เปรียบเทียบค่ากาแฟ 1 แก้ว “ต้นทุน – รายได้” รถเข็นข้างทาง VS ผู้ซื้อแฟรนไชส์คาเฟ่ อเมซอน

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยซื้อกาแฟรถเข็นข้างทาง ราคาแก้วละ 20-25 บาท และหลายคนน่าจะมีคำถามว่าร้านกาแฟรถเข็นข้างทางขายกาแฟแก้วละ 20 บาท จะมีต้นทุนและรายได้มากน้อยแค่ไหน หากเปรียบเทียบกับคนที่ซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน” ขายกาแฟแก้วละประมาณ 55-60 บาท โดยมียอดขายเฉลี่ยต่อวัน 250 แก้ว และแบบไหนน่าสนใจมากกว่ากัน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

ร้านกาแฟรถเข็นข้างทาง

เปรียบเทียบค่ากาแฟ

  • ต้นทุนกาแฟ 1 แก้ว (20 ออนซ์)
  • ผงกาแฟ 2 บาท
  • น้ำตาลทราย 0.5 บาท
  • นมข้นหวาน 1.5 บาท
  • นมข้นจืด 1.5 บาท
  • นมสด 1.5 บาท
  • น้ำร้อน + น้ำแข็ง 1 บาท
  • แก้ว+ฝา+หลอด 2 บาท

เปรียบเทียบค่ากาแฟ

#รวมต้นทุนกาแฟเย็น 1 แก้ว = 10 บาท

#ขายราคาแก้วละ 20 บาท กำไร 10 บาท

#ขายราคาแก้วละ 25 บาท กำไร 15 บาท

#ขายได้ 100 แก้ว / วัน แก้วละ 25 บาท = 1,500 บาท

#ราคาวัตถุดิบมีขึ้นมีลง ตามกลไกตลาดและราคาตามท้องตลาดในแต่ละพื้นที่


ซื้อแฟรนไชส์ “คาเฟ่ อเมซอน

เปรียบเทียบค่ากาแฟ

  • ต้นทุนในการเปิดร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน 2.3-3.7 ล้านบาท ต่อ Shop
  • พื้นที่ 30 ตร.ม.
  • ค่าเช่า 2,000-3,000 บาท/ตร.ม.
  • พนักงาน 4-6 คน (ประจำร้าน)
  • เมล็ดกาแฟ อาราบิก้า, โรบัสต้า
  • ยอดจำหน่ายเฉลี่ยขั้นต่ำ 250 แก้ว/วัน/สาขา

#ต้นทุนกาแฟคาเฟ่ อเมซอน 1 แก้ว (55 บาท)

เปรียบเทียบค่ากาแฟ

  • ค่าวัตถุดิบ+ส่วนผสมต่างๆ ประมาณ 34%
  • ค่า Royalty Fee 3%
  • ค่า Marketing Fee 3%

#รวมค่าวัตถุดิบ 34% +Royalty Fee 3% + Marketing Fee 3% = ต้นทุน 40% ต่อ แก้ว

ดังนั้น กาแฟ 1 แก้ว จะมีต้นทุนสินค้ารวม = 40%

  • กาแฟเย็น 1 แก้ว 55 บาท
  • ต้นทุนจะอยู่ที่ 22 บาท ต่อแก้ว

#กำไรขั้นต้น = 33 บาท ต่อแก้ว

#เจ้าของร้านแฟรนไชส์ ขายได้วันละ 250 แก้ว

เปรียบเทียบค่ากาแฟ

  • รายได้ต่อวัน 250×55 = 13,750 บาท
  • รายได้ต่อเดือน 13,750 x 30 วัน = 412,500 บาท
  • ต้นทุน 40% = 165,000 บาท
  • กำไรขั้นต้นประมาณ 412,500 – 165,000 = 247,500 บาท

เปรียบเทียบค่ากาแฟ

ทั้งนี้ กำไรขั้นต้นของร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน ยังไม่รวมต้นทุน ค่าเช่า + ค่าไฟ + ค่าน้ำ + ค่าพนักงาน 3-4 คน (เงินเดือน 15,000 บาท) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในระยะเวลาสัญญา 6 ปี

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3cVOC80 , https://bit.ly/3RulcNm

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3cX5fA8


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช