เริ่มต้นทำธุรกิจ อยากทำแฟรนไชส์แบบไหน Red Ocean VS Blue Ocean
ถ้าถามคนในแวดวงธุรกิจว่ารู้จัก Red Ocean กับ Blue Ocean หรือไม่ คงคิดว่าไม่น่าจะมีใครไม่รู้จัก เพราะเป็นลักษณะของสภาพการแข่งขันของตลาด เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดย Red Ocean เป็นสภาพตลาดที่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง มีคู่แข่งจำนวนมาก
ทุกบริษัทต้องแข่งขันดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด ส่วน Blue Ocean เป็นสภาพตลาดที่ยังมีการแข่งขันกันน้อย ลูกค้ายังไม่มีความต้องการสินค้าตัวใหม่ ผู้ประกอบการต้องหาทางสร้างความต้องการของตลาดขึ้นมาเอง หากสร้างได้ธุรกิจจะอยู่ได้ยั่งยืน ซึ่งในแต่ละตลาดมีข้อดี-ข้อเสีย และกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป
แต่ถ้าถามว่าเจ้าของธุรกิจที่อยาก เริ่มต้นทำธุรกิจ แฟรนไชส์ ควรเริ่มต้นแฟรนไชส์ในตลาดแบบไหน Red Ocean VS Blue Ocean วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะวิเคราะห์และแนะนำแนวทางให้นำไปพิจารณาก่อนตัดสินใจทำแฟรนไชส์กันครับ
Red Ocean
ธุรกิจของคุณเป็นหนึ่งในธุรกิจจำนวนมากที่ขายสินค้าเหมือนกันกับรายอื่นๆ ในตลาด และทุกธุรกิจแต่ละแบรนด์ก็ต้องแข่งขันดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นได้ว่าตลาด Red Ocean มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง มีธุรกิจจำนวนมากขายสินค้าและบริการแบบเดียวกัน โอกาสการเติบโตของธุรกิจจึงเป็นไปได้ช้า และธุรกิจใหม่ๆ ที่อยากเข้าไปในตลาดอาจเกิดขึ้นได้ยากจากสภาพการแข่งขันอย่างบ้าเลือด
บางครั้งธุรกิจอาจจะไม่ได้กำไรอะไรมากนัก เพราะธุรกิจส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาด Red Ocean จะดำเนินกลยุทธ์การตลาดแบบต้องการเอาชนะคู่แข่ง จึงต้องมุ่งเน้นในด้าน “ราคา” เป็นหลัก โดยแต่ละธุรกิจที่อยู่ในตลาดจะมีความแตกต่างกันน้อย ขายสินค้าเดียวกัน ทำให้ลูกค้ามีความจงรักภักดีต่อแบรนด์น้อยมาก เพราะมีตัวเลือกเยอะ ใครเสนอราคาที่ถูกกว่า ลูกค้าก็พร้อมที่จะเปลี่ยนใจไปหาทันที
กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง Red Ocean จึงเปรียบเสมือนสนามรบที่มีการแข่งขันกันอย่างสมบูรณ์แบบ มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงจนต่างฝ่ายต่างเสียเลือดเนื้อมากมาย จนน่านน้ำกลายเป็นสีแดง ทุกธุรกิจต่างมุ่งหน้าไปสู่น่านน้ำสีแดง ความต้องการของผู้บริโภคมีสูง ในตอนแรกธุรกิจอาจจะมีกำไรที่มากกว่าปกติ แต่เมื่อแบรนด์อื่นๆ เริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจ ธุรกิจรายใหม่ได้เข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่ง จึงทำให้รายเก่าต้องลดราคาลงมาแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดไว้
ตัวอย่างธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในน่านน้ำสีแดง ได้แก่ แฟรนไชส์ชาราคาเดียว 25 บาท ช่วงแรกๆ เมื่อ 3-4 ปีก่อน น่าจะมีมากกว่า 30 แบรนด์ แต่จากการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ความแตกต่างของแต่ละแบรนด์มีน้อย ราคาเดียวกัน รสชาติไม่แตกต่างกัน จึงทำให้ปัจจุบันน่าจะเหลือไม่กี่แบรนด์ที่อยู่รอดได้ เพราะนักลงทุนสนใจซื้อแฟรนไชส์น้อย ไม่คุ้มค่า
แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก อีกหนึ่งแฟรนไชส์ที่กำลังมาแรงในเมืองไทย ถือว่าอยู่ในตลาดน่านน้ำสีแดงเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีเกือบๆ 40 แบรนด์ทั้งแบรนด์ในประเทศและต่างประเทศ ใช้เงินลงทุนสูง แต่ด้วยระบบเทคโนโลยีต่างๆ ของเครื่องซักผ้าแทบไม่แตกต่างกันจึงทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีตัวเลือกเยอะ หากแบรนด์ไม่แข็งแกร่ง ไม่น่าเชื่อถือ ก็อยู่รอดยาก
ยังมีแฟรนไชส์ร้านค้าราคาเดียว 20 บาท ปัจจุบันเหลือไม่กี่แบรนด์ที่ได้รับความนิยมและเปิดดำเนินธุรกิจอยู่ เนื่องจากมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง สินค้าและบริการไม่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถอยู่รอดได้
นอกจากนี้ ยังมีแฟรนไชส์การศึกษา แฟรนไชส์ชานมไข่มุก แฟรนไชส์ขนส่งพัสดุ ซึ่งแฟรนไชส์เหล่านี้มีการแข่งขันกันสูงมาก ใครอยู่รอดได้จะต้องมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
ดังนั้น เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์แข่งขันในตลาด Red Ocean ต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นรสชาติอร่อย บริการดี คุ้มค่าแก่การลงทุน มีระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นอย่างดี
Blue Ocean
ตลาดที่ยังไม่มีการแข่งขัน เพราะว่ายังไม่มีความต้องการสินค้าตัวใหม่ในตลาดใหม่ ต้องหาทางสร้างความต้องการขึ้นมาให้ได้ ด้วยการนำเสนอคุณค่าให้เกิดขึ้นกับตัวลูกค้า รวมถึงการพยายามลดต้นทุนสินค้า และกระบวนการดำเนินธุรกิจจากการนำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้ จึงจะช่วยให้สามารถเอาชนะคู่แข่งขันในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยหลักการของตลาดน่านน้ำสีคราม หรือ Blue Ocean จะไม่มุ่งเน้นไปที่การตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีอยู่ในตลาด แต่จะมุ่งเน้นในการสร้างความต้องการ หรืออุปสงค์ขึ้นมา กล่าวคือ มุ่งเน้นการหาตลาดใหม่ นำเสนอความต้องการใหม่ แทนที่จะแข่งขันกันอย่างดุเดือดในตลาดเดิม ซึ่งตรงกันข้ามกับ Red Ocean
กลยุทธ์ Blue Ocean ธุรกิจจะต้องสรรหาสินค้าและบริการที่ตอบสนองลูกค้า เพื่อทดแทนของเก่าที่ลูกค้าเพียงแค่จำเป็นต้องใช้ แต่กลยุทธ์ที่ดูดีแบบนี้ก็มีข้อพึงระวังก็คือ หากธุรกิจหาของที่เราคิดไปเองว่าจะทดแทนของเก่าได้ แต่ข้อเท็จจริงแล้วมันไม่ใช่ เราก็จะต้องเจ็บตัวอย่างหนัก ยิ่งมั่นใจมากก็จะยิ่งเจ็บตัวมาก
ธุรกิจที่ต้องการทำตลาด Blue Ocean จะหลีกเลี่ยงการแข่งขันที่มีคู่แข่งจำนวนมาก ด้วยการสร้างฐานลูกค้าผ่านการเปลี่ยนความต้องการเดิมจากสินค้าในตลาด Red Ocean เป็นความต้องการใหม่ในสินค้าที่สามารถตอบสนองความต้องการได้ดีกว่า ถ้าธุรกิจเห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้ามได้ ก็จะเป็นธุรกิจแรกๆ ที่เข้าสู่ Blue Ocean ได้โดยง่ายดาย
ตัวอย่างของธุรกิจแฟรนไชส์ที่อยู่ในตลาด Blue Ocean ได้แก่ แฟรนไชส์อาหารฮาลาล, แฟรนไชส์เวนดิ้งแมซชีน, แฟรนไชส์ดูแลผู้สูงอายุ, แฟรนไชส์บริการทำความสะอาด, แฟรนไชส์สเต็มเซลล์, แฟรนไชส์บิทเทรด, แฟรนไชส์ขายออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งแฟรนไชส์เหล่านี้ยังมีน้อยมากในเมืองไทย แต่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการธุรกิจต้องคำนึงถึงด้วยว่า ธุรกิจหรือนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าเกิดความต้องนั้น มันใช้ได้ผลหรือไม่ เพราะหากกระแสจุดไม่ติด นอกจากจะขายสินค้าไม่ได้ตามเป้าแล้ว ยังเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์
นั่นคือ ข้อดี-ข้อเสีย รวมถึงความแตกต่างของการทำธุรกิจในตลาด Red Ocean และ Blue Ocean ผู้ประกอบการที่อยากทำแฟรนไชส์ต้องศึกษาและวิเคราะห์ให้ดีว่า จะทำธุรกิจแฟรนไชส์เข้าสู่การแข่งขันในตลาดแบบไหน หากตลาด Red Ocean ไม่มีจุดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่งก็อยู่ไม่รอด แต่ถ้า Blue Ocean สร้างความต้องให้ลูกค้าไม่ได้ ก็เจ๊ง
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3lIXCyh
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)