แพลตฟอร์มใหม่ “Family Mart” ปรับโฉมสู่การเป็น One Stop Shopping Destination

Family Mart ถือเป็นคู่แข่งสำคัญของ 7-Eleven แม้ว่าจำนวนสาขาจะน้อยกว่า 7-Eleven มีจำนวนสาขามากกว่า Family Mart หลายเท่าตัว ปัจจุบัน 7-Eleven มีสาขาทั่วประเทศ 9,542 แห่ง (สิ้นปี 59) ขณะที่ Family Mart มีสาขาทั่วประเทศ 1,136 แห่ง เรียกว่าจำนวนสาขาของทั้งสองร้านค้าห่างกันถึง 9 เท่า 

Family Mart มีเจ้าของเป็น บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด บริษัทในเครือเซ็นทรัล ได้ก่อตั้งขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 เปิดสาขาแรก (สาขาพระโขนง) และเปิดสาขาสอง (สาขาสีลม) ในปี 2536 แฟมิลี่มาร์ทเป็นบริษัทย่อยของบริษัท อิโตชู จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้ขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 ปัจจุบันขยายสาขารูปแบบแฟรนไชส์

7-Eleven มีเจ้าของเป็น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้รับสิทธิการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจาก 7-Eleven, Inc. สหรัฐอเมริกา และได้เปิดร้านสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงษ์ เมื่อปี 2532 ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าร้าน 7-Eleven เฉลี่ยวันละ 11.7 ล้านคน และขยายสาขาแบบแฟรนไชส์

แพลตฟอร์มใหม่

n5

แต่วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูมิติใหม่ของ Family Mart ที่ยกระดับสู่การเป็น “One Stop Shopping Destination” มี Co-Working Space เป็นจุดนัดพบของคนทำงานเมืองกรุงได้เป็นอย่างดี

หลังจาก Family Mart เปิดฟอร์แมตใหม่สาขาฮอลิเดย์ อินน์ แถวสีลม ไปก่อนหน้านี้ ล่าสุดได้ต่อยอดมาสู่การพัฒนา สาขาสุขุมวิท 33 ที่มีทั้งขนาดพื้นที่ และสินค้า-บริการครบมากกว่าเดิม เชื่อว่าใครได้เข้าไปใช้บริการแล้ว ต้องบอกว่าเป็นมิติใหม่ของร้านสะดวกซื้อในไทย เราไปดูกันว่า Family Mart สาขาสุขุมวิท 33 มีความแปลกใหม่อย่างไร

n4

n6

1. แฟมิลี่มาร์ท สุขุมวิท 33 พัฒนาขึ้นภายใต้คอนเซ็ปต์ “Fresh Fun and Friendly” ในบรรยากาศแบบญี่ปุ่น สไตล์มินิมอล

2. สาขานี้ถูกออกแบบให้มี 2 ชั้น เพื่อรองรับไลฟ์สไตล์คนเมือง ผสานกับความเรียบง่าย ที่มีสินค้าและบริการครบวงจร รวมทั้งมี Co-working Space เพื่อต้องการให้สาขานี้ “One Stop Shopping Destination”

3. กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ คนที่อาศัยในย่านสุขุมวิท 33, คนทำงานย่านนี้, นักเรียน-นักศึกษา, นักท่องเที่ยว และคนที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าขึ้น-ลงที่สถานีพร้อมพงษ์ และรถขนส่งสาธารณะ

4. มีสินค้าและบริการมากกว่า 3,000 รายการ

n3

n10

5. ชั้น 1 แบ่งออกเป็น 8 โซนหลัก ได้แก่

  1. กลุ่มผลไม้และดอกไม้สด
  2. กลุ่มของที่ระลึก เช่น สบู่ผลไม้ ผลไม้อบแห้ง กระเป๋าลายผ้าไทย
  3. กลุ่มอาหารพร้อมรับประทาน
  4. กลุ่มเครื่องดื่ม
  5. กลุ่มเบเกอรี่และกาแฟสด เบเกอรี่อบสดจาก Origin by Srifa Bekery และกาแฟสด Fami Cafe coffee arigato และกาแฟสด Segafredo
  6. สินค้าสุขภาพและความงาม
  7. สินค้านำเข้า เช่น ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่ม
  8. หนังสือและนิตยสาร

n7

n9

6. ชั้น 1 มีเคาน์เตอร์บาร์ พร้อมเก้าอี้ให้นั่งรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม

7. พื้นที่ชั้น 2 ออกแบบให้เป็น Co-working Space “Open Space” บนพื้นที่กว่า 200 ตารางเมตร ถือเป็นร้านสะดวกซื้อรายแรกที่เปิดให้บริการ co-working space พร้อมให้บริการ wifi โดยโซนนี้เปิดให้บริการเวลา 8.00 – 24.00 น.

8. เอาใจสาวก Japanese ด้วยตู้ไข่หมุน กาชาปอน (Gachapon) ที่มาพร้อมกับฟูจิโกะ คอลเลคชั่น ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น 2

9. สาขานี้เปิดให้บริการชำระค่าบริการเติมเงิน และความบันเทิงออนไลน์ในทุกรูปแบบ เช่น เครดิตการ์ด, Rabbit card, Alipay, บัตรกิฟท์การ์ด Joox, Line prepaid card, Hollywood HDTV และบริการส่งพัสดุ Kerry Express และบริการเดลิเวอรี่ โดย Go Mart จาก GoBike เพื่อตอบโจทย์ความสะดวกให้กับคนไทย และชาวต่างชาติ

n11

ภาพจาก www.facebook.com/FamilyMartThailand

ทั้งนี้ Store แพลตฟอร์มสาขาสุขุมวิท 33 เป็นการพัฒนาสาขาที่ตอบรับเทรนด์ค้าปลีกที่กำลังมาแรงอย่างเทรนด์ “Grocerants” (Grocery Store + Restuarants) คือการบริหารพื้นที่ค้าปลีกให้มีทั้งของกินของใช้ในชีวิตประจำวัน พร้อมด้วยจัดเตรียมที่นั่งรับประทานอาหารให้กับลูกค้า ที่สำคัญมี wifi สามารถนั่งทำงานได้ด้วย

แม้จะไม่ได้เป็น Grocerants อย่างเต็มรูปแบบเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นแล้วกับ “ซูเปอร์มาร์เก็ต” ทั้งในไทยและต่างประเทศก็ตาม แต่การขยับตัวครั้งนี้ของ family Mart ในไทย ได้เขย่าวงการค้าปลีกร้านสะดวกซื้อให้พลิกโฉมหน้าครั้งใหญ่

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชสฺเซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/home.php

ขอบคุณรูปภาพจาก goo.gl/PHQqeA

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช