เลือกเอา! จะเป็นแฟรนไชส์ “นิติบุคคล” หรือ “บุคคลธรรมดา”

ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาลให้กับประเทศไทย มีส่วนช่วยให้ธุรกิจ SMEs ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถลดข้อจำกัด สร้างความได้เปรียบในด้านแหล่งเงินทุน รวมถึงการสร้างผู้ประกอบธุรกิจรายใหม่ ให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ระบุว่า ปัจจุบันไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์ 1,807 ราย เป็นนิติบุคคล 1,517 ราย และเป็นบุคคลธรรมดา 290 ราย ส่วนใหญ่เป็นประเภทค้าปลีก รองลงมาเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม บริการ การศึกษา และความงามและสปา

โดยที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพธุรกิจ ให้มีความเข้มแข็งสามารถแข่งขันได้ โดยมีจุดมุ่งหมายต้องการให้ผู้ประกอบธุรกิจ มีความรู้ ความเข้าใจ ในกระบวนการบริหารจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน และนำไปสู่การสร้างรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีความมั่นคง

436

พร้อมแข่งขันในระดับสากล นอกจากนั้นยังได้ให้การส่งเสริมพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ โดยการสร้างและขยายเครือข่ายธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ให้สามารถขยายตลาดสู่สากล

จึงไม่แปลกที่ในวันนี้ เราจะได้เห็นธุรกิจแฟรนไชส์เกิดขึ้นมาใหม่ ไม่เว้นแต่ละวัน ทั้งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัท-ห้างหุ้นส่วนจำกัด) และเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่ว่าจะทำแฟรนไชส์ในรูปแบบไหน ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ และสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพให้กับประชาชนที่อยากมีรายได้เหมือนกัน

แต่รู้หรือไม่ว่า การทำธุรกิจแฟรนไชส์ในรูปแบบ “นิติบุคคล” กับ “บุคคลธรรมดา” มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกัน แล้วแต่ว่าเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์แต่ละประเภท จะเลือกสร้างระบบแฟรนไชส์ของตัวเองแบบไหน เพราะบางแฟรนไชส์อาจจะเหมาะสำหรับทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล ขณะที่หลายๆ แฟรนไชส์อาจเหมาะสำหรับทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา

สำหรับใครที่กำลังอยากทำธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องไม่พลาด! วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อดี-ข้อเสียของการทำธุรกิจแฟรนไชส์แบบ “นิติบุคคล” และ “บุคคลธรรมดา” ซึ่งคุณต้องเลือกเอาว่า แบบไหนเหมาะกับรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ เพราะอย่างที่บอก หลายๆ แฟรนไชส์เหมาะกับการทำธุรกิจรูปแบบบุคคลธรรมดา

การเป็นนิติบุคคล

437

  1. จำนวนหุ้นส่วน : เป็นการเข้าร่วมกันประกอบธุรกิจ อย่างน้อย 2 คนสำหรับห้างหุ้นส่วนจำกัด และต้องมีผู้เข้าหุ้นอย่างน้อย 7 คนสำหรับบริษัทจำกัด
  2. การระดมเงินทุน : มีการระดมเงินทุนจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น ทำให้สามารถมีเงินทุนหมุนเวียนในกิจการได้สูง
  3. การระดมความคิด : มีการระดมความคิดมันสมองเข้ามาใช้ในการดำเนินกิจการ ทำให้เกิดความหลากหลายในความคิดและมุมมอง แต่ขณะเดียวกันก็เป็นต้นเหตุของความล่าช้าและขัดแย้งทางความคิด
  4. การตัดสินใจในการบริหารงาน : มีคณะกรรมการบริหาร หากต้องมีการตัดสินใจที่สำคัญๆ ต้องขอมติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
  5. การแบ่งจ่ายผลกำไรขาดทุน : แบ่งตามสัดส่วนการเป็นหุ้นส่วน สำหรับห้างหุ้นส่วนฯ และแบ่งจ่ายโดยการจ่ายเงินปันผล ตามจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคนว่าถืออยู่กี่หุ้น สำหรับบริษัทฯ
  6. การเสียภาษี : เป็นการเสียภาษีจากยอดกำไรของของกิจการ หากในการดำเนินการมีกำไร ก็จะต้องเสียภาษี แต่หากขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี โดยหลักการคือการนำเอารายได้ หักค่าใช้จ่าย ที่เหลือคือกำไรที่ต้องนำมาเสียภาษี
  7. อัตราภาษี : เป็นแบบอัตราก้าวหน้า กำไร 1 ล้านบาทแรก เสียภาษี 15 % กำไรล้านที่ 2 ถึง 3 ล้านบาท เสียภาษี 25 % กำไรตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป เสียภาษี 30 %
  8. การบันทึกบัญชี : ต้องจัดให้มีการทำบัญชีและการสอบบัญชีโดยผู้ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ (มีค่าใช้จ่ายในการทำบัญชีและการสอบบัญชี)
  9. ความรับผิดของกิจการ : หากเป็นบริษัทผู้ถือหุ้นจะรับผิดชอบเท่าที่หุ้นที่ถืออยู่ หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หุ้นส่วนจะรับผิดชอบเท่าทีลงเงินไป (ดูรายละเอียดในเรื่องบริษัทและห้างฯ เพิ่มเติม)
  10. ความน่าเชื่อถือ : จะได้รับความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจจากบุคคลภายนอกมากกว่า ดูเป็นทางการมากกว่า

การเป็นบุคคลธรรมดา

438

  1. จำนวนหุ้นส่วน : เป็นการดำเนินการโดยบุคคลคนเดียว
  2. การระดมเงินทุน : มีเงินทุนเพียงเท่าที่ตนเองลงไป
  3. การระดมความคิด : คิดเอง ทำเอง ตัดสินใจได้รวดเร็ว ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์โดยแทบจะทันทีทันใด
  4. การตัดสินใจในการบริหารงาน : ตัดสินใจด้วยตนเอง ไม่ว่าจะงานเล็ก หรือประเด็นใหญ่
  5. การแบ่งจ่ายผลกำไรขาดทุน : รับผลกำไรขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว
  6. การเสียภาษี : เป็นการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย โดยการนำรายได้ของปีนั้นๆมาหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายตามแต่ลักษณะธุรกิจ เมื่อหักแล้วเหลือเท่าไรค่อยนำเอามาคำนวณ เพื่อเสียภาษีแม้ในปีนั้นขาดทุน ก็ต้องเสียภาษี
  7. อัตราภาษี : เป็นแบบอัตราก้าวหน้า เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสนบาทแรก ยกเว้นภาษี เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 แสน ถึง 5 แสนบาท เสียภาษี 10% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 5 แสน ถึง 1ล้านบาท เสียภาษี 20% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 1 ล้าน ถึง 4 ล้านบาทเสียภาษี 30% เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย 4 ล้านบาทขึ้นไปเสียภาษี 37%
  8. การบันทึกบัญชี : หากเป็นการคิดค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่าย ไม่ต้องมีการจัดทำบัญชี แต่หากเป็นการคิดค่าใช้จ่ายตามจริงก็ต้องจัดให้มีการทำบัญชี
  9. ความรับผิดของกิจการ : ผู้เป็นเจ้าของกิจการต้องรับผิดชอบไม่จำกัดวงเงิน
  10. ความน่าเชื่อถือ : อาจจะมองดูว่าไม่มีความมั่นคง ไม่ใช่มืออาชีพเป็นการฉาบฉวย กลัวในเรื่องความรับผิดชอบ

439

ได้เห็นความแตกต่างของการทำธุรกิจในรูปแบบ “นิติบุคคล” และ “บุคคลธรรมดา” กันไปแล้ว ใครที่กำลังอยากทำธุรกิจแฟรนไชส์ หรือมีกิจการเล็กๆ อยู่แล้ว แต่อยากขายแฟรนไชส์ให้คนอื่น ก็ต้องเลือกดูว่าธุรกิจหรือกิจการที่ทำอยู่นั้น เหมาะสำหรับการจดทะเบียนเป็นบริษัทหรือบุคคลธรรมดา ที่สำคัญต้องดูความพร้อมและความสามารถของตัวเองด้วย


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ http://www.thaifranchisecenter.com/home.php
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดีทำธุรกิจ http://www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

ธุรกิจแฟรนไชส์แบบ “นิติบุคคล” และ “บุคคลธรรมดา” มีข้อดี –ข้อเสียแตกต่างกัน เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องพิจารณาและเลือกเอาว่า แบบไหนเหมาะกับรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเอง เพราะหลายๆ แฟรนไชส์เหมาะกับการดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา บางแฟรนไชส์ก็เหมาะกับการเป็นนิติบุคคล

แหล่งข้อมูล

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช