แฟรนไชส์กาแฟจีน Cotti Coffee โตเร็วที่สุดในโลก 2 ปี 7,000 สาขา
ปัจจุบันไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็เจอแต่เชนร้านอาหารและเครื่องดื่มจากประเทศจีนอยู่ทั่วทุกมุมของเมืองไทย “Cotti Coffee” ก็เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ แฟรนไชส์กาแฟจีน ถือเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงที่น่าจับตามอง แม้จะเป็นแบรนด์น้องใหม่ แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของตลาดได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงไม่นานก็สามารถขยายสาขาไปทั่วโลก
ปัจจุบัน Cotti Coffee มีจำนวนสาขามากเป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นรองเพียง 3 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการกาแฟของโลกอย่าง Starbucks, Luckin Coffee และ Dunkin’ ที่มีสาขา 40,000, 20,000 และ 13,700 แห่งตามลำดับ
สิ่งที่น่าสนใจของแบรนด์กาแฟจีน Cotti Coffee ก็คือ เปิดตัวได้แค่ 2 ปีกว่าๆ ขยายสาขาไปแล้ว 7,000 สาขาใน 28 ตลาดทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นเอเชียตะวันออก ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้
รวมถึงไทยที่มีทั้งหมด 8 สาขา อาทิ สามย่านมิตรทาวน์, สีลมคอมเพล็กซ์, เซ็นทรัลเวิลด์, เทอร์มินอล 21 พระราม 3, ทรูดิจิทัล พาร์ค, เดอะมอลล์บางกะปิ (อยู่ระหว่างปรับปรุง), เดอะมอลล์บางแค (อยู่ระหว่างปรับปรุง) และ แฟชั่นไอส์แลนด์ โดยขายกาแฟราคาเริ่มต้นเพียงแก้วละ 55 บาท
ความสำเร็จของ Cotti Coffee ตั้งแต่จุดเริ่มต้น กลยุทธ์ การขยายธุรกิจ ไปจนถึงโอกาสและความท้าทายในอนาคตเป็นอย่างไร
จุดเริ่มต้นและกลยุทธ์ Cotti Coffee
Cotti Coffee ก่อตั้งโดยอดีตผู้บริหารของ Luckin Coffee อย่างคุณ Lu Zhengyao และคุณ Qian Zhiya ได้เปิดร้านสาขาแรกในฝูโจวในเดือนตุลาคม 2022 และขยายตัวอย่างรวดเร็วจนมีสาขาครบ 5,000 แห่งทั่วประเทศจีนภายใน 12 เดือน
มาถึงตอนนี้ Cotti Coffee มีสาขากว่า 10,000 สาขาทั่วโลก เป็นรองแบรนด์กาแฟจากจีน Luckin Coffee ที่ตอนนี้มีกว่า 20,000 สาขาทั่วโลก สิ่งที่น่าสนใจของทั้ง 2 แบรนด์ คือ เน้นขยายสาขามากๆ ขายกาแฟราคาถูก
Cotti Coffee ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคเพราะด้วยราคาพิเศษที่ขายในราคาต่ำกว่า 10 หยวน ในขณะที่ราคากาแฟ Starbucks หรือแบรนด์อื่นๆ ราคาขายอยู่ที่ราวๆ 30 หยวนต่อแก้ว ทำให้เชนร้านกาแฟต่างๆ ต้องกุมขมับหาวิธีงัดสู้กันเป็นแถว
Cotti Coffee ยังใช้กลยุทธ์ Economies of scale หรือการประหยัดต่อขนาด เพื่อขยายสาขาทั่วประเทศจีนและต่างประเทศ โดยเน้นโมเดลแฟรนไชส์ จนสามารถสั่งซื้อวัตถุดิบทีละมากๆ และทำให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลง
Cotti Coffee ยังเป็นเจ้าของโรงคั่วกาแฟขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ตั้งอยู่ในเขตตางตู โดยมีกำลังการผลิต 45,000 ตันต่อปี เทียบเท่ากับปริมาณการบริโภคกาแฟทั้งหมดของประเทศจีนในปี พ.ศ. 2549 และคิดเป็น 15% ของปริมาณการบริโภคกาแฟของจีนในปี พ.ศ. 2565-2566 (อ้างอิงจากข้อมูลของกระทรวงเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา)
ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นได้ว่าโมเดลร้าน Cotti Coffee ส่วนใหญ่ค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่นๆ เน้นไซส์เล็ก ไม่เกิน 40 ตารางเมตร ทำให้ต้นทุนในการเปิดร้านต่ำกว่าเชนร้านกาแฟคู่แข่ง
Cotti Coffee ยังมีความพิเศษกว่าแบรนด์กาแฟอื่นๆ ตรงที่ลูกค้าสามารถสั่งเครื่องดื่มผ่านมือถือได้เอง โดยใช้วิธีการสแกน QR Code ผ่านเบราว์เซอร์ หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Cotti Coffee เพื่อทำการสั่งซื้อและชำระเงินได้ทันทีผ่านแอป ทำให้การสั่งซื้อสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการรอคิวและเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้บริการ
Cotti Coffee ได้ให้ความสำคัญกับการทำตลาดออนไลน์ มุ่งเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น นำเสนอเมนูลาเต้ในราคาที่เข้าถึงได้ โดยส่วนใหญ่มีราคาต่ำกว่าคู่แข่ง เช่น ในช่วงแคมเปญบนโซเชียลมีเดีย ราคาเริ่มต้นเพียง 8.8 หยวน หรือประมาณ 1.20 ดอลลาร์สหรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ Cotti Coffee มียอดขายรวมกว่า 35 ล้านหยวน หรือราวๆ 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์จากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายบนแพลตฟอร์ม Douyin
กลยุทธ์แฟรนไชส์ โอกาสและความท้าทาย
แม้ว่า Cotti Coffee จะขยายสาขาภายใต้การบริหารของบริษัทเองอยู่บ้าง แต่การขยายสาขาอย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศจีนในช่วงที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากการขายแฟรนไชส์
โดย Cotti Coffee เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุนในรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ได้ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 138,000 หยวน (หรือประมาณ 18,900 ดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับเปิดร้านในพื้นที่เช่าภายในศูนย์การค้าขนาดใหญ่ หรือสถานีขนส่งมวลชน นอกจากนี้ Cotti Coffee ยังให้การสนับสนุนด้านบุคลากร เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานในระยะเริ่มต้น
เอ็ด ซานเดอร์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีจาก Tech Buzz China มองว่าโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์ Cotti Coffee อาจเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของ Cotti Coffee โดยการลงทุนในรูปแบบร้านค้าทั่วไปของ Cotti Coffee ผู้ลงทุนต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า 300,000 หยวน (หรือประมาณ 41,000 ดอลลาร์สหรัฐ) หากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จและไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ ผู้ลงทุนแฟรนไชส์จะเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงทั้งหมด ในขณะที่ Cotti Coffee แทบจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
เหมือนกับ Luckin Coffee ในอดีต แต่ Cotti Coffee สร้างความน่าสนใจด้วยการขยายสาขาอย่างรวดเร็ว มีอัตราการขยายตัวที่สูงกว่า Luckin Coffee เสียด้วยซ้ำ แต่ในมุมมองเอ็ดซานเดอร์ มองว่าอาจเป็นการสร้างฐานธุรกิจที่เปราะบาง ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะล่มสลายได้ หากสาขาแฟรนไชส์จำนวนมากประสบภาวะขาดทุนและต้องยุติการดำเนินกิจการ
บนเว็บไซต์ Cotti Coffee รายงานว่าร้านแฟรนไชส์ที่มีกำไรขั้นต้นน้อยกว่า 20,000 หยวนต่อเดือน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายเดือนให้กับบริษัท หาก Cotti Coffee ยังคงดำเนินนโยบายการกำหนดราคาที่ต่ำและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายบนสื่อสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง การบรรลุเป้าหมายผลกำไรดังกล่าวอาจเป็นความท้าทายที่ยากลำบาก ยิ่งไปกว่านั้น การขยายสาขาอย่างรวดเร็วอาจส่งผลให้เกิดการแข่งขันกันเองระหว่างสาขาแฟรนไชส์ของ Cotti Coffee
สาขาแฟรนไชส์ของ Cotti Coffee บางแห่งให้ข้อมูลว่า หลังจากเปิดร้านได้ไม่นาน ก็มีร้านกาแฟ Cotti Coffee แห่งใหม่เกิดขึ้น ภายในรัศมี 1 กิโลเมตรเท่านั้นเอง ถ้าในประเทศไทยก็เปรียบได้กับ 7-Eleven
การประเมินความยั่งยืนของโมเดลธุรกิจ Cotti Coffee ในปัจจุบัน จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบด้าน โดยปัญหาหลักที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเผชิญมี 2 ประการ คือ แม้ว่าจะมีจำนวนลูกค้าเข้าร้านค่อนข้างมาก แต่ผลประกอบการแทบไม่ถึงจุดคุ้มทุน ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มักจะตัดสินใจซื้อสินค้าเมื่อมีส่วนลดหรือโปรโมชั่นเท่านั้น
สุดท้าย แม้หลายคนจะถกเถียงเกี่ยวกับความเสี่ยงของการขยายสาขาที่รวดเร็ว แต่ Cotti Coffee ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพการแข่งขันในตลาดกาแฟโลก มุ่งเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ราคากาแฟไม่แพง สร้างแบรนด์ที่ทันสมัย
ที่สำคัญคือการเข้ามาเปิดตลาดในไทยของ Cotti Coffee ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคชาวไทยได้สัมผัสกับรสชาติกาแฟระดับสากลในราคาที่ถูกกว่าแบรนด์อื่นๆ เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในตลาดกาแฟที่มีการแข่งขันสูง
แหล่งข้อมูล
https://bit.ly/49r8Ejn , https://bit.ly/4ilWkoI , https://bit.ly/3Zgc180 , https://bit.ly/3ZpCCzx , https://bit.ly/49o01WM , https://bit.ly/49nByRs , https://bit.ly/41llXzT
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy