เทียบกันชัด ๆ E-commerce ในประเทศไทยปี 2019 ใครนำใครตาม
สำหรับยุคนี้อะไรก็สะดวกสบายขึ้นไปหมด ไม่ว่าจะสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นหรือจะช้อปปิ้งสิ่งของต่าง ๆ ก็สามารถทำได้อย่างง่ายดายแทบจะไม่ต้องออกไปเจอแดดเจอฝนกันเลย
ซึ่งก็เป็นที่แน่นอนว่าตลาด E-commerce ย่อมต้องเป็นที่รู้จักและที่ต้องการอย่างมากในยุคนี้ เนื่องจากตอบโจทย์ความสะดวกสบาย แถมเข้าแค่เพียงหนึ่งแอปแต่ได้เจอกับสินค้ามากมายหลายร้าน
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปดูกันว่า 3 แอพพลิเคชั่นช้อปปิ้งออนไลน์ในประเทศไทยที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดนั้นแต่ละเจ้ามีสถานการณ์อย่างไรกันบ้าง
1.LAZADA
ภาพจาก bit.ly/2JNOMgb
E-Commerce ที่มีต้นกำเนิดมาจากสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันเจ้าของก็คือ Alibaba ที่มาถือหุ้นกว่า 80% ในเมืองไทยนั้นจะเรียกว่าเป็นเจ้าใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ จากต้นกำเนิดที่ขายของเอง ปรับตัวเป็น “ตลาดกลาง” ให้ผู้ขายมาลงขายสินค้า
แถมยังเอาใจผู้บริโภคชาวไทยด้วยบริการ คืนของได้ ส่งฟรี หรือเก็บเงินปลายทาง จนทำให้ได้รับความนิยม และแทนที่จะมีแต่ร้านค้ารายย่อย ปัจจุบัน Lazada เริ่มจับมือกับแบรนด์ต่างๆ เปิดหน้าร้านอย่างเป็นทางการมากยิ่งขึ้น
ภาพจาก bit.ly/2GqQGRS
- ปี 2560 รายได้ประมาณ 1,691 ล้านบาท ขาดทุน 568 ล้านบาท
- ปี 2561 สินทรัพย์รวมประมาณ 1,927 ล้านบาท ขาดทุน 2,645 ล้านบาท
จำนวนสินค้า : มากกว่า 210 ล้านรายการ
ค่าขนส่ง : ผู้ขายจ่าย
ค่าคอมมิชชั่น : มี ตามประเภทสินค้า
การชำระเงิน : เก็บเงินปลายทาง , บัตรเครดิต บัตรเดบิต , เคาน์เตอร์เซอร์วิส , ATM , บริการธนาคารออนไลน์ , Paypal , LINE Pay , Lazada Wallet
2.Shopee
ภาพจาก bit.ly/2OfUjk0
เว็บขายของซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Sea หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อ Garena ผู้ให้บริการเกมออนไลน์ชื่อดัง มีลักษณะเป็นตลาดกลางที่จับกลุ่มผู้ใช้รายย่อยมากกว่า
ซึ่งถ้า Lazada สามารถทุ่มเงินเพราะมีกลุ่มทุน Alibaba หนุนหลัง Shopee ก็มี Tencent เป็นผู้ถือหุ้นหลักคอยหนุนหลังอยู่เช่นกัน การแข่งขันของ 2 เจ้านี้จึงน่าจับตาอย่างยิ่ง
ภาพจาก bit.ly/2OhFpd5
- ปี 2560 รายได้ประมาณ 139 ล้านบาท ขาดทุน 1,404 ล้านบาท
- ปี 2561 สินทรัพย์รวมประมาณ 2,843 ล้านบาท ขาดทุน 4,113 ล้านบาท
จำนวนสินค้า : มากกว่า 3 ล้านรายการ
ค่าขนส่ง : ผู้ซื้อจ่าย Shopee ออกให้บางส่วนตามเงื่อนไข
ค่าคอมมิชชั่น : ไม่มี
การชำระเงิน : เก็บเงินปลายทาง , บัตรเครดิต บัตรเดบิต , เคาน์เตอร์เซอร์วิส , ATM , บริการธนาคารออนไลน์
3.WeLoveShopping
ภาพจาก weloveshopping.com
E-Commerce สัญชาติไทย ซึ่งนอกจากจะมีตลาดกลางที่หลายคนคุ้นกันในชื่อ WeLoveShopping แล้ว บริษัทยังมีเว็บไซต์ WeMall (หรือ iTrueMart) เป็นเว็บขายสินค้าเอง ถือเป็นอีกหนึ่งเว็บที่เปิดให้บริการมายาวนาน มีชื่อที่จดจำง่าย แถมระบบเปิดร้านอันไม่ซับซ้อน
นอกจากนี้ยังเอาใจคนที่กังวลเรื่องโดนโกงออนไลน์ด้วยระบบ WeTrust ไม่ได้ของยินดีคืนเงิน จึงทำให้มีคนมาเปิดร้านอยู่ตลอด และลูกค้าที่ค้นหาสินค้าก็มั่นใจมากยิ่งขึ้น
ภาพจาก bit.ly/2SCOICC
- ปี 2560 รายได้ประมาณ 146 ล้านบาท ขาดทุน 357 ล้านบาท
- ปี 2561 สินทรัพย์รวมประมาณ 920 ล้านบาท ขาดทุน 133 ล้านบาท
จำนวนสินค้า : มากกว่าล้านรายการ
ค่าขนส่ง : ผู้ซื้อจ่าย WeLoveShopping ออกให้บางส่วนตามเงื่อนไข
ค่าคอมมิชชั่น : ร้อยละ 3 ของมูลค่าการขาย
การชำระเงิน : เก็บเงินปลายทาง , บัตรเครดิต บัตรเดบิต , เคาน์เตอร์เซอร์วิส , ATM , บริการธนาคารออนไลน์ , TrueMoney Wallet
ทำไมบางครั้งซื้อสินค้าชิ้นเดียวกันแต่ Shoppee ถูกที่สุด ?
ภาพจาก bit.ly/2YgZhkX
- ผู้ขายสินค้าไม่ต้องแบ่งรายได้ให้กับทางเว็บไซต์ ขณะที่เว็บอื่น ๆ ต้องแบ่งรายได้ให้กับเว็บตามประเภทสินค้า
- ผู้ขายสินค้าผ่าน Shopee ไม่ต้องรับผิดชอบค่าส่งสินค้าเอง ลูกค้าจะรับผิดชอบส่วนนี้เองทั้งหมด
- E-Commerce ชื่อดังนี้เจ้าที่มีสินทรัพย์รวมมากที่สุดอันดับ 1 คือ Shoppee ต่อมาคือ Lazada และตามมาด้วย WeLoveShopping แต่เจ้าที่ขาดทุนมากที่สุดอันดับหนึ่งก็เป็น Shoppee อีกเช่นกัน ตามด้วย Lazada และ WeLoveShopping
จะเห็นได้ว่าแม้ E-Commerce ชื่อดังเหล่านี้จะเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายแต่ก็ยังไม่ได้ทำกำไร แถมยังขาดทุนกว่าพันล้าน อาจเป็นไปได้ว่าเป็นการทำเพื่อโปรโมทให้บริษัทใหญ่เข้ามาซื้อ
หรืออาจจะมีเหตุผลอื่น ๆ อีกซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่าเหล่า E-Commerce ในประเทศไทยนี้จะปรับตัวกันอย่างไรและเติบโตไปในทิศทางไหน
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
อ้างอิงข้อมูล