แฟรนไชส์ยอดขายไม่ดี ขอไม่จ่ายค่า Royalty Fee ได้มั้ย?

ธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ จากแฟรนไชส์ซี เริ่มตั้งแต่ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) หรือ ค่าสิทธิ์แรกเข้า หรือ Entrance Fee ถือเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นในระบบแฟรนไชส์ ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายให้กับแฟรนไชส์ซอร์ เป็นค่ารับสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจหรือใช้ตราสินค้าหรือบริการจากเจ้าของแฟรนไชส์

โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ก่อนทำการเปิดร้าน หรือเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ ซึ่งในยุคปัจจุบันมีทั้งแฟรนไชส์จ่ายเงินครั้งเดียวทำธุรกิจได้เลย หรือเรียกว่าแฟรนไชส์สร้างอาชีพ (Product Franchise) เป็นแฟรนไชส์ที่ใช้เงินลงทุนต่ำ หลักพัน หลักหมื่นบาท

แฟรนไชส์ยอดขายไม่ดี

ภาพจาก facebook.com/LEMONG.RAMEN/

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีระบบธุรกิจที่เป็นมาตรฐานสากลจริงๆ หรือ “Business Format Franchising” นอกจากต้องมีค่า Franchise Fee แล้ว แฟรนไชส์ซียังต้องจ่ายค่า Royalty Fee เป็นค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายอย่างต่อเนื่องตามสัดส่วนของผลการดำเนินงาน อาจจะเรียกเก็บเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อเดือนหรือต่อปีจากยอดขาย หรืออาจจะเก็บจากยอดสั่งซื้อสินค้า

นอกจากค่า Royalty Fee แล้ว ยังมีค่า “ค่าการตลาด” และ “โฆษณาประชาสัมพันธ์” (Marketing Fee/ Advertising Fee) ที่แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขายด้วยเช่นกัน ซึ่งค่าใช้จ่าย 2 อย่างนี้ ส่วนใหญ่จะเก็บกันเป็นรายเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายประมาณ 3-10% แล้วแต่รูปแบบของแต่ละแบรนด์แฟรนไชส์

53

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีการเก็บค่า Royalty Fee และ Marketing Fee/ Advertising Fee จากแฟรนไชส์ซี ส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ไม่ว่าจะไปใช้บริการสาขาไหนก็จะได้รับบริการในรูปแบบมาตรฐานเช่นเดียวกันหมด เช่น คุณเคยกิน KFC ในต่างจังหวัด แต่พอมากินในกรุงเทพฯ ก็จะได้รสชาติไก่ทอดเหมือนกัน หรือแม้แต่ 7-Eleven ก็จะมีรูปแบบการบริการจัดการแฟรนไชส์เป็นมาตรฐานเหมือนกันทุกสาขา สินค้าและบริการต่างๆ ในร้านจะเหมือนกันทุกสาขา ตลอดจนการจัดวางสินค้า ชุดฟอร์มพนักงาน รวมถึงวิธีการนำเสนอขายสินค้าในร้าน เป็นต้น

6

ธุรกิจแฟรนไชส์กลุ่มนี้ เมื่อแฟรนไชส์ซีซื้อไปเปิดแล้ว มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูงมาก เพราะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง สินค้าและบริการเป็นที่รู้ของตลาดและผู้บริโภคในวงกว้าง ส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด ค้าปลีก กาแฟ ฯลฯ ค่าแฟรนไชส์แรกเข้าจะสูงขึ้น ตั้งแต่หลักแสนขึ้นไปจนถึงหลักล้านบาท ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและตกแต่งร้านอีกด้วย รวมๆ แล้วผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท แต่ลงทุนแล้วมีโอกาสที่จะเจ๊งน้อยมาก ถือว่าคุ้มค่า

52

อย่างไรก็ตาม หลายคนมีคำถามว่า “ยอดขายไม่ดี ไม่เป็นไปตามเป้า แฟรนไชส์ซีขอไม่จ่ายค่า Royalty Fee ได้หรือไม่?” เกี่ยวกับเรื่องนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอและอธิบายให้ทราบครับ

ยกตัวอย่างกรณีวิกฤติโควิด-19 ทำให้ห้างสรรพสินค้าต้องปิดกะทันหัน ผู้ประกอบการต้องปิดร้านชั่วคราว 1-2 เดือน สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ไม่เพียงแต่แฟรนไชส์ซอร์ที่ได้รับผลกระทบ แต่แฟรนไชส์ซีก็โดนด้วย

ซึ่งหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ ต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แฟรนไชส์ซีให้ดำเนินธุรกิจได้ราบรื่น และเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 แฟรนไชส์ซอร์แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็น ยอดขายลดลง การปิดร้านชั่วคราวหรือถาวร แฟรนไชส์ซีไม่จ่ายค่า Royalty Fee และขาดสภาพคล่องทางการเงิน รวมถึงซัพพลายเออร์มีปัญหาในการผลิตและขนส่ง

51

ภาพจาก facebook.com/InterExpressLogisticsTH/

ปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการตั้งคำถามกับบรรดาแฟรนไชส์ซอร์ ถึงการก้าวข้ามวิกฤติโควิด-19 ว่าจะต้องแก้ไขปัญหาอะไรบ้าง กรณีห้างปิด ถ้าซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว จะยังดำเนินการได้เหมือนเดิมหรือไม่ โดยเฉพาะไม่มีเงินจ่าย Royalty Fee

จากปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติจนทำให้ยอดขายลดลง ทั้งในส่วนของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี โดยมีสาเหตุเกิดจากห้างสรรพสินค้าปิดชั่วคราว หรือลูกค้าใช้บริการน้อยลง หากแฟรนไชส์ซีขอไม่จ่ายค่า Royalty Fee ในช่วงวิกฤติได้หรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับข้อตกลง และพูดคุยกันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี

แต่ถ้าแฟรนไชส์ซีทำยอดขายไม่ดี ไม่เป็นไปตามเป้า ซึ่งไม่เกี่ยวกับวิกฤติ แต่เป็นเพราะการบริหารของแฟรนไชส์ซีเอง ตรงนี้เชื่อว่า แฟรนไชส์ซอร์หลายๆ แบรนด์ ไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องของแฟรนไชส์ซีได้ อาจต้องพิจารณาในเรื่องของสัญญาแฟรนไชส์ ว่ามีข้อตกลงและเงื่อนไขอะไรบ้าง หากแฟรนไชส์ซีปิดเงื่อนไขก็สามารถยกเลิกสัญญาได้

แต่ถ้าหากต้องการอยู่รอดทั้ง 2 ฝ่าย ก็สามารถพักชำระค่า Royalty Fee ในช่วงยอดขายลดลงได้ในช่วงวิกฤติ หรือให้แฟรนไชส์ซีจ่ายครึ่งหนึ่ง หรือให้ส่วนลดในเรื่องการซื้อสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซี

50

ภาพจาก facebook.com/AshitaSumalin/

แต่ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ยังให้แฟรนไชส์ซีจ่ายค่า Royalty Fee ต้องรีบแนะนำแฟรนไชส์ซีสำรวจว่ามีเงินสดสำรองเพียงพอหรือไม่ มีทรัพย์สินอะไรบ้าง รวมถึงการคำนวณตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และในช่วงเวลานั้นมีนโยบายอะไรเกิดขึ้นบ้าง ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายส่งเสริมธุรกิจอย่างไรบ้าง และแฟรนไชส์ซอร์ต้องเจรจากับซัพพลายเออร์ และเจ้าของสถานที่เช่าเมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 ลดค่าเช่าให้มากที่สุด รวมถึงการหาทำเลพื้นที่ใหม่ให้กับแฟรนไชส์ซี

ขณะเดียวกัน แฟรนไชส์ซอร์ต้องปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้ร้านยังคงรักษายอดขายเอาไว้ได้ เมื่อไม่สามารถเปิดร้านได้ ก็ต้องปรับรูปแบบให้บริการเดลิเวอรี่ เพื่อให้แฟรนไชส์ซีอยู่รอด และแฟรนไชส์ซอร์ก็จะรอดตามด้วย เนื่องจากลูกค้าไม่ได้จำเพียงแค่แฟรนไชส์ซอร์ แต่จำแบรนด์หรือสาขาของแฟรนไชส์ซีที่อยู่รอดได้ ที่สำคัญต้องเร่งพัฒนาทีมงานให้แข็งแกร่งด้วย

ดังนั้น “ยอดขายไม่ดี ไม่เป็นไปตามเป้า แฟรนไชส์ซีขอไม่จ่ายค่า Royalty Fee ได้ หรือไม่ได้ ต้องขึ้นอยู่กับการตกลง และการพูดคุยกันของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี แต่แฟรนไชส์ซอร์ต้องคิดเสมอว่า “แฟรนไชส์ซีรอด แฟรนไชส์ซอร์ก็รอด”


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3duZfuP

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช