เปิดโผ 7 แฟรนไชส์ดาวรุ่ง น่าลงทุนครึ่งปีหลัง 2023

กูรูแฟรนไชส์ชื่อดังหลายคนได้ให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับแนวโน้มธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยปี 2566 จะเติบโตอย่างมากหลังจากการระบาดโควิด-19 เริ่มเบาบางลง อีกทั้งมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว รวมถึงจะมีการเลือกตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่ 14 พ.ค. 66 อยากรู้หรือไม่ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ประเภทไหนมาแรงและน่าลงทุนครึ่งปีหลัง
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจากการวิเคราะห์ สำรวจ และสัมภาษณ์มานำเสนอให้ทราบ

1. แฟรนไชส์อาหาร


ยังเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมทั้งคนขายแฟรนไชส์และคนซื้อแฟรนไชส์ เป็นแฟรนไชส์มาแรงตลอดกาล เพราะอาหารเป็นปัจจัย 4 ของมนุษย์ที่ขาดไม่ได้ ทุกคนต้องกินเป็นประจำทุกวัน โดยแฟรนไชส์อาหารที่น่าลงทุนครึ่งปีหลัง ส่วนใหญจะเป็นแนวสตรีทฟู้ด ก๋วยเตี๋ยว สเต็ก ปิ้งย่าง ตามสั่ง อาหารญี่ปุ่น-เกาหลี เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันแฟรนไชส์อาหารมีราวๆ 153 กิจการ มีตั้งแต่ลงทุนหลักพันไปจนถึงหลักล้านบาทขึ้นไป

#แฟรนไชส์อาหารน่าลงทุน https://bit.ly/40ufcYh

2. แฟรนไชส์เครื่องดื่ม


เครื่องดื่มและไอศกรีมยังคงเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนควบคู่กับอาหาร ปัจจุบันมีราวๆ 159 กิจการ ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านบาทเช่นเดียวกัน แต่แฟรนไชส์เครื่องดื่มแม้จะได้รับความนิยมด้วยจำนวนกิจการ แต่จะมีคู่แข่งจำนวนมาก โดยเฉพาะชานมไข่มุก กาแฟสด ชาราคาเดียว ซึ่งหลายๆ แบรนด์หายจากตลาดแล้ว ส่วนแฟรนไชส์ที่น่าลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง จะเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สมูทตี้ น้ำผลไม้ปั่น โกโก้ เต้าหู้ นมสด เป็นต้น

#แฟรนไชส์เครื่องดื่มน่าลงทุน https://bit.ly/3Lh7Fbh

3. แฟรนไชส์การศึกษา


อีกหนึ่งธุรกิจที่น่าลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง หลายๆ แบรนด์มีการขยายสาขาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง เหตุเพราะการระบาดโควิด-19 เริ่มเบาบางลง อีกทั้งระบบการเรียนการสอนในประเทศได้กลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม หากจะลงทุนแฟรนไชส์การศึกษาให้เน้นไปที่โรงเรียนกวดวิชา สถาบันสอนทักษะ พัฒนาศักยภาพเด็ก คณิตศาสตร์ อังกฤษ โดยปัจจุบันแฟรนไชส์การศึกษามีราวๆ 102 กิจการ

#แฟรนไชส์การศึกษาน่าลงทุน https://bit.ly/41zAJ2W

4. แฟรนไชส์บริการ


ยังเป็นธุรกิจที่น่าลงทุนเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีราวๆ 56 กิจการ ไม่ว่าจะเป็นขนส่งพัสดุ ไปรษณีย์เอกชน ร้านสะดวกซัก ธุรกิจเวนดิ้งแมชชีน ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ตลอดจนเครื่องล้างรถอัตโนมัติ เพราะเป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในด้านความสะดวกสบาย และความรวดเร็ว รวมถึงเทรนด์การเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ค้าขายออนไลน์

#แฟรนไชส์บริการน่าลงทุน https://bit.ly/3AxeD5P

5. แฟรนไชส์เบเกอรี่


เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่น่าซื้อแฟรนไชส์มาเปิดร้านในช่วงครึ่งปีหลัง เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคเหมือนกับแฟรนไชส์อาหารและเครื่องดื่ม เพราะคนไทยหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวชอบขนมขบเคี้ยว ชอบของทานเล่น ชอบของทานง่าย ไม่ว่าจะทานที่บ้านหรือเดินทาง ซึ่งแฟรนไชส์ที่น่าลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นขนมปัง ขนมอบกรอบ เครปญี่ปุ่น วอฟเฟิล แพนเค้ก ซาลาเปา ปาท่องโก๋ เป็นต้น โดยปัจจุบันมีแฟรนไชส์ราวๆ 54 กิจการ

#แฟรนไชส์เบเกอรี่น่าลงทุน https://bit.ly/3KT6Vrf

6. แฟรนไชส์ค้าปลีก

ทำไมแฟรนไชส์ค้าปลีกถึงน้าลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง ดูได้จากจำนวนร้านสะดวกซื้อชื่อดังในเมืองไทยอย่าง 7-Eleven ขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีร้านค้าราคาเดียว ร้านสะดวกซื้อชุมชนเกิดขึ้นหลายแบรนด์ ปัจจุบันมีแฟรนไชส์ราวๆ 41 กิจการ จึงเป็นอีกธุรกิจที่น่าสนใจหากใครอยากเปิดแฟรนไชส์

#แฟรนไชส์ค้าปลีกน่าลงทุน https://bit.ly/3Agb83g

7. แฟรนไชส์ความงาม

ภาพจาก แฟรนไชส์บิวตี้เซนเตอร์ (บีโค้)

เป็นธุรกิจที่มาแรงและได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีแฟรนไชส์ราวๆ 25 กิจการ ไม่ว่าจะเป็นร้านสปา ร้านจำหน่ายเครื่องสำอาง นวดแผนโบราณ ศูนย์รวมความงาม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่หลายๆ ผู้ประกอบการกำลังจะสร้างระบบแฟรนไชส์ขึ้นมาตอบโจทย์เทรนด์ผู้สูงวัยที่มีจำนวนมากขึ้น

#แฟรนไชส์ความงามน่าลงทุน https://bit.ly/3KMpCwK

นั่นคือ 7 แฟรนไชส์ดาวรุ่ง มาแรง น่าลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง 2023 แต่ทั้งนี้ต้องเลือกแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบ และเป็นธุรกิจที่เหมาะสำหรับการเปิดในทำเลที่ตั้งของแต่ละพื้นที่ด้วยเช่นเดียวกัน จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter 

อ้างอิงจาก  คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช