เศรษฐกิจแบบนี้ เปิดแฟรนไชส์ไหนดีที่สุด

ภาพรวมของคนไทยในปี 2567 ยังอยู่กับภาระ “หนี้” ที่เพิ่มขึ้น คำนวณว่าสัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยเมื่อถึงสิ้นปี 2567 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแตะระดับ 91.4% ต่อ GDP หรือราว 16.9 ล้านล้านบาท

ตัวเลขหนี้ที่ว่านี้เป็นการก่อหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคอย่างสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต เรียกว่าเป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้ (NPL) ซึ่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียงอย่างมาเลเซียและจีนที่ 14% และ 13% ตามลำดับ

และถ้าไปดูข้อมูลจากบรรดาสถาบันการเงินต่างๆ ที่ออกมาวิเคราะห์ถึงภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในปี 2567 ส่วนใหญ่จะปรับลดอัตราการเติบโตจากที่คาดหมายไว้ตอนแรก โดยให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญปัญหาโครงสร้างที่ฉุดการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว  

เปิดแฟรนไชส์ไหนดีที่สุด

ภาพจาก สเต็กเด็กแนว

ซึ่งถ้ามองจากสายตาของประชาชนทั่วไปที่ไม่ต้องเอาตัวเลขเศรษฐกิจมาวิเคราะห์ให้วุ่นวาย ทุกวันนี้รายได้กับรายจ่ายก็สวนทางกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งค่าน้ำค่าไฟ ค่าน้ำมัน ค่าครองชีพจิปาถะทุกอย่างปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าแรงยังเท่าเดิม ไม่ต้องพูดถึงเงินเก็บเงินออม แค่ลำพังจะใช้แบบเดือนชนเดือนก็ยังทำไม่ได้ด้วยซ้ำ

และเมื่อคนไม่มีกำลังจะซื้อ การเลือกลงทุนหรือทำธุรกิจใดๆ ในยุคนี้ก็ต้องคิดหน้าคิดหลังให้รอบคอบ แต่ในความหวังที่ริบหรี่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสใดๆให้ไขว่คว้าได้เลย วิธีการลงทุนในยุคนี้ต้องเลือกให้ถูกจุด ลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง ซึ่งการลงทุนในระบบแฟรนไชส์คือทางลัดที่ดีที่สุด เหตุผลคือ

  1. เราไม่ต้องสร้างแบรนด์เอง มีฐานลูกค้าให้พร้อม
  2. ทุกแฟรนไชส์มีประสบการณ์มีทีมงานพร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ลงทุนอย่างดี
  3. ไม่ต้องคิดสูตรเมนูทั้งอาหารและเครื่องดื่ม ทุกอย่างมีให้พร้อมเปิดร้านได้
  4. การส่งเสริมด้านการตลาดให้เป็นอย่างดี
  5. มีอุปกรณ์+วัตถุดิบให้พร้อมเปิดร้าน พร้อมการวางระบบบริหารในร้าน

เปิดแฟรนไชส์ไหนดีที่สุด

ภาพจาก ธงไชยผัดไทย

ก็มาถึงคำถามว่าถ้างั้นควรเลือกลงทุนกับแฟรนไชส์ไหนที่จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ก่อนอื่นเราต้องมาโฟกัสก่อนว่า “งบลงทุน” เรามีแค่ไหน ถ้าอยากเริ่มต้นแบบง่ายๆแต่สร้างรายได้ดี ก็แนะนำว่าเลือกแฟรนไชส์อาหาร – เครื่องดื่ม ที่ใช้เงินลงทุนไม่สูง มีหลายแบรนด์ที่น่าสนใจ

เช่น ฮิปสเตอร์ สเต็ก , สเต็กเด็กแนว , นาเนีย สเต็ก , ธงไชย ผัดไทย , ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิด , อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช , ซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด , ฟินิกซ์ชา , โมโม่เชค , มารุชา เป็นต้น ซึ่งข้อดีของแฟรนไชส์เหล่านี้คือเปิดร้านได้ทันที ขอแค่ขยันและตั้งใจทำจริง เป็นธุรกิจที่คืนทุนไว กำไรเร็ว ยิ่งมีทำเลที่ดีอย่างตลาดนัด ย่านชุมชน ไม่ว่าจะทำเป็นอาชีพหลัก อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ก็ล้วนแต่น่าสนใจ และเป็นสินค้าที่คนต้องการต่อเนื่อง แม้จะมีคู่แข่งมาก แต่ก็สร้างรายได้ดีแน่  

เปิดแฟรนไชส์ไหนดีที่สุด

ภาพจาก โจ๊กสยาม

อย่างไรก็ดีถ้ามีเงินทุนมากขึ้นอาจมองการลงทุนที่พร้อมสร้างรายได้ในระยะยาว ก็มีอีกหลายแฟรนไชส์ที่ใช้งบลงทุนเพิ่มขึ้นแต่ก็จะแลกมากับระบบบริหารจัดการในร้าน ที่บางครั้งเราไม่ต้องมาดูแลร้านเอง สามารถจ้างพนักงานมาช่วยขาย เป็น Passive Income ที่เหมาะสมกับยุคนี้ เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือปัญจะรส , โจ๊กสยาม , ชิคชอน ไก่กรอบเกาหลี , กอลจักต๊อกป๊กกีชิกเก้น , ซอห์นฟู้ด , ข้าวมันไก่ไห่หนาน , กระทะเหล็ก , ดาบ็อกฮยาง , อาจุมม่า คาเฟ่ , เดอะ แบล็ค ดราก้อน , อากิโกะที , มาโนอิ , ฮ็อป ชาเฟ่ , โอชายะ เป็นต้น  

ภาพจาก ทเวนตี้โฟร์ วอช ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมง

และอีกกลุ่มแฟรนไชส์ที่ดูน่าสนใจเป็นแฟรนไชส์ในกลุ่มบริการที่เน้นตอบโจทย์สังคมยุคใหม่ได้อย่างดี เน้นความสะดวกของลูกค้า สร้างรายได้ดีแน่ ข้อดีคือเป็นแฟรนไชส์จัดเต็มระบบบริหารจัดการในร้าน ทีมงานดูแลเป็นอย่างดี

มีหลายแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ เช่น คาร์ชายน์ ออโต้ วอช แว๊กซ์ , ทเวนตี้โฟร์ วอช ร้านสะดวกซัก 24 ชั่วโมง , มูฟ อีวี เอกซ์ , นำโชคลอตเตอรี่ , แคท คาร์วอช , จี เพาเวอร์, พรีเมี่ยมคาร์แคร์ , บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม เป็นต้น

การจะเลือกว่า เปิดแฟรนไชส์ไหนดีที่สุด สำหรับเศรษฐกิจยุคนี้ จึงต้องโฟกัสที่ตัวเองก่อนเป็นอันดับแรกว่าเราเหมาะสมหรือมีเงินลงทุนได้มากแค่ไหน แต่ทุกแฟรนไชส์ไม่ว่าจะเริ่มจากงบลงทุนน้อย หรืองบลงทุนมาก ก็ล้วนมีโอกาสประสบความสำเร็จในตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ การเอาใจใส่ของผู้ลงทุนเป็นสำคัญ ยิ่งมีการตลาดที่ดี มีไอเดียการขายที่ดี ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้นด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด