แฟรนไชส์นาเนียสเต๊ก สุดยอดการลงทุนกำไร 100%
กำไร 100% หมายความว่า ถ้าเราลงทุน 100 บาท เราจะต้องมีรายได้ 200 บาทเมื่อหักต้นทุนออกไปก็จะเหลือกำไร 100 บาท ตรรกะง่ายๆ แต่ในโลกของธุรกิจนั้นเป็นไปได้ยาก อย่างดีได้กำไรสัก 50-60% ก็ถือว่าดีมากแล้ว
แต่ในความยากก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะธุรกิจอาหารอย่าง “ แฟรนไชส์นาเนียสเต๊ก ” ที่ดูผิวเผินไม่น่าจะกำไรได้ถึง 100% แต่ แฟรนไชส์นาเนียสเต๊ก ที่มีประสบการณ์มานานกว่า 8 ปี การันตีว่า “ผู้ลงทุนมีกำไร 100 % แน่นอน” ยืนยันด้วยสาขาของนาเนียสเต๊กที่ปัจจุบันมีกว่า 115 สาขาและพร้อมจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
www.ThaiSMEsCenter.com ในฐานะที่เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่มองเห็นแฟรนไชส์ต่างๆ มาก็มากมายแต่ความสำเร็จของ แฟรนไชส์นาเนียสเต๊ก คือตัวอย่างของการลงทุนที่ชัดเจนมาก ผู้ลงทุนแทบทุกสาขามีกำไรจากธุรกิจนี้งานนี้เราจึงจัดให้เป็นสุดยอดแฟรนไชส์ประจำเดือนมิถุนายน ไว้เป็นแนวทางให้คนที่กำลังมองหาช่องทางลงทุนได้มีข้อมูลตัดสินใจว่าแฟรนไชส์ที่ลงทุนน้อย ก็สามารถทำให้เรารวยได้ ถ้าขยันและตั้งใจทำอย่างจริงๆ จังๆ
สเต๊กแบบพรีเมี่ยมในราคาเบาๆ ใครๆก็กินได้
จุดเด่นของนาเนียสเต๊กที่สร้างยอดขายทะลุเป้าให้คนลงทุน ก็เริ่มมาจากการ “วางรูปแบบ” สินค้าของนาเนียสเต๊ก ที่ใช้วัตถุดิบชั้นดี นำมาทำเป็นเมนูสเต๊กต่างๆ และเลือกทำเลตามตลาดทั่วไป ร้านริมทาง ในราคาที่เบาๆ ลูกค้าที่ได้รับประทานจะรู้สึกว่าแทบไม่ต่างกับสเต๊กระดับพรีเมี่ยมในห้างสรรพสินค้า
แต่ที่สำคัญราคาสบายกระเป๋า กินนาเนียสเต๊กอิ่มอร่อยจริงแล้วยังมีเงินเหลือเอาไปเก็บได้อีก จึงกลายเป็นจุดขายและการเป็นภาพลักษณ์จดจำที่ทำให้คนเชื่อมั่นในนาเนียสเต๊ก เมื่อความต้องการของลูกค้ามีมากก็นำมาสู่การเพิ่มโอกาสของผู้ลงทุนที่มากตามไปด้วย
ให้สิทธิล็อคพื้นที่ 1 อำเภอ 1 สาขา
เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขาย นาเนียสเต๊กให้ความสำคัญกับผู้ลงทุนทุกคนด้วยนโยบาย “1 อำเภอ 1 สาขา” ซึ่งร้านนาเนียสเต๊กจะไม่มีทางทับซ้อนเพื่อแย่งลูกค้ากัน ในความเป็นจริงหลายคนอาจมองว่าเป็นไปไม่ได้นี่คือการตลาดเอาจริงๆ เดี๋ยวก็เปิดให้ขาย แต่นับถึงวันนี้ นาเนียสเต๊กก็ยังคงยึดมั่นในนโยบายนี้อย่างเคร่งครัด
หากสังเกตให้ดีจะพบว่าหากคุณเคยเห็นนาเนียสเต๊กสาขานี้ในพื้นที่มาก่อนจะไม่มีทางเห็นนาเนียสเต๊กเป็นร้านที่ 2 ในพื้นที่เดียวกันเด็ดขาด ซึ่งผู้ที่ต้องการลงทุนก็ต้องสอบถามกับทางแฟรนไชส์ก่อนว่าในพื้นที่นั้นมีสาขาของนาเนียสเต๊กเปิดอยู่หรือไม่ ถ้ามีอยู่แล้วแนะนำให้ไปเปิดในพื้นที่อื่น ซึ่งหากเราเป็นเจ้าแรกในพื้นที่ก็การันตีได้เลยว่าจะไม่มีคู่แข่งเป็นเจ้าที่ 2 ตามมาแน่นอน
ลงทุนตามจริง “ไม่มีค่าแฟรนไชส์”
งบในการลงทุนของนาเนียสเต๊กเริ่มตั้งแต่ 25,000 – 100,000 บาท หรือบางร้านที่อาจจะเปิดร้านสเต๊กอยู่แล้วแต่อยากรีโนเวทร้านใหม่ เพื่อให้ขายดีขึ้น มีสูตรสเต๊กที่มากขึ้น อุปกรณ์เก่าๆ ของตัวเองอาจมีอยู่บ้างแล้ว การลงทุนก็จะน้อยลงแต่มีโอกาสเพิ่มยอดขายได้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้ธุรกิจคล่องตัว การเปิดร้านสเต๊กควรมีเงินหมุนเวียนในธุรกิจประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน เพื่อเป็นค่าจิปาถะต่างๆ
และสำหรับผู้ลงทุนใหม่แนะนำงบเบื้องต้น 25,000 บาท สิ่งที่จะได้รับคือ
- เสื้อ นาเนีย 4 ตัว
- ผ้าปูโต๊ะ 8 ผืน
- ร่มสนาม นาเนียสเต็ก 8 คัน
- เตาย่างสเต๊ก ขนาด 12 x 24 1 ตัว
- เตาทอด 3.5 lts 2 ตัว
- มีดสเต็ก 4 โหล
- ส้อมสเต็ก 4 โหล
วัตถุดิบชุดเริ่มต้น 1 ชุด มูลค่าประมาณ 15,000 บาทสามารถทำเป็นเมนูขายสร้างรายได้กว่า 30,000 บาท
นาเนีย สเต๊ก กำไร 100% แน่นอน
เมนูของนาเนียสเต๊กมีหลากหลาย ซึ่งทางแฟรนไชส์ได้คิดสูตรการทำที่ใช้วัตถุดิบมีคุณภาพเหมาะสมกับราคาลูกค้าพอใจ คนขายได้กำไร บางเมนูของนาเนียสเต๊ก ทำกำไรได้ 100% เต็ม ธุรกิจนี้จึงมีระยะเวลาในการคืนทุนต่ำมากประมาณ 3-6 เดือนขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ ยกตัวอย่างบางสาขาของนาเนียสเต๊ก สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 60,000 บาทต่อสัปดาห์ หรือในบางสาขาเช่นกันมีกำไรต่อวันหักลบต้นทุนแล้วเหลือกว่า 1,000 บาท เฉลี่ยมีกำไรต่อเดือนของร้านนาเนียสเต๊กประมาณ 20,000 -30,000 บาท
ซึ่งนาเนียสเต๊กก็มีการพัฒนาเมนูใหม่และเทคนิคการขายใหม่ๆ มานำเสนอผู้ลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างล่าสุดก็เปิดตัวเมนูใหม่อย่าง “ยำซีฟู้ด” ที่เลือกได้ว่าต้องการยำอะไรเช่น ยำปูม้า ยำกุ้ง หรือจะยำรวมมิตรซีฟู้ด เป็นเมนูทางเลือกที่นอกเหนือจากสเต๊ก และช่วยเพิ่มตัวเลือกให้ลูกค้า เพิ่มโอกาสในการทำกำไรของผู้ลงทุนที่มากขึ้น
3 เทคนิคเปิดร้านนาเนียสเต๊ก ขายดีชัวร์
1.ใช้โซเชี่ยลให้เป็นประโยชน์
ยุคนี้เรื่องแช๊ะ และแชร์ กลายเป็นการตลาดที่ไม่ต้องลงทุนแต่ให้ผลคุ้มค่า ร้านสเต๊กยุคใหม่ต้องรู้จักเล่นกับเทคโนโลยีให้เป็น ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ยูทูป อินสตราแกรม ยิ่งสร้างฐานให้คนติดตามได้มากร้านก็จะยิ่งมีชื่อเสียงมากขึ้น
2.บริการที่ดีคือหัวใจสำคัญ
บางครั้งการที่ลูกค้าเลือกทานสเต๊กร้านใดเป็นประจำอาจไม่ใช่เพราะรสชาติ แต่คือบริการที่เข้ามาแล้วรู้สึกว่าตัวเองมีค่า มีความสำคัญ ดังนั้นการบริการที่ดีจะทำให้คนจดจำและนำไปบอกต่อกลายเป็นการโฆษณาร้านที่ดีด้วย
3.กลยุทธ์การบริหารวัตถุดิบ
นี่คือโจทย์สำคัญในการฟันธงว่ากำไรจะมากหรือน้อยแค่ไหน นาเนียสเต๊กคือตัวอย่างที่ดีที่สอนเทคนิคการบริหารจัดการต้นทุน ให้ผู้ลงทุนรู้ว่าควรทำแบบไหนอย่างไรให้เมนูมีคุณภาพ ลูกค้าพอใจ คนลงทุนมีกำไร ซึ่งนาเนียสเต๊กใช้ประสบการณ์มาถ่ายทอดให้คนลงทุนได้รู้ทุกรายละเอียด ทำให้เราไม่ต้องไปเริ่มต้นจากศูนย์โอกาสมีกำไรก็มากขึ้น
ร้านสเต๊กยังเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนที่อยากมีธุรกิจของตัวเอง แม้ทุกวันนี้อาจจะดูว่ามีคู่แข่งเยอะแต่สิ่งสำคัญคือลูกค้าจะตัดสินใจเลือกร้านสเต๊กที่ “บริการดี” “ราคาเหมาะสม” “รสชาติดี” สิ่งเหล่านี้ได้รวมอยู่ที่ “นาเนียสเต๊ก” และด้วยการดูแลผู้ลงทุนเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ให้คำปรึกษาในทุกปัญหาที่เจอ และพัฒนาธุรกิจไปพร้อมๆกันทำให้การลงทุนกับแฟรนไชส์นาเนียสเต๊ก นอกจากการลงทุนที่ไม่มีค่าแฟรนไชส์สิ่งที่ได้รับแน่ๆ คือ “โอกาสในการสร้างรายได้แบบ 100%” ยิ่งขยัน ยิ่งทำ ก็ยิ่งรวย ฟันธง!
ต้องการลงทุนแฟรนไชส์ นาเนีย สเต็ก
โทร. 092-5597756 , 086-3826755
E-Mail : nnn_sale09@yahoo.com
LINE : kunjaethong
Facebook: www.facebook.com/Narniasteak
อ้างอิงจาก https://bit.ly/40kpN9D
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)