เปิด 6 สินเชื่อแฟรนไชส์ ไม่อืด ไม่ช้า จ่ายเงินไว
ในภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพแพง ทำให้หลายๆ คนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรืออยากมีรายได้เพิ่มจากปัจจุบัน จึงพุ่งเป้าหมายไปที่การซื้อแฟรนไชส์มาเปิด เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นในการทำธุรกิจ ซื้อมาแล้วเปิดร้านขายได้ทันที
แต่ปัญหาที่หลายๆ คนประสบก็คือ เงินทุนในการซื้อแฟรนไชส์ จะหยิบยืมพ่อแม่ก็ไม่กล้า จะขอกู้เงินนอกระบบก็กลัวดอกแพง หรือแม้แต่จะขอสินเชื่อจากธนาคารก็กลัวจะไม่ผ่าน แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อลงทุนแฟรนไชส์จะได้รับการอนุมัติง่ายกว่าการขอสินเชื่อลงทุนทำธุรกิจทั่วๆ ไป เพราะแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่มีสูตรความสำเร็จมาแล้ว
ใครสนใจอยากซื้อแฟรนไชส์ แต่ไม่มีเงินทุน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีธนาคารพาณิชย์ที่ให้สินเชื่อสำหรับการทำธุรกิจแฟรนไชส์ รวมถึงการลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาแนะนำให้ทราบ
1.ธนาคารออมสิน
ภาพจาก https://bit.ly/3GhQ8LT
ธนาคารออมสินเชื่อแฟรนไชส์ ให้ผู้ขอสินเชื่อรายละไม่เกินมูลค่าของสัญญาที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและ/หรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำธุรกิจ วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1.0 ล้านบาท/ราย
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัด ไม่ชำระหนี้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด, ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ประเภทเงินกู้ระยะสั้นให้มีการทบทวนวงเงินทุกปี, ประเภทเงินกู้ระยะยาวไม่เกิน 7 ปี และกรณีใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันให้มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี
- ผู้ขอสินเชื่อต้องเป็นบุคคลธรรมดา มีสัญชาติไทย
- อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อรวมกับระยะเวลาชำระเงินกู้ ต้องไม่เกิน 60 ปี
- เป็นผู้รับสิทธิในการเข้าร่วมทำธุรกิจในการจำหน่ายสินค้า/บริการภายใต้ตราหรือเครื่องหมายการค้า/บริการของเจ้าของแฟรนไชส์หรือผู้ให้สิทธิที่ทำ MOU กับธนาคาร
- มีสถานที่ประกอบการ/ทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสม
- ต้องผ่านการอบรมจากเจ้าของแฟรนไชส์หรือผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์
2.ธนาคารกสิกรไทย
ภาพจาก https://bit.ly/3wOjBsj
สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์กสิกรไทย เปิดโอกาสให้คนทั่วไปเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ ง่ายได้ดั่งใจ ไม่มีหลักประกัน ไม่มีประสบการณ์ธุรกิจก็กู้ได้ มีแฟรนไชส์ให้เลือกหลากหลาย อาทิ อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ค้าปลีก การศึกษา และบริการ
สินเชื่อแฟรนไชส์กสิกรไทย อนุมัติวงเงินสูงสุด 80% ของมูลค่าการลงทุนที่แฟรนไชส์ซอร์ระบุ, เพียงมีเอกสารการรับสิทธิ์จากแฟรนไชส์ซอร์, ผ่อนนานสูงสุด 10 ปี, อัตราดอกเบี้ยสูงสุด MRR + 3% ต่อปี
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ เป็นนิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา สัญชาติไทย, อายุระหว่าง 20 – 65 ปี (ลูกค้าปัจจุบันไม่เกิน 75 ปี) ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ดำเนินธุรกิจก็สามารถขอสินเชื่อได้ หากได้รับสิทธิจากแฟรนไชส์ซอร์
3.ธนาคารกรุงเทพ
ภาพจาก https://bit.ly/3wOBIi2
สินเชื่อบัวหลวงเพื่อธุรกิจแฟรนไชส์ เปิดโอกาสให้นักลงทุนได้เป็นเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ รวมถึงเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ขยายธุรกิจให้เติบโต ด้วยวงเงินสินเชื่อสูงสุด 70% ของเงินลงทุนที่ต้องใช้ต่อสาขา (สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท)
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน MRR+2% ต่อปี ตลอดอายุสัญญา (ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของแต่ละแฟรนไชส์) ระยะเวลาการกู้สูงสุด 7 ปี (สูงสุดไม่เกินระยะเวลาของสัญญาแฟรนไชส์) สำหรับหลักประกัน อาทิ เงินฝาก ที่ดิน สถานประกอบการ อสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักร บสย. และบุคคลค้ำประกัน
คุณสมบัติผู้ขอสินเชื่อ ในส่วนของผู้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) เป็นนิติบุคคลที่ผ่านการคัดเลือกจากผู้ให้สิทธิ์แฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) มีจดหมายรับรองจาก Franchisor ว่าได้ผ่านการคัดเลือกเป็น Franchisee พร้อมระบุเงินที่ใช้ในการลงทุน และ ระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ
ส่วนผู้ให้สิทธิ์แฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) เป็นนิติบุคคล เปิดดำเนินการธุรกิจมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และให้สิทธิ์แฟรนไชส์มาแล้วไม่น้อยกว่า 10 แห่ง, งบการเงินที่นำส่งกรมสรรพากรย้อนหลัง 3 ปี มีกำไรสุทธิทุกปี, มีข้อมูลประวัติกิจการ โครงสร้างองค์กรรายละเอียดสินค้าและบริการ และมีระบบการบริหารจัดการและควบคุมที่ชัดเจน
4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ภาพจาก https://bit.ly/3LPhFoQ
สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Credit) ของ ธ.ก.ส. เป็นโครงการสนับสนุนเงินทุนให้กับผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งค่าเช่าที่ดิน อาคาร ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าการตลาด ค่าวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงาน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า และอื่นๆ รวมถึงสนับสนุนการลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นค่าก่อสร้างและตกแต่งร้าน เป็นต้น
ผู้ขอสินเชื่อจะต้องได้รับสิทธิจากเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) วงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 10,000,000 บาท กรณีขอกู้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือเงินทุนหมุนเวียนกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในรอบปี และกรณีกู้สินเชื่อเป็นค่าลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของค่าลงทุนทั้งหมดในธุรกิจแฟรนไชส์
5.ธนาคารไทยพาณิชย์
ภาพจาก https://bit.ly/3z084sW
สินเชื่อธุรกิจแฟรนไชส์ของธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นสินเชื่อวงเงินกู้ระยะยาว (Loan) มีทั้งแบบต้องใช้หลักประกันและไม่ต้องหลักประกัน ผู้ขอสินเชื่อจะได้รับวงเงินสูงสุดไม่เกินมูลค่าการลงทุนที่แฟรนไชส์ซอร์ ระบุตามเอกสารการรับรองสิทธิ์จากแฟรนไชส์
อัตราดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.995%* (MRR 5.995% ต่อปี ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2563) การขอสินเชื่อแฟรนไชส์จะมี บสย.ช่วยค้ำประกันให้ แต่จะต้องขึ้นอยู่กับแฟรนไชส์ซอร์แต่ละแบรนด์ (ที่ผ่านการคัดเลือกจากธนาคาร)
6.ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ภาพจาก https://bit.ly/3wMCOLe
สินเชื่อเพื่อสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ไทย/เชนไทย (Loan for Thai Franchise / Thai Chain Buyers) เป็นวงเงินสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ไทย เพื่อนำไปเปิดให้บริการในต่างประเทศ หรือว่าจ้างเชนไทยในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ยสกุลดอลลาร์สหรัฐไม่ต่ำกว่า LIBOR+3.5% ต่อปี, สกุลบาทไม่ต่ำกว่า Prime Rate ต่อปี, Front-end Fee : 1.0% ของวงเงินกู้ สำหรับวงเงินสินเชื่อระยะยาว ธนาคารจะพิจารณาตามความเหมาะสม
ผู้ขอสินเชื่อ ต้องเป็นนิติบุคคลไทยหรือต่างประเทศ ผ่านเกณฑ์การพิจารณาจากผู้ขายแฟรนไชส์/เจ้าของเชน, มีฐานะทางการเงินดี และระยะเวลาเงินกู้ไม่เกินระยะเวลาของสัญญาซื้อขายแฟรนไชส์/สัญญาว่าจ้างเชน
นั่นคือ 6 สินเชื่อแฟรนไชส์ จาก 6 ธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของไทย หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ และประชาชนทั่วไปที่สนใจอยากเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยการซื้อแฟรนไชส์นะครับ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wNW4sT
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)