เรียนรู้จากข้อผิดพลาด! แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก WashCoin
จากกรณีเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2564 ผู้ใช้ Facebook รายหนึ่งชื่อ Gu LuBu ได้โพสต์เตือนภัยลงในกลุ่ม “ชมรมร้านซักผ้า สะดวกซัก 24 ชม.” โดยปักหมุดว่า “เตือนภัยนักลงทุน เดี๋ยวโดนบริษัทมิจฉาชีพนี้โกง” และ “ขออนุญาตผู้ดูแลกลุ่ม ได้แชร์ข้อมูลครับ” รวมถึงได้ชี้ไปที่ บริษัท วอดคอย์ หรือ บริษัท โมบายทูแมนชีน ถ้าคิดจะไปลงทุนระวังให้ดี
ภาพจาก https://bit.ly/3nZfd5o
เนื้อหาใจความระบุว่า ผมลงทุนไปกับบริษัทนี้ ก็ประมาณ 6 เดือนกว่าๆ จำนวนเงิน 6 แสนบาท แล้วทางบริษัททำสัญญาว่าจะมาติดตั้งให้ในเวลา 45 วัน ผ่านไป 6 เดือนจะ 7 เดือนแล้วปัจจุบันยังไม่มาติดตั้ง ทำให้ผมเสียหายในค่ามัดจำและค่าเช่าที่ไป 6 เดือน และเสียเวลาอย่างมาก
ปัจจุบันนี้ผมได้ทำการยกเลิกสัญญาแล้ว เรียกร้องขอเงินคืน ทางบริษัทแจ้งมาว่าได้นำเงินของผมที่ลงทุนไปไปใช้จ่ายแล้วไม่สามารถคืนให้ได้จึงขอเลื่อนคืน ผมก็ให้โอกาส เลื่อนมา 3 ครั้งแล้วไม่มีการโอนคืนทางผมเลย
โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงทุกประการ ไม่ได้มาดิสเครดิตบริษัทแน่นอน ดูตามหลักฐานได้ครับ ฝากถึงคนที่โดนเหมือนผมด้วย ไม่ต้องรอแล้วครับ มันฉ้อโกงประชาชน แจ้งความจับเจ้าของบริษัทในฐานฉ้อโกงประชาชนได้เลยครับ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้ค้นหาข้อมูลแฟรนไชส์ WashCoin ภายใต้การดำเนินงานของ บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด พบว่า WashCoin เป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักที่ได้รับความนิยมลงทุนและใช้บริการจากลูกค้าอันดับต้นๆ ของเมืองไทย
ภาพจาก https://bit.ly/3nZfd5o
เนื่องจากเป็นร้านสะดวกซักออนไลน์ผ่าน Application Smartphone ด้วยเทคโนโลยี IoT แห่งแรกของเมืองไทย ทำให้นักลงทุนสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจให้บริการเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญได้ทุกที่ โดยไม่จำกัดอยู่แค่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงเพียงเท่านั้น ขณะที่ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินด้วย QR Code และรอการแจ้งเตือนเมื่อผ้าซักเสร็จแล้วด้วยการดาวน์โหลด App WashCoin เพื่อใช้งาน
สำหรับจุดเด่นของ WashCoin อยู่ที่บริการซักด้วยนวัตกรรมเครื่องซักผ้าด้วยเทคโนโลยีซักสะอาด ถนอมใยผ้า ด้วยระบบน้ำอุ่น ที่ละลายผงซักฟอกได้ดีกว่า แถมยังช่วยฆ่าเชื่อแบคทีเรียและเชื้อโรคบางชนิดได้อีกด้วย
นอกจากนี้ WashCoin ทำงานภายใต้ระบบควบคุมผ่านระบบ Cloud ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกโปรแกรมซักผ้าได้เองอย่างอิสระ โดยระบบจะคิดราคาตามเวลาการใช้งานจริง อย่างไรก็ตาม ค่ามาตรฐานที่แนะนำให้ลูกค้าใช้ คือ โปรแกรม 60 นาที ในการใช้งาน จะได้รับประสิทธิภาพที่ดีที่สุด
ภาพจาก www.facebook.com/WashCoin/
จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งวันที่ 1 ก.พ. 2560 ทุนจดทะเบียน 5,000,000.00 บาท กรรมการผู้มีอำนาจ คือ นายมงคล เกริกพิพัฒน์สกุล วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัท เพื่อประกอบกิจการจำหน่ายแฟรนไชส์ระบบเครื่องซักผ้า
สำหรับงบกำไร-ขาดทุน บริษัท โมบาย ทู แมชชีน คอร์ปอเรชั่น จำกัด พบว่า
- ปี 2560 รายได้ 2,375,808.88 บาท ขาดทุน 1,807,200.08 บาท
- ปี 2561 รายได้ 17,066,548.22 บา กำไร 3,425,159.90 บาท
- ปี 2562 รายได้ 28,487,143.68 บาท ขาดทุน 2,349,756.57 บาท
บทเรียนที่ได้จากเรื่องนี้
ภาพจาก www.facebook.com/WashCoin/
หากถามว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากข้อผิดพลาด! ที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก WashCoin ซึ่งถือเป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซักแถวหน้าของเมืองไทย
1.ผู้ที่จะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ควรศึกษาหาข้อมูลแบรนด์หรือบริษัทแฟรนไชส์ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ของบริษัท เช่น ผลการดำเนินธุรกิจ การสนับสนุนแฟรนไชส์ ประสบการณ์เจ้าของแฟรนไชส์
ภาพจาก www.facebook.com/WashCoin/
2.การสื่อสารกับลูกค้าและนักลงทุน เมื่อเกิดปัญหาลักษณะเดียวกัน ผู้บริหารบริษัท แอดมินเพจเฟซบุ๊คของบริษัท หรือผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรีบติดต่อลูกค้าหรือนักลงทุนอย่างเร่งด่วน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัท อย่าผัดวันประกันพรุ่ง
3.บริษัทหรือเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ต้องมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้าหรือนักลงทุน โดยเฉพาะเรื่องความล่าช้าในการจ่ายเงินค่าแฟรนไชส์ 6 แสนกว่าบาทคืนให้ผู้ลงทุน และไม่ซื่อสัตย์ต่อผู้ลงทุน เอาเงินไปหมุนใช้ โดยไม่มีสินค้าให้ผู้ลงทุน เหมือนเป็นการหลอกลวง หลอกลงทุน เหมือนเช่นกรณีแฟรนไชส์ร้านค้าราคาเดียวในอดีต จ่ายเงินไปแล้วไม่ได้ของ กรณีเช่นนี้อาจจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์แฟรนไชส์และบริษัท ทำให้ลูกค้าและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นได้
ภาพจาก www.facebook.com/WashCoin/
นั่นคือ สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาด! ที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก WashCoin ครับ
ข้อมูลจาก https://bit.ly/3nZfd5o , https://bit.ly/3k60Pau
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3ESobIo
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)