เรียนรู้ข้อผิดพลาด! แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก Otteri WASH & DRY “แก๊สระเบิด – ไฟไหม้เครื่องอบผ้า”

ทุกครั้งที่ธุรกิจมีปัญหาเกิดขึ้น มักส่งผลกระทบต่อแบรนด์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการประท้วงพนักงาน-ลูกค้า การปลดคนงาน การให้บริการลูกค้าไม่ดี การหลอกลวงลูกค้า และอื่นๆ

รวมถึงกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก “อ๊อดเทริ วอช แอนดราย” (Otteri Wash & Dry) ทั้งแก๊สระเบิดในร้านย่านสุทธิสาร และไฟไหม้เครื่องอบผ้าในร้านจังหวัดชัยภูมิ

หากถามว่าเราสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบครับ

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก

ภาพจาก https://bit.ly/3nRiDIv

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงคืนวันที่ 3 กันยายน 2561 เกิดเหตุแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก “อ๊อดเทริ วอช แอนดราย” (Otteri Wash & Dry) เปิดบริการได้เพียง 3 วัน บริเวณปากซอยอินทามระ 36 ได้เกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่นหวั่นไหว แรงระเบิดทำให้อาคารและที่อยู่ใกล้เคียงเสียหาย รวมแล้ว 5 คูหา ในสภาพเศษปูน เศษวัสดุกระเด็นออกมาเกลื่อนพื้น มีผู้บาดเจ็บ 9 คน

นอกจากนี้ แรงอัดของระเบิดและเศษปูนยังกระเด็นออกมาเกลื่อนพื้นถนน โดนร้านค้าแบบรถเข็นที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้เสียหาย 2-3 ร้าน ในที่เกิดเหตุพบผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 ราย ซึ่งเป็นลูกค้าที่มาใช้บริการและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง

ร้านดังกล่าวเพิ่งเปิดให้บริการได้ประมาณ 3 วัน เป็นช่วงร้านเปิดให้ใช้บริการฟรี ทำให้มีผู้มาใช้บริการอยู่ตลอด ซึ่งภายในร้านจะมีทั้งเครื่องซักและเครื่องอบผ้าที่นำเข้ามาจากประเทศจีน ซึ่งจะมีการทำงานในหลายระบบ รวมไปถึงระบบแก๊สด้วย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเผยสาเหตุของการระเบิด อาจจะมาจากแก๊สเกิดรั่วออกมารวมตัวกันจำนวนมากทำให้เกิดการระเบิด

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก

ภาพจาก https://bit.ly/3nRiDIv

สำหรับกรณีที่ 2 เป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ได้มีการเผยแพร่คลิปวิดีโอ TikTok นาทีไฟไหม้เครื่องซักผ้าที่ร้านซักผ้า 24 ชั่วโมง Otteri wash & dry จู่ๆ เครื่องซักผ้าเครื่องหนึ่งก็เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นมา ทำเอาลูกค้าในร้านพากันวิ่งหนีด้วยความตกใจ เบื้องต้นตำรวจคาดว่าเกิดจากเครื่องทำงานขัดข้อง หรือไม่ก็ลูกค้าลืมไฟแช็กไว้ในกระเป๋ากางเกง

หลังจากนั้น บริษัท อ๊อตเทริ วอช แอนด์ ดราย จำกัด เจ้าของแบรนด์แฟรนด์ไชส์ร้านสะดวกซัก Otteri wash & dry ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณี เกิดไฟไหม้เครื่องอบผ้า ที่สาขาในจังหวัดชัยภูมิ ระบุว่า บริษัทฯ ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แม้ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ แต่หลังจากทราบข่าวทางผู้บริหารและทีมช่างได้ลงพื้นที่ เพื่อตรวจสอบและหาสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก

ภาพจาก facebook.com/otteriwashdry/

ผลของการตรวจสอบระบบแก๊สและระบบไฟฟ้ามีการทำงานปกติ มีการตรวจสอบจุดเกิดเหตุไฟไหม้ที่เครื่องอบผ้า พบว่าซากของผ้าที่อยู่ด้านในกลายสภาพเป็นพลาสติกแข็ง เป็นชุดกีฬา ชุดผ้าร่ม เป็นผ้าที่ไม่ควรนำเข้าเครื่องอบ เนื่องจากเส้นใยของผ้าที่ผ่านสภาพการใช้งานมาระยะหนึ่ง ทำให้ไม่ทนต่อความร้อนได้ ซึ่งทางบริษัทฯ ก็มีป้ายประกาศเกี่ยวกับการห้ามนำชนิดของผ้าเข้าเครื่องอบติดตั้งในร้าน

หลังจากนั้นทางผู้บริหารบริษัทฯ ได้คุยกับลูกค้าเกิดไฟไหม้ผ้า โดยบริษัทฯ อยากชี้แจงให้ทราบไม่มีการลืมไฟแช็คไว้ในผ้าตามที่สำนักข่าวหลายช่องได้นำเสนอ และทางบริษัทฯ ได้มีการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหายสำหรับผ้าที่ไหม้เป็นจำนวน 6,840 บาท และเติมเครดิตเข้า Otteri application จำนวน 1,000 บาท ให้กับผู้เสียหาย

เรียนรู้อะไรจากข้อผิดพลาด! แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก Otteri WASH & DRY

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก

ภาพจาก facebook.com/otteriwashdry/

แม้ว่าทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก Otteri WASH & DRY จะไม่ผู้คนเสียชีวิต แต่ก็ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียหายทางทรัพย์สิน เงินทองในการรักษาตัวของผู้บาดเจ็บ และหากถามว่าเราสามารถเรียนรู้อะไรจากทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

อันดับแรก ก่อนที่เราจะเข้าไปใช้บริการ หรือหยิบจับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ต้องศึกษาข้อมูลการใช้งานอย่างละเอียด รวมถึงข้อควรปฏิบัติในการเข้าใช้บริการต่างๆ ในแต่ละสถานที่

อันดับที่ 2 ถึงเวลาที่ทุกคนควรรู้ถึงข้อปฏิบัติเบื้องต้น เมื่อได้กลิ่นแก๊สรั่ว เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ประการสำคัญบริษัทหรือผู้ให้บริการ ต้องหมั่นตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก

ภาพจาก facebook.com/otteriwashdry/

อันดับที่ 3 การติดตั้งเครื่องซักผ้าควรอยู่ในพื้นที่มีการระบายอากาศ มิเช่นนั้นหากเกิดเหตุการณ์แก๊สรั่วอีกครั้งอาจเกิดระเบิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทุกคนต้องรู้ อย่าประมาท หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ เพราะการใช้แก๊สประหยัดกว่า แต่ต้องรู้วิธีการใช้

อันดับที่ 4 การแสดงความรับผิดชอบต่อลูกค้า ถือเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะสามารถกู้ภาพลักษณ์ และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์กลับมาได้เร็วขึ้น

นั่นคือ สิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับ แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก Otteri WASH & DRY กรณี “แก๊สระเบิด – ไฟไหม้เครื่องอบผ้า”

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3d8HVf9

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช