบโตทางธุรกิจแฟรนไชส์ Wingstop ได้อย่างรวดเร็ว จนมาถึงปัจจุบันมีจำนวน 2,563 สาขาทั่วโลกในตลาดกว่า 11 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย คูเวต ฝรั่งเศส สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย ซาอุดีอาระเบีย และโคลอมเบีย

  • สาขาในอเมริกามีจำนวน 2,204 แห่ง
  • แบ่งเป็นสาขาแฟรนไชส์ 2,154 แห่ง, บริษัทบริหาร 50 แห่ง
  • จำนวนสาขาแฟรนไชส์ในต่างประเทศ 359 แห่ง
  • ในปี 2024 เปิดสาขามากกว่า 349 แห่ง

งบการลงทุนแฟรนไชส์เปิดร้าน Wingstop ในอเมริกา

ภาพจาก www.facebook.com/Wingstop
  • ค่าแฟรนไชส์ 20,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 673,310 บาท
  • งบลงทุน 259,400 – 912,100 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 8,732,571 – 30,705,392 บาท
  • Royalty Fee 6%
  • Marketing Fee 5.3%
  • ระยะสัญญาแฟรนไชส์ 10 ปี

Business model ของ Wingstop เน้นเติบโตแบบ Asset-light ไม่ต้องลงทุนตัวร้านเอง โดยบริษัทเป็นผู้บริหารแบรนด์และเครือข่ายแฟรนไชส์ มุ่งสร้างผลตอบแทนที่น่าสนใจให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ทำให้บริษัทเติบโตได้รวดเร็วโดยใช้เงินลงทุนต่ำ

ที่สำคัญโมเดลร้าน Wingstop ออกแบบให้เรียบง่าย ลงทุนต่ำ สร้างผลตอบแทนสูง โดยตั้งเป้าหมายเงินลงทุนเริ่มแรกในการตั้งร้านประมาณราวๆ 400,000 เหรียญสหรัฐ และแฟรนไชส์จะได้รับอัตราผลตอบแทนที่เป็นเงินสดในปีที่ 2 ประมาณ 50%

แฟรนไชส์ไก่จุ่มซอส
ภาพจาก www.facebook.com/Wingstop

จะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์ Winstop มีเป้าหมายเติบโตไปทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ขยายตลาดมาในอาเซียนบ้างแล้ว เช่น สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย

ถ้าแฟรนไชส์ Wingstop จะเข้ามาบุกตลาดในไทย ที่มีแบรนด์ไก่ทอดมากมายในตลาด จะอยู่รอดหรือไม่

เพราะมีทั้งเจ้าตลาดอย่าง KFC รวมไปถึงแบรนด์ไก่ทอดเกาหลี จีน ไต้หวัน และล่าสุด JOE WING แบรนด์ไก่ทอดน้องใหม่ในเครือโอ้กะจู๋เพิ่งเปิดตัว ขายไก่ทอดจุ่มซอสเหมือน Wingstop

อ้างอิง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช