เรียนรู้จากข้อผิดพลาด แฟรนไชส์ ชาบู ชาบู นางใน
ย้อนกลับไปเมื่อช่วงเดือนกันยายน 2563 ได้เกิดดราม่าร้านแฟรนไชส์ “ชาบู ชาบูนางใน สาขาพระรามเก้า 43” ที่ปรับขึ้นราคาลูกค้าคนหนึ่ง 200 บาท อ้างว่ามาทานบ่อยและทานเพียงเนื้อและกุ้ง จนสร้างความไม่พอใจให้เจ้าของร้านและขอปรับขึ้นราคาเป็น 549 บาท จากราคาปกติ 349 บาท โดยเจ้าของร้านอ้างว่ากินเยอะเกินไปจนไม่ได้กำไร
หลังจากออกจากร้านทางลูกค้าคนดังกล่าวได้โพสต์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกโซเชียล ทางร้านได้ทักกลับไปหาว่าหากยังโพสต์ให้ร้านเสียหายขอใช้กฎหมายตัดสิน ทำให้ชาวเน็ตไม่พอใจพากันตำหนิเจ้าของร้าน
ภายหลังเจ้าของร้านออกมาชี้แจงว่า มีนโยบายขอปรับราคาสำหรับลูกค้าที่ทานแต่เฉพาะเนื้ออย่างเดียว หรือรวมกุ้งล้วนอย่างเดียว เป็นราคา 549 บาท จากเดิมราคา 349 บาท หรือคิดเพิ่ม 200 บาท ซึ่งแล้วแต่ทางลูกค้าจะพิจารณาว่าครั้งต่อไปจะมาทานหรือไม่
ภาพจาก https://bit.ly/3jBK4Un
หลังเกิดกระแสดราม่าดังกล่าว ทำให้สาขาอื่นๆ โพสต์ชี้แจงถึงราคา และการทานบุฟเฟต์ไม่อั้นตามปกติ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ หลังเกิดกระแสโจมตี ชาบู ชาบูนางใน สาขาพระรามเก้า 43” อย่างหนัก อาทิ สาขายูเนี่ยนมอล์ สาขาสุขาภิบาล 3 สาขาเมเจอร์-ปิ่นเกล้า สาขาประชาอุทิศ-เหม่งจ๋าย เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีร้านชาบู ชาบู นางใน สาขารามอินทรา ซอย 5 ระบุว่า “ขอเรียนชี้แจงลูกค้าทุกท่านว่า ทางร้านไม่มีนโยบายปรับราคาขึ้น สำหรับลูกค้าที่ทานเป็นจำนวนมากไม่ว่ากรณีใดก็ตาม ลูกค้าสามารถทานได้อย่างเต็มที่ไม่ว่าจะเป็นเมนูใด ตามแต่ทุกท่านต้องการ โดยไม่จำกัดเวลา ตามนโยบายของ ชาบู ชาบู นางใน แต่ดั้งเดิมเสมอมา ขอให้ทุกท่านไว้วางใจ ว่าสาขาของเราจะให้บริการอย่างเต็มที่
โดยยึดความพึงพอใจของลูกค้าเป็นอันดับหนึ่ง ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่อุดหนุนร้านชาบู ชาบู นางใน สาขา รามอินทรา ซอย 5 มาโดยตลอด สำหรับทางร้าน ลูกค้าทานได้เต็มที่เลยค่ะ ทั้งเนื้อ ทั้งหมู ทั้งกุ้ง เตรียมไว้เต็มที่ ไม่อิ่มไม่จุก ไม่ให้กลับ”
ภาพจาก https://bit.ly/2ZytduO
ส่วน ร้านชาบู ชาบู นางใน กัลปพฤกษ์ โพสต์ข้อความว่า แอดมินจะมาขอเล่าความลับที่ไม่เคยมีใครรู้ให้ฟัง เพื่อปกป้องผู้มีพระคุณของร้านชาบู นางใน อย่างที่หลายๆ ท่านได้เห็นข่าวในวันนี้ ย้อนไปเมื่อประมาณ 10 กว่าปีที่แล้ว ที่ร้านชาบู นางในยังไม่มีแฟรนไชส์ ร้านต้นตำรับอยู่ถนนพระราม 9 ซอย 41 หลังห้างสรรพสินค้าเดอะไนน์ ทุกคนที่เป็นแฟนพันธ์แท้รู้ดี (ไม่ใช่ร้านที่เป็นข่าว อันนั้นเป็นแฟรนไชส์)
ภาพจาก https://bit.ly/3nAV2dM
คุณลุงวันเลิด เริ่มต้นร้านนี้ด้วยความตั้งใจ ใส่ใจ อยากให้ทุกคนได้ทานของดีๆ ในราคาที่สบายกระเป๋า เลือกคัดสรรวัตถุดิบอย่างตั้งใจ เหมือนนางในวัง สมัยรัชกาลที่ 5 ยึดคติขอบคุณลูกค้าทุกคน ให้ทุกคนได้กินได้เต็มที่ กินของดี กินของอร่อย กินให้รู้สึกคุ้มค่า แล้วเค้าจะกลับมากินร้านเรา นี่คือสิ่งที่คุณลุงสอนเรา อย่าไปเสียดายของ เราให้เค้าให้เต็มที่ ให้เค้ารู้สึกคุ้มค่า บริการด้วยใจ บริการเต็มที่เป็นอย่างดี
หลังเหตุการณ์ดราม่า มีผู้สื่อข่าวไปสอบถามถึงการให้แฟรนไชส์และดูแลแฟรนไชส์ ซึ่งคุณลุงบุญเลิด ได้กล่าวผ่าน ช่อง ONE31 ว่า ฝากขอโทษแทนสำหรับสาขาที่สร้างปัญหา โดยไม่ขอปฏิเสธความรับผิดชอบใดๆ
ในส่วนเรื่องของการขายแฟรนไชส์นั้น คุณลุงบุญเลิด จะไม่คิดค่าแฟรนไชส์ ไม่คิดค่าแรกเข้า สอนให้ทุกอย่าง แต่ส่วนที่ทำข้อตกลงกัน คือ 10 เปอร์เซ็นต์จากผลกำไรของสาขาแฟรนไชส์ซี โดยระบุอายุสัญญาแฟรนไชส์แบบปีต่อปี
เรียนรู้ข้อผิดพลาด แฟรนไชส์ ชาบู ชาบู นางใน
ภาพจาก https://bit.ly/2ZqOtSC
กรณีนี้ดังกล่าวนี้ เราได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด แฟรนไชส์ ชาบู ชาบู นางใน อย่างไรบ้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ สิ่งแรกขอฝากไปยังเจ้าของธุรกิจที่คิดกำลังอยากทำแฟรนไชส์ เพราะมองเห็นโอกาสการขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าเมื่อคุณมีจำนวนสาขาเยอะๆ หากสาขาใดสาขาหนึ่งทำเสียชื่อเสียง สาขาอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบด้วย เพราะอยู่ภายใต้แบรนด์เดียวกัน
ขณะเดียวกัน เจ้าของธุรกิจที่เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของสินค้าและบริการ วัตถุดิบ การตกแต่งร้าน ความสะอาด รสชาติ การให้บริการพนักงาน การปฏิบัติงานในร้าน และอื่นๆ เรียกได้ว่าเมื่อลูกค้าไปใช้บริการร้านไหนก็จะได้รับสินค้าและบริการแบบเดียวกัน รสชาติเดียวกัน
ดังนั้น เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องการคัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นแฟรนไชส์ซี เพราะแฟรนไชส์ซีเปรียบเสมือนภรรยาที่จะมาร่วมสร้างฐานะและอยู่ในชายคาเดียวกัน แฟรนไชส์ซีต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการบริการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงต้องสามารถปฏิบัติตามระบบต่างๆ ของแฟรนไชส์ได้ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน
ภาพจาก https://bit.ly/2ZqOtSC
ขณะเดียวกัน เรื่องของทำเลเปิดร้าน ก็ไม่ควรอยู่ในพื้นที่หรือโซนเดียวกัน เช่น ย่านพระราม 9 ควรเปิดร้านได้แค่ร้านเดียว เพราะหากมี 2 สาขา สาขาใดสาขาหนึ่งทำเสียชื่อเสียง สาขาอื่นๆ หรือใกล้เคียงก็จะได้รับผลกระทบกันหมด
นั่นคือบทเรียนที่เราได้จากกรณีดราม่า แฟรนไชส์ ชาบู ชาบู นางใน จาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2563
Franchise Tips
- การควบคุมคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน
- การคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีคุณภาพ
- กฎระเบียบและเงื่อนไขการปฏิบัติของแฟรนไชส์ซี
- ทำเลที่ตั้ง และระยะห่างของการเปิดร้าน
อ้างอิงจาก https://bit.ly/2ZtN6Te
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)