เลิกจ้างแล้วไง ไปซื้อแฟรนไชส์มาเปิดดีกว่า
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เห็นหลายคนถูกเลิกจ้าง ตกงาน แล้วนำเงินเก็บและเงินสวัสดิการจากบริษัท ไปซื้อแฟรนไชส์มาเปิดดีกว่า เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพต่อไป แทนที่จะสร้างธุรกิจขึ้นมาเอง พวกเขาเหล่านี้คิดยังไง ทำไมถึงเลือกซื้อแฟรนไชส์มาเปิด มาดูกัน
1.ได้แบรนด์ติดตลาด มีชื่อเสียงคนรู้จัก
เหตุผลคนส่วนใหญ่ซื้อแฟรนไชส์ เพราะได้แบรนด์ติดตลาด มีชื่อเสียงคนรู้จักในวงกว้าง สมมติถ้ามีเงิน 3-4 ล้านบาท ก็เชื่อว่าหลายๆ คน อยากซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven หรือ คาเฟ่ อเมซอน เพราะเป็นแบรนด์ใหญ่ ติดตลาด คนรู้จัก มีฐานลูกค้ารองรับทั้งประเทศ อีกทั้งเป็นแบรนด์ที่มีระบบหลังบ้าน-หน้าบ้านครบสูตร แข็งแกร่ง
2.ได้สูตรความสำเร็จ ไม่ต้องคิดสูตรเอง
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่ต้องเสียเวลาในการคิดสูตรเอง หาความรู้เรื่องแฟรนไชส์ให้พอเข้าใจก็พอ ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วเจ้าของแฟรนไชส์จะสอนสูตร สอนวิธีการผลิต สอนวิธีการทำงาน ทั้งการขาย การบริการลูกค้าให้ทั้งหมด ยิ่งแบรนด์ใหญ่ๆ ก็จะมีระบบการจัดการในร้าน POS ให้ด้วย ทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์บริหารจัดการร้านได้ง่าย
3.สินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับในตลาด
กว่าแบรนด์แฟรนไชส์ส่วนใหญ่จะขายแฟรนไชส์และประสบความสำเร็จได้นั้น สินค้าและบริการจะต้องเป็นที่ยอมรับในตลาดอยู่แล้ว เช่น ถ้าพูดถึง 7-Eleven ที่มีการขยายสาขาได้มากถึง 14,545 แห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นร้านแฟรนไชส์ ก็เพราะสินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับ คนไปจ่ายบิลค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และอื่นๆ ก็ใน 7-Eleven
4.เริ่มต้นธุรกิจเร็ว ลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจ
กว่าคุณจะสร้างธุรกิจขึ้นมาเองจนทำให้แบรนด์ติดตลาดได้นั้น ต้องใช้เวลานาน ผ่านการลองผิดลองถูก ไม่รู้ว่าจะใช้เงินลงทุนมากแค่ไหน บางครั้งลงทุนไปแล้วก็จมไปกับธุรกิจ ทำให้มีความเสี่ยงเจ๊งสูง ดังนั้น การซื้อแฟรนไชส์เราสามารถเลือกแบรน์ดีๆ สินค้าขายดีๆ ได้ สามารถเปิดร้านขายได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาไปสร้างแบรนด์อีก
5.ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของแฟรนไชส์
เราสามารถเลือกซื้อแฟรนไชส์ได้ 2 แบบ คือ Product Franchise ขายวัตถุดิบบางส่วนให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปผลิตภายใต้แบรนด์เดียวกัน และ Business Format Franchise ขายระบบความสำเร็จ ระบบปฏิบัติงาน รวมถึง Know-how โดยเฉพาะการซื้อแฟรนไชส์อย่างหลังจะได้รับการช่วยเหลือ คำปรึกษา ให้การสนับสนุนทุกๆ อย่างที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จจากเจ้าของแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา เหมือนเป็นพี่เลี้ยง ช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์บริหารงานง่ายขึ้น
6.ได้แฟรนไชส์ตามเงินที่มี งบไม่บานปลาย
ธุรกิจแฟรนไชส์จะบอกค่าแฟรนไชส์แรกเข้า งบการลงทุนก่อสร้างและตกแต่งร้าน เงินประกัน เงินทุนหมุนเวียน ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้พิจารณาว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ถ้าดูแล้วงบลงทุนทั้งหมดบวกกันเกินเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า เชื่อว่าหลายๆ คนคงไม่ซื้อเหมือนกัน แต่สามารถไปดูแบรนด์อื่นๆ ที่งบลงทุนเท่ากับเงินของตัวเองที่มีได้ งบจะไม่บานปลายเหมือนกับการสร้างธุรกิจขึ้นมาเอง ที่ไม่รู้ว่าจะไปจบอยู่ที่เท่าไหร่ มีค่านู่น ค่านี่ จิปาถะ ถ้าวางแผนไม่ดีก็มีสิทธิ์จมอยู่ตรงนั้น
นั่นคือ 6 เหตุผลทำไมคนตกงาน ส่วนใหญ่ต้อง ไปซื้อแฟรนไชส์มาเปิดดีกว่า เพราะได้แบรนด์ที่มีชื่อเสียง ตลอดจนระบบหลังบ้าน-หน้าบ้านที่แข็งแกร่ง มีทีมงานสนับสนุนตลอดอายุสัญญา ช่วยให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ทำงานได้ง่ายขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)