เหลือเชื่อ 20 ปี! คาเฟ่ อเมซอน จาก 40 แก้ว สู่ยอดขายวันละ 1,000 แก้วต่อสาขา (ในกัมพูชา) ขยายแล้ว 4,002 สาขา ใน 10 ประเทศ ด้วยระบบแฟรนไชส์

เชื่อหรือไม่ว่าแบรนด์กาแฟสัญชาติไทย “คาเฟ่ อเมซอน” เปิดดำเนินกิจการมาจนถึงปี 2565 เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว โดยเปิดร้านสาขาแรกในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. เมื่อช่วงปี 2545 เริ่มแรกขายได้เพียง 40 แก้วต่อวัน จนกระทั่งวันนี้ขายได้ถึง 1,000 แก้วต่อวันต่อสาขาในประเทศกัมพูชา และมีจำนวนสาขารวมกว่า 4,002 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เรื่องราวความน่าสนใจของแฟรนไชส์กาแฟ “คาเฟ่ อเมซอน” เป็นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมาอัพเดทให้ทราบ

จุดเริ่มต้น “คาเฟ่ อเมซอน”

คาเฟ่ อเมซอน

หากย้อนกลับไปพบว่าแบรนด์ร้านกาแฟสดคาเฟ่ อเมซอน เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อช่วงปี 2545 โดยผู้บริหาร ปตท. เห็นถึงโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดของสถานีบริการน้ำมัน ปตท. จึงได้วางแนวคิดให้เป็นธุรกิจหนึ่งในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ที่สร้างรายได้ให้กับสถานีฯ และตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคและคนเดินทางได้มากขึ้น

ปัจจุบันคาเฟ่อเมซอนอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR นับตั้งแต่ช่วงแรก ปตท.ใช้เวลากว่า 10 ปี เปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้เป็น “คาเฟ่” เพื่อขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์มาตั้งแต่ปี 2555 จนปัจจุบันมีจำนวนสาขากว่า 4,002 แห่งทั้งในและต่างประเทศ ในปั๊มราว 2,453 แห่ง และในอีก 10 ประเทศ โดยเฉพาะในกัมพูชาขายกาแฟได้ถึงวันละ 1,000 แก้วต่อสาขา ส่วนในประเทศไทยเฉลี่ยสาขาละประมาณ 250-300 แก้วต่อวัน

ปี 2565 ก้าวสู่ปีที่ 20 ของคาเฟ่ อเมซอน จากจุดเริ่มต้นมียอดขายสาขาแรกวันละ 40 แก้ว ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่อยากให้ร้านกาแฟช่วยสร้างความสดชื่นกับนักเดินทาง จึงปักหมุดร้านกาแฟในปั๊มน้ำมัน โดยใช้หลักการใน 4 เรื่อง เพื่อสร้างความแตกต่าง คือ

  1. กรีนโอเอซีส สร้างความรู้สึกว่าเมื่อเข้ามาที่ปั๊มน้ำมันแล้วยังได้พักผ่อนด้วย
  2. รสชาติที่แตกต่าง
  3. สะดวกสบาย หาซื้อได้หลายแห่ง เริ่มต้นจากสถานีบริการ
  4. ราคาที่ทุกคนเข้าถึงได้ในคุณภาพที่ได้มาตรฐาน

8

โดยกว่า 90% ของจำนวนสาขาทั้งหมดอยู่ในไทย ขยายสาขาทั้งรูปแบบ COCO (Company Owned, Company Operated) และรูปแบบ DODO (Dealer Owned, Dealer Operated) การพัฒนาสาขาของ Café Amazon แบ่งเป็น 2 แกนหลัก คือ เดินหน้าเปิดสาขาทั้งในสถานีบริการน้ำมัน PTT Station และทำเลต่างๆ ครอบคลุมตั้งแต่ย่านที่พักอาศัย ย่านชุมชน ย่านอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานีรถไฟฟ้า ถนนสายหลัก และสายรอง

“คาเฟ่ อเมซอน” ถือเป็นผู้นำอันดับ 1 ของเชนร้านกาแฟในประเทศไทย และเป็นอันดับ 6 ของโลก ด้วยจำนวนสาขามากกว่า 4,002 สาขาทั้งในประเทศไทยและอีก 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา, ลาว, ฟิลิปปินส์, เมียนมาร์, โอมาน, สิงคโปร์, จีน, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย และเวียดนาม โดย OR ตั้งเป้าขยายสาขาในต่างประเทศให้ได้ถึง 1,000 สาขาภายในปี 2025

ร้านกาแฟ Concept Station แห่งแรก ปั๊ม ปตท.อยุธยา

แฟรนไชส์

ภาพจาก https://bit.ly/3BwX6fG

เมื่อช่วงกลางปี 2564 OR ได้เดินหน้าพัฒนาให้ พีทีที สเตชั่น ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางของชุมชน หรือ Living Community นอกจากจะมีสินค้าและบริการที่ครบครันแล้ว ยังมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับผู้คน เศรษฐกิจชุมชน และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์คนเดินทางในทุกรูปแบบ รวมถึงการสร้างทางเลือกและตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ โดยได้เปิดร้านกาแฟ Concept Station แห่งแรกในปั๊ม ปตท.อยุธยา งบลงทุนกว่า 20 ล้านบาท

และในปีนี้มีแผนจะเพิ่มร้านกาแฟ Concept Store อีก 2 สาขา แตกต่างจากอยุธยา คือ ที่ กม.62 ถนนวิภาวดีรังสิต และที่ อ.วังจันทร์ จ.ระยอง จะเป็นแนวจังเกิล โดยบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเอง ไม่ขายแฟรนไชส์ เพราะต้องใช้พื้นที่กว้างและเงินลงทุนสูง จากปกติลงทุนแฟรนไชส์ คาเฟ่ อเมซอน ทั่วไป 2 ล้านบาท แต่ร้าน Concept Store ลงทุน 20 ล้านบาท ระยะเวลาในการคืนทุนนานกว่า

สมมติหากแต่ละสาขาแฟรนไชส์ขายได้วันละ 250 แก้วขึ้นไปจะคืนทุนภายใน 2 ปี แต่ร้าน Concept Store แม้ว่าจะมียอดขายต่อวันมากกว่าประมาณ 1,000-1,400 แก้ว จะใช้เวลาในการคืนทุนนานกว่า โดยปัจจุบันธุรกิจร้านกาแฟอเมซอน ที่มี 4,002 สาขา เป็นการลงทุนและบริหารโดยบริษัท 20% และการลงทุนแบบแฟรนไชส์ 80%

เฟ้นหาแฟรนไชส์ซี “คุณภาพ” อนุมัติปีละ 500 สาขา

แฟรนไชส์

หลายคนถามเข้ามามากมายว่า ทำไมส่งใบสมัครแฟรนไชส์ซี “คาเฟ่ อเมซอน” ใช้เวลานานจัง ซึ่งผู้บริหารของ OR ได้เผยว่าการขายแฟรนไชส์ในประเทศนั้น OR จะอนุมัติปีละ 500 สาขา แต่มีผู้สนใจสมัครขอซื้อแฟรนไชส์เดือนละกว่า 500 ราย ดังนั้น OR จะพิจารณาอย่างรอบคอบโดยเฉพาะสถานที่ตั้งเพื่อให้คืนทุนภายใน 3 ปี

ต้องยอมรับว่ามีนักลงทุน และผู้สนใจเปิดร้านกาแฟสด “คาเฟ่ อเมซอน” เป็นจำนวนมาก เพราะแบรนด์ได้รับนิยมในตลาด มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงกว่าแบรนด์กาแฟอื่นๆ จากข้อมูลพบว่ามีผู้สมัครซื้อแฟรนไชส์มากกว่า 400 ใบสมัครต่อเดือน ทำให้บริษัทฯ ต้องใช้เวลาพิจารณาผู้สมัครแฟรนไชส์ซียาวนาน หรือบางรายก็ไม่ผ่านคุณสมบัติในการพิจารณา

เปิดร้านกาแฟ “คา เฟ่ อเมซอน” ใช้เงินเท่าไหร่

4

สำหรับรูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ร้านกาแฟสด Café Amazon แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ในตัวอาคาร (Shop) และนอกตัวอาคาร (Stand Alone) โดยพื้นที่จะต้องอยู่นอกสถานีบริการน้ำมันเท่านั้น

โดยในอาคาร (เช่น อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ) 30 ตร.ม ขึ้นไป และพื้นที่ขอเปิดร้านต้องอยู่ในบริเวณที่มีคนผ่านไปมาไม่น้อยกว่า 3,000 คนต่อวัน ส่วนนอกอาคาร (พื้นที่เปล่า) 100-200 ตร.ม ขึ้นไป

6

โดยเงินลงทุนที่ใช้ในการเปิดร้านคาเฟ่อเมซอนทั้ง 2 รูปแบบ ในอาคารที่มีขนาด (ร้าน) 40 ตารางเมตรขึ้นไป มีการคำนวณค่าใช้จ่ายออกมา จะต้องใช้เงินระหว่าง 2,389,000 – 3,729,000 บาท ส่วนหากเป็นนอกอาคาร ค่าใช้จ่ายจะอยู่ระหว่าง 2,689,000 – 4,229,000 บาท เงินที่ต้องจ่ายของทั้ง 2 รูปแบบนี้ ประกอบด้วย ค่าก่อสร้าง งานตกแต่ง งานระบบ ค่าออกแบบ อุปกรณ์ภายในร้าน และยังมีค่าประกันแบรนด์ ค่า Franchise Fee หลังการเปิดร้านแล้ว

ยังมีค่าใช้จ่ายทางด้าน ค่า Royalty Fee + ค่า Marketing Fee 3% + 3% ของยอดขายต่อเดือน ค่าเช่าเครื่อง Point of Sale (Pos) 24,000 บาทต่อปี มีอายุสัญญา 6 ปี Renovate ร้านทุก 3 ปี

ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเปิดร้าน “คาเฟ่ อเมซอน” (Shop)

1

  • ต้นทุนโดยรวมประมาณ 2.3-3.7 ล้านบาท / Shop และ 2.6 – 4.2 ล้านบาท / Stand Alone
  • พื้นที่ 30 ตร.ม.
  • ค่าเช่า 2,000-3,000 บาท / ตร.ม.
  • พนักงาน 4-6 คน (ประจำร้าน)
  • สินค้า 45-50 เมนู
  • เมล็ดกาแฟ อาราบิก้า, โรบัสต้า
  • ยอดจำหน่าย 250-300 แก้ว / วัน / สาขา
  • รายได้ 450,000 บาท / เดือน

3

สำหรับนักลงทุนที่สนใจเปิดร้านแฟรนไชส์ Cafe Amazon สามารถนำเสนอพื้นที่และสมัครได้ที่ https://www.cafe-amazon.com/franchise.aspx

โทร 02-196-6444


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3blel8Z , https://bit.ly/3vuaPjE , https://bit.ly/3Se2k5L

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3OSx4Gs

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช