เปิดขั้นตอน สมัครเครื่องหมาย SHA และ SHA+ สำหรับธุรกิจที่พัก ร้านอาหาร บริษัทนำเที่ยว
หลังจากเปิดประเทศวันแรก (1 พ.ย. 2564) มีตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 2,424คนและคนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศอีกบางส่วนรวมมีคนเดินทางเข้าประเทศประมาณ 3,000 คน รวมวันที่ 1-5 พ.ย.นี้ มีสายการบินต่างชาติทั่วโลกที่จะทำการบินเข้า และออกประเทศไทย มีทั้งหมด 27 สายการบิน มีผู้โดยสารรวม 15,230 คน ขั้นตอนต่อไปของคนที่เดินทางเข้าประเทศเหล่านี้คือการตรวจสอบเอกสารและหลักฐานตามมาตรฐานความปลอดภัย จากนั้นจึงเดินทางไปยังที่พักตามมาตรฐาน SHA+
พูดถึงตรงนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่สงสัยว่า SHA , SHA+ คืออะไรเพราะตอนนี้มีคนพูดถึงมากลองไปดูข้อมูลเหล่านี้เพื่อทำความเข้าใจพร้อมกัน
SHA มาตรฐานความปลอดภัยของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
ภาพจาก https://web.thailandsha.com/
SHA นั้นย่อมาจาก Amazing Thailand Safety & Health Administration เป็นโครงการที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. นั้น ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงานจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการยกระดับมาตรการความสะอาดหรือความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
จุดมุ่งหมายของ SHA คือกระตุ้นให้สถานที่ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นเพิ่มความรัดกุมกับสินค้าและบริการ โดยคำนึงถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 ให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างปลอดภัยและถูกต้องตามหลักสุขอนามัย โดยเครื่องหมาย SHA นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยกำหนดให้ 10 กิจการต่อไปนี้สามารถของเครื่อหมาย SHA ได้
- ร้านอาหาร
- โรงแรมหรือที่พัก
- สถานที่ท่องเที่ยว
- ยานพาหนะ
- บริษัทนำเที่ยว
- กิจการเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม
- ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า
- กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว
- การจัดกิจกรรม/จัดประชุม/โรงละคร/โรงมหรสพ และร้านค้าต่าง ๆ
ภาพจาก www.thailandsha.com/
ส่วนเครื่องหมาย SHA+ หมายถึงต้องมีพนักงานในสถานที่ประกอบการหรือกิจการที่ได้รับวัคซีน COVID-19 ครบโดส อย่างน้อย 70% ของพนักงานทั้งหมดในองค์กร
หลักเกณฑ์พิจารณาก่อนมอบเครื่องหมาย SHA
มาตรฐานเบื้องต้นจากกรมควบคุมโรคของทุกสถานประกอบการ มี 3 องค์ประกอบ คือ
- สุขลักษณะอาคารและอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีอยู่ในอาคาร
- การจัดอุปกรณ์ทำความสะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
- การป้องกันสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยมีรายละเอียดของมาตรฐานเฉพาะประเภทกิจการเพิ่มเติม
ซึ่งทาง ททท.จะเป็นผู้ควบคุมการออกตราสัญลักษณ์โดยการระบุหมายเลขของตราสัญลักษณ์ SHA ให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อบันทึกเป็นฐานข้อมูลรายชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และหากพบว่าผู้ประกอบการไม่สามารถรักษามาตรฐาน SHA ได้ ในเบื้องต้นจะแจ้งให้ผู้ประกอบการพัฒนาและปรับปรุง หากยังไม่สามารถรักษามาตรฐานได้ก็จำเป็นต้องเพิกถอนตราสัญลักษณ์และตัดรายชื่อออกจากฐานข้อมูล SHA
ขั้นตอนการลงทะเบียนเพื่อรับตราสัญลักษณ์ SHA
- สถานประกอบการศึกษาแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐาน SHA และปรับปรุงสถานประกอบการให้เป็นไปตามมาตรฐาน
- เริ่มต้นการสมัครสมาชิกผ่าน https://thailandsha.tourismthailand.org
- กรอกข้อมูลการสมัครสมาชิกให้ครบถ้วน ใส่ชื่อสถานประกอบการ (ตามป้ายร้านค้า) , ใส่อีเมลล์ และคลิ๊กยืนยัน
- ตรวจสอบอีเมลอีกครั้ง และคลิก “ยืนยันอีเมล” เพื่อเข้าสู่ระบบในหน้าเว็บไซต์
- กลับไปที่เมนูหลัก เพื่อทำการลงทะเบียนผู้ประกอบการโดยคลิก “ลงทะเบียนผู้ประกอบการ” หลังจากนั้นจึงคลิก เลือกประเภทกิจการ
- กรอกข้อมูลผู้ประกอบการ ให้ครบทุกช่อง พร้อมทั้งคลิก “อัปโหลดโลโก้” เพื่ออัปโหลดโลโก้ของร้าน และคลิก “Browse” และ “ยืนยัน” เพื่ออัปโหลดรูปที่ต้องการใช้ในการประชาสัมพันธ์
- กรอกข้อมูลติดต่อและข้อมูลอื่นๆ ของผู้ประกอบการ เช่น ธุรกิจของเราได้ลงทะเบียนแอปพลิเคชั่น “ไทยชนะ”, หรือเลือกว่าธุรกิจของเรา เป็นสมาชิกสมาคมใด และเลือกประเภทใบอนุญาตประกอบกิจการ และแนบไฟล์ใบอนุญาต เป็นต้น
- กรอกข้อมูลทำรายงานมาตรฐานเบื้องต้น และ ข้อกำหนดมาตรฐาน ให้ครบทุกข้อพร้อมแนบไฟล์รูปภาพเพื่อประกอบการพิจารณา แล้วคลิก “ต่อไป” จนครบทุกหน้า หลังจากนั้นจึงตรวจสอบข้อมูล และคลิก “รับรองว่าข้อความข้างต้นถูกต้องตามความจริง” พร้อมกด “ยืนยัน”
- เว็บไซต์จะแสดงหน้าจอผลการลงทะเบียนที่สำเร็จแล้ว ในขั้นตอนนี้สามารถตรวจสอบสถานะการลงทะเบียนได้ที่เมนู “ตรวจสอบสถานะ”
ทั้งนี้การขอรับมาตรฐานจาก SHA ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น หลังจากที่ ททท. รวบรวมข้อมูลทำการตรวจสอบตามขั้นตอนต่างๆ จึงทำการมอบตราสัญลักษณ์ ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 สัปดาห์
ภาพจาก https://bit.ly/2Y6ehDm
ข้อมูลล่าสุดตอนนี้มีสถานประกอบการที่ได้รับมาตรฐานทั้งหมดจำนวน 3,386 รายการประกอบด้วย
- ภัตคาร/ร้านอาหาร 1,350 ร้าน
- โรงแรม/ที่พัก/โฮมสเตย์ 657 แห่ง
- นันทนาการ/สถานที่ท่องเที่ยว 51
- ยานพหานะ 319 รายการ
- บริษัทนำเที่ยว 451 บริษัท
- สุขภาพและความงาม 190 แห่ง
- ห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า 88 แห่ง
- กีฬาเพื่อการท่องเที่ยว 9 รายการ
- การจัดกิจกรรมประชุม/โรงละคร 70 แห่ง
- ร้านค้าของที่ระลึกและร้านค้าอื่นๆ 183 ร้าน
นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ยื่นขอ SHA+ จำนวน 324 รายการ และผ่านการประเมิน SHA+ จำนวน 198 รายการ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3w78Pg3 , https://bit.ly/2ZFnK5C , https://bit.ly/3GB6leZ , https://bit.ly/3w2iV1P
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3k0kdps
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)