แนวคิดการเก็บ ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ทำไมต้องเก็บ
ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์นั้น ถ้าไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) หรือสร้างรายได้จาก การจัดการธุรกิจ ที่เพียรสร้างขึ้นมาด้วยความยากเย็น ก็เรียกได้ว่า ยังไม่ประสบความสำเร็จในระบบแฟรนไชส์นั่นเอง
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้มีหลักแนวคิดการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) มาจากปัจจัยอะไรบ้าง และทำไมเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จากผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย
แนวคิดการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
ภาพจาก goo.gl/FI3m21
หากคุณสามารถเริ่มต้นธุรกิจที่ตัวเองไม่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเพียงพอ ไม่มีตราสินค้า หรือชื่อเสียงร้าน พอที่จะให้ลูกค้าเข้ามาในร้าน และไม่มีสินค้าทีเด็ดไว้ผูกใจลูกค้า แถมตอนเริ่มต้นธุรกิจก็ยังไม่มีเงินลงทุนพอ ที่จะสร้างรูปแบบธุรกิจให้มีความน่าสนใจ ไม่เข้าใจการออกแบบร้าน รวมถึงกระบวนการบริหารจัดการทำงานภายในร้าน ให้ดำเนินการได้ทั้งช่วงสถานการณ์เวลาลูกค้าใช้บริการน้อย หรือใช้บริการมากตามแต่ละสถานการณ์
ถ้ามีใครเข้ามาช่วยงานคุณที่กล่าวไปทั้งหมด รวมถึงการหาทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านให้ เพื่อช่วยลดความเสี่ยง ดูเรื่องการหาสินเชื่อ พร้อมทั้งอบรมให้ความรู้ทางธุรกิจอย่างเข้มข้นจนเกิดประโยชน์ จนทำให้คุณเข้าใจการดำเนินธุรกิจที่จะทำได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นหลังจากเปิดร้านแล้ว เจ้าของแฟรนไชส์ก็ยังมีการช่วยเหลือคุณอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาธุรกิจไม่ให้หยุดอยู่กับที่ ดังนั้น คุณจึงสมควรที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ ที่ทำงานให้กับคุณ
ชนิดของค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
1.ค่าแฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee)
หรือค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า ที่จะต้องเก็บจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นค่าให้สิทธิ์ใช้แบรนด์ทำธุรกิจกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาแฟรนไชส์
หรืออาจเรียกว่า เป็นเงินที่แฟรนไชส์ซีจ่ายล่วงหน้าให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ เพื่อตอบแทนที่แฟรนไชส์ซอร์ยอมให้แฟรนไชส์ซีมีสิทธิใช้เครื่องหมายการค้า ความรู้ ประสบการณ์ เทคนิค วิธีการในการบริหารจัดการธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์
2.ค่าสิทธิ์ (Royalty Fee)
หรือ ค่าธรรมเนียมการจัดการ ซึ่งจะเรียกเก็บจากแฟรนไชส์ซีเป็นรายเดือน บางคนเรียกค่า “ความภักดี” ซึ่งไม่ผิดครับ ถ้าใครสักคนจะควักกระเป๋าให้อีกคนได้ สองคนนี้ต้องมีความสัมพันธ์ หรือเชื่อมั่นอะไรกันอยู่
จะเก็บค่าสิทธิมากเก็บน้อยแค่ไหน มีวิธีคิด หรือรูปแบบการเก็บอย่างไร มีความแตกต่างอยู่เหมือนกัน แล้วแต่แฟรนไชซอร์จะเลือกหยิบไปใช้ให้เหมาะกับธุรกิจตนเอง อาจเรียกเก็บจากยอดขายในแต่ละเดือน เป็นเปอร์เซ็นต์ 3% หรือ 5% ก็ได้
3.ค่าการตลาด (Marketing Fee)
เป็นค่าสิทธิ์อีกแบบที่แฟรนไชส์ซีต้องจ่ายต่อเนื่องเหมือนค่าสิทธิ์ (Royalty) การโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อให้ลูกค้าผู้บริโภครู้จักตราสินค้า (Brand) เป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจแฟรนไชส์ และสาเหตุที่แฟรนไชส์ซีสนใจเข้ามาซื้อแฟรนไชส์ ก็เป็นผลงานจากการสร้างแบรนด์
ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก ประโยชน์อย่างหนึ่งของการอยู่ในระบบแฟรนไชส์ก็คือ เรื่องการตลาด การโฆษณา ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องทำเอง เป็นหน้าที่ของเจ้าของแฟรนไชส์
ปัจจัยที่ใช้พิจารณา ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์
- การออกแบบโครงสร้างธุรกิจ
- การออกแบบองค์กรแฟรนไชส์ซอร์
- การกำหนดค่าแฟรนไชส์ฟี (Franchise Fee)
- ค่าสิทธิ์ (Royalty Fee)
- ค่ากองทุนการตลาด (Marketing Fee) และอื่นๆ ที่เหมาะสม
- สัดส่วนการขยายสาขาระหว่างสาขาของแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ในแต่ละปี
- ข้อจำกัดด้านการกระจายสาขาในพื้นที่นั้นๆ เป็นต้น
ปัจจัยที่กล่าวถึงข้างบนนี้ ถือเป็นหน้าที่ของแฟรนไชส์ซอร์ที่จะต้องทำ เพื่อให้ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จ มีโครงสร้างที่แข็งแกร่ง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ทำให้แฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถขยายสาขาได้ในบางที่ ที่ให้สิทธิ์แก่แฟรนไชส์ซีไปแล้ว จึงทำให้ต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แทน เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงระบบแฟรนไชส์ให้เติบโต
เห็นได้ว่า การกำหนดค่าแฟรนไชส์ ต้องมีหลักคิด และรอบคอบ พอที่จะสร้างให้ฐานด้านการเงิน ทั้งของบริษัทแม่ให้มีกำลังในการดูระบบทั้งหมด แฟรนไชส์ซีก็ควรมีกำลังพอที่จะจัดค่าธรรมเนียมไว้ได้ โดยมีกำไรคงเหลือ คุ้มค่ากับการลงทุน
ดูตัวอย่างการเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ของแบรนด์แฟรนไชส์แต่ละประเภท ที่ถูกจัดรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ดูง่าย เข้าใจง่าย ได้ที่ https://goo.gl/k7rre0
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2SSeTq6
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise