แฉ จริงมั๊ย? ลงทุนเงินสด ดีกว่า กู้เงิน

จริงและไม่จริง! ต้องดูสถานการณ์และดูเป็นกรณีๆ ไป สมัยนี้คุณลองดูคนรวยๆ คนมีบริษัทใหญ่ๆ โตๆ พวกเจ้าสัวทั้งหลาย เขากู้เงินในการทำธุรกิจกันหมด เพราะเอาเป็นเงินหมุน ต่อยอด สร้างโอกาส แล้วทยอยคืนทีหลัง ดีกว่าเอาเงินก้อนมาจ่ายทีเดียว

แต่อย่ากู้เกินเงินเก็บหรือเงินที่มีอยู่ในมือ ต่อจากนั้นใช้เงินที่มีอยู่ผสมกับเงินที่กู้มาในการลงทุน สมมติถ้ามีเงินเก็บ 1 ล้านบาท อาจจะกู้ 5 แสนบาท หรือ 1 ล้านบาทก็ได้ เจ้าของธุรกิจหลายคนไม่เอาเงินตัวเองลงทุน เขากู้ลงทุน แถมได้เครดิตจากธนาคารเพราะมีประวัติการชำระที่ดี แต่ต้องวางแผนส่งเงินตลอด หากกิจการไม่โอเค ก็ยังมีเงินตัวเองสำรอง

อย่างไรก็ตาม การกู้เงินมาทำธุรกิจต้องดูหลายปัจจัย หลายๆ ธุรกิจถึงมีเงินก็ยังกู้ ถ้าสามารถทำกำไรได้มากกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ ยิ่งขยายกิจการได้เป็นอย่างมาก เสริมสภาพคล่อง ถ้าใช้เงินตัวเองบางทีอาจหมุนไม่ทัน และกู้เงินมีเรื่องประโยชน์ของภาษีด้วย

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ลงทุนเงินสด กับ กู้เงิน ต่างกันอย่างไร

ลงทุนเงินสด

ลงทุนเงินสด

ข้อดี

  1. ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการชำระหนี้หรือดอกเบี้ย ทำให้การบริหารการเงินง่ายขึ้น
  2. ลดความเสี่ยงจากการต้องแบกรับภาระหนี้ในกรณีธุรกิจไม่ประสบผลสำเร็จ
  3. สามารถควบคุมการลงทุนและการใช้เงินได้ดีขึ้น
  4. สามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ตามความต้องการ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องหนี้
  5. หากลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง สามารถขายคืนได้ง่าย

ข้อเสีย

  1. พลาดโอกาสในการลงทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนสูงหากไม่ใช้เงินกู้
  2. ลงทุนด้วยเงินสดอาจได้ผลตอบแทนต่ำกว่าการกู้ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูง
  3. มีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดการลงทุนเมื่อใช้เงินสดเพียงอย่างเดียว
  4. กู้เงินสามารถเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนในกรณีที่ประสบความสำเร็จ

กู้เงินลงทุน

ลงทุนเงินสด

ข้อดี

  1. มีเงินทุนเพียงพอในการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจ
  2. ใช้เงินกู้ลงทุนในโครงการใหม่หรือสินทรัพย์ ที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนในอนาคต
  3. กู้เงินสามารถเพิ่มผลตอบแทนสูงจากการลงทุน หากธุรกิจทำกำไรได้มากกว่าดอกเบี้ย
  4. ชำระหนี้ตรงเวลา ช่วยสร้างเครดิตที่ดี สามารถเข้าถึงเงินกู้ในอนาคตได้ง่าย
  5. ใช้เงินกู้รลงทุนในหลายๆ โครงการ กระจายความเสี่ยงได้

ข้อเสีย

  1. ชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ย อาจสร้างภาวะความกดดันทางการเงินให้ตัวเอง
  2. เสี่ยงล้มละลาย หากธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ
  3. กู้เงินอาจมีข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เข้มงวด เช่น หลักประกัน และอื่นๆ
  4. กู้เงินอาจทำให้ใช้เวลามากในการบริหารจัดการเงินและชำระหนี้
  5. อัตราดอกเบี้ยอาจสูงขึ้นตามความเสี่ยงของธุรกิจ

สรุปก็คือ การเลือกลงทุนด้วยเงินสดหรือกู้เงิน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเป้าหมายของแต่ละคน เช่น

  • หากคุณไม่พร้อมรับความเสี่ยง ต้องการความมั่นคง การลงทุนด้วยเงินสดน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
  • หากคุณมีการลงทุนที่มีศักยภาพสูง มีโอกาสสำเร็จ การกู้เงินเป็นทางเลือก แต่ต้องมั่นใจว่าผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยะ
  • ถ้าคุณมีเงินสดเพียงพอ ไม่ต้องการกังวลเรื่องหนี้สิน การลงทุนด้วยเงินสดจะดีกว่า
  • ถ้าธุรกิจมีโอกาสที่ดีในตลาด และคุณคิดว่าทำสำเร็จได้ การกู้เงินจะไม่พลาดโอกาส

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช