เลี้ยงปลาดุกในโอ่ง รายได้ครึ่งแสน
ปลาดุกถือว่าเป็นปลาเนื้ออร่อยคนไทยนิยมรับประทานกันมาก การเลี้ยงปลาดุก สามารถทำได้ทั้งการเลี้ยงในบ่อดิน บ่อซีเมนต์หรือแม้กระทั่งเลี้ยงในโอ่ง
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรแต่ละคนว่าจะมีพื้นที่สำหรับการเพาะเลี้ยงแค่ไหน หากลงทุนทำบ่อดินต้นทุนก็สูงแต่การจำหน่ายแต่ละครั้งก็มีปริมาณมาก หากเป็นการเลี้ยงในบ่อซีเมนต์หรือโอ่งซีเมนต์ โอกาสในการขายปริมาณก็ลดน้อยลง แต่ต้นทุนที่ใช้ก็ลดน้อยลงเช่นกัน
และวิธีที่ www.ThaiSMEsenter.com นำมาเสนอในครั้งนี้คือการเลี้ยงปลาดุกในโอ่งสำหรับเป็นแนวทางให้คนสนใจที่ทุนน้อยแต่อยากลองเลี้ยงปลาดุกได้ดูไว้เป็นแนวทางซึ่งหากศึกษาเพิ่มเติมหรือได้พูดคุยกับเกษตรกรที่เขาเรียกด้วยวิธีนี้โดยตรงก็จะช่วยให้เข้าใจและเห็นภาพการเลี้ยงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
วิธีการการเลี้ยงปลาดุกในโอ่ง
ภาพจาก https://bit.ly/2UXDzfh
- ใช้โอ่งซีเมนต์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 50 ซม. ทำการต่อท่อข้างล่างโอ่งเพื่อระบายน้ำ
- ล้างโอ่งซีเมนต์ให้สะอาด เพื่อไม่ให้ลูกปลาดุกตาย โดยทำการปล่อยน้ำใส่โอ่ง แล้วน้ำหยวกกล้วยลงไปแช่ประมาณ 7 วัน ล้างให้สะอาด
- ปล่อยน้ำใส่โอ่งซีเมนต์ โดยให้มีความสูงประมาณ 20 ซม. เพื่อให้ลูกปลาดุกหายใจสะดวก
- ทำการปล่อยปลาดุก 1 โอ่ง ประมาณ 80-100 ตัว โดยการปล่อยจะนำน้ำจากโอ่งมาใส่ภาชนะที่เตรียมลูกปลาดุกเพื่อให้ปรับสภาพก่อน ใส่ผักตบชวาเข้าไปด้วย เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารของลูกปลาดุก
- ในช่วงอนุบาลควรให้อาหารสำเร็จอย่างเต็มที่ เช้า-เย็น เลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ให้ทำการลดอาหารสำเร็จ ใส่ผักตบลงไป และเพิ่มปริมาณน้ำเข้าไปด้วยโดยค่อยๆ ปรับระดับน้ำให้สูงขึ้น และตกเย็นให้อาหารสำเร็จรูปเมื่อปลาอายุได้ 3-4 เดือนจะมีขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม
- ในช่วงการเลี้ยงจะมีการใส่น้ำหมักชีวภาพในช่วงเปลี่ยนน้ำ หรือตามความเหมาะสมเพื่อปรับคุณภาพน้ำ โดยน้ำหมักที่ได้จะผลิตขึ้นมาเอง โดยจะใช้กล้วยน้ำว้า ฟักทอง มะละกอ อย่างละ 3 กิโลกรัม นำมาสับ และผสมกับกากน้ำตาลอีก 3 กิโลกรัม คนให้เข้ากันเก็บไว้ในภาชนะปิด ผ่านไป 7 วัน ก็ผสมน้ำในอัตราส่วน 9 ลิตรเทลงไป ตั้งทิ้งไว้ 15 วันก็สามารถนำไปใช้ตามต้องการ
วิธีการเลี้ยงปลาดุกในโอ่งด้วยน้ำหมักชีวภาพ
- เมื่อนำน้ำใส่โอ่งแล้วให้ใส่น้ำหมักชีวภาพลงไปตามความเหมาะสม เพื่อให้จุลินทรีย์ปรับสภาพน้ำ จากนั้นปล่อยปลาลงไป สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของปลา และน้ำ
- หากไม่พบสิ่งปกติก็ให้ใส่น้ำหมักปริมาณเล็กน้อยในรอบ 10 วัน หากน้ำผิดปกติให้ใส่น้ำหมักปริมาณมากกว่าเดิมและเพิ่มความถี่ขึ้น
ขั้นตอนการปล่อยพันธุ์ปลา
นำลูกปลาดุกใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ ค่อยๆนำน้ำในโอ่งเติมไปทีละน้อย เพื่อปรับอุณหภูมิค่อยๆปล่อยลูกปลาดุกลงในโอ่งซีเมนต์โดยในช่วงอนุบาลลูกปลาดุกจะให้อาหารสำเร็จรูปแบบเม็ด กินอย่างเต็มที่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 15-20 วัน ก็นำผักตบชวามาใส่ลงไปในท่อปูนซีเมนต์ประมาณ 5 กอต่อ 5 วัน พร้อมกับปรับระดับน้ำให้สูงขึ้นด้วยและค่อย ๆ ลดอาหารสำเร็จรูปโดยเมื่อปลาหิวจัดมันจะกินผักตบชวา
แม้ว่าผักตบชวาจะไม่มีค่าโปรตีนเลยแต่สามารถลดความหิวของปลาได้ ตกเย็นจึงเสริมด้วยอาหารสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มโปรตีนให้ปลาในจุดนี้แม้ว่าปลาจะได้อาหารที่มีโปรตีนต่ำ
แต่เมื่อปลาอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวและการใช้พลังงานก็น้อยและในการเลี้ยงปลาแบบนี้จะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน จะได้ปลาขนาด 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม
และในระหว่างการเลี้ยงจะมีการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อช่วยในการปรับคุณภาพน้ำได้อีกด้วย โดยจะใส่ทุกครั้งหลังจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำหรือตามความเหมาะสม น้ำหมักชีวภาพที่นำมาใช้จะผลิตขึ้นมาเอง
ราคาในการจำหน่าย
ภาพจาก https://bit.ly/2yC94ST
ราคาจำหน่ายปลาดุกบิ๊กอุย แบ่งออกไปตามขนาดไซซ์ โดยไซซ์จัมโบ้ ราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 22 บาท ไซซ์ขนาดสำหรับย่างเค็ม อยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท และไซซ์ขนาดที่ลดลงไปกว่า 2 ไซซ์ข้างต้น จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาท ทั้งนี้ราคาส่วนใหญ่จะผันแปรไปตามแต่ละพื้นที่ซึ่งไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องเท่าไหร่
แต่สำหรับคนที่เลี้ยงปลาดุกในโอ่ง อาจใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือนได้ปลาดุกน้ำหนัก 3-4 กิโลกรัม ใน 1 โอ่งมีปลาดุก 80-100 ตัว หากไม่เกิดโรค ไม่มีปัญหาระหว่างเลี้ยง จะจับขายสร้างรายได้ประมาณไม่ต่ำกว่า 30,000 บาทหรืออาจมากกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณในการเลี้ยงของเราเป็นสำคัญด้วย
และปลาดุกถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่ตลาดมีความต้องการต่อเนื่องไม่ต้องกลัวตลาดตัน ยิ่งอยู่ใกล้แหล่งร้านอาหาร หรือตลาดสดก็ยิ่งมีแหล่งกระจายสินค้าได้มากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ bit.ly/2Jf8ph8
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RM1mQ8