เทคนิคสร้างยอดขาย สินค้านิยมต่ำ กำไรสูง

กลยุทธ์ เทคนิคสร้างยอดขาย หรือการกระตุ้นยอดขายให้กับสินค้าที่ลูกค้าให้ความนิยมหรือสนใจต่ำ คนซื้อน้อย แต่มีกำไรสูง สามารถทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของแต่ละประเภทสินค้า ดังนี้

1.เจาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเฉพาะ

เทคนิคสร้างยอดขาย

ยกตัวอย่างเมนูของกินจำพวกสลัด ข้าวกล้อง รวมไปถึงอาหารออร์แกนิกต่างๆ เป็นอาหารที่คนไม่ค่อยทานกัน มีบางกลุ่มเท่านั้นที่ชอบ ควรทำตลาดเจาะกลุ่มคนรักสุขภาพโดยเฉพาะ อย่างโอ้กะจู๋ก็ทำสำเร็จมาแล้ว จนกลายเป็นสลัดพันล้าน

2.สร้างคุณค่าเพิ่ม

เทคนิคสร้างยอดขาย

ยกตัวอย่างอาหารทะเล คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ชอบ อย่างพวกปูทะเล ถ้าอยากขายได้ ควรเน้นคุณสมบัติที่โดดเด่นของอาหารทะเล เช่น รสชาติอร่อย จับได้เฉพาะฤดูกาลนี้เท่านั้น มีขายแค่ในจังหวัดนี้เท่านั้น จับสดใหม่ทุกวัน เป็นต้น

3.ทำการตลาดออนไลน์

ยกตัวอย่างเมนูอาหาร “ข้าวซอยหมี่กรอบล้านนา” แต่ก่อนเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทานและไม่รู้จักหน้าตาว่าเป็นยังไง พอเป็นหนึ่งในเมนูอาหารช่วงการประชุมเอเปคที่กรุงเทพฯ มีการโฆษณาประชาสัมพันธ์เผยแพร่ภาพทางโลกออนไลน์ ทำให้เกิดกระแสคนแห่ตามรอยเมนูผู้นำเอเปคจนคิวแน่นร้าน ทำให้คนเชียงใหม่ยิ้มแทบแก้มปริ

4.สร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์

ยกตัวอย่าง “ข้าวมันไก่เบตง” แต่ก่อนคนไม่ค่อยรู้จัก ไม่ค่อยทานกัน ขายจำกัดเฉพาะในบางพื้นที่ พอมีการสร้างแบรนด์ให้ดี มีสร้างเอกลักษณ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเบตงที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ช่วยให้แบรนด์ให้มีความชัดเจนและเป็นที่จดจำ อีกทั้งยังแตกต่างจากไก่ทั่วไปตรงที่เนื้อจะเด้ง กรอบนอก นุ่มใน เนื้ออกจะขาว ส่วนเนื้อน่องจะสีเข้ม

5.จัดโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริมการขาย

ภาพจาก www.facebook.com/HasunDriedSeafood

ยกตัวอย่าง “บังฮาซันอาหารทะเล จ.สตูล” เคยดูเขาตอนไลฟ์สดขายอาหารทะเล อย่างกรณี “ปลาอินทรีย์เค็มเนื้อหอม” เป็นอาหารทะเลที่คนนิยมกินน้อย โดยเฉพาะคนแถวอีสาน-เหนือ เพราะราคาแพง บังฮาซันก็เลยจัดโปรโมชั่นส่วนลด แถมอาหารทะเลอื่นๆ พร้อมจัดส่งฟรีถึงบ้าน ช่วยดึงดูดคนที่ไม่เคยกินปลาอินทรีย์เลย อยากลองกินปลาอินทรีย์ขึ้นมาทันที

6.ให้ทดลองใช้ แจกฟรี กินฟรี

เป็นอีกวิธีที่อยากให้เจ้าของกิจการเลือกใช้ถ้าสินค้าในร้านได้รับความนิยมต่ำจริงๆ ลูกค้าไม่ค่อยซื้อกัน อาจเป็นเพราะลูกค้ายังไม่เคยลอง ไม่เคยใช้ ไม่เคยกิน ยกตัวอย่างถ้าเป็นร้านอาหารก็ลองจัดเมนูขายยากให้ลูกค้าที่มาครั้งแรกกินฟรี ถ้ารสชาติอร่อย ลูกค้าติดใจ เชื่อว่าครั้งต่อไปก็อาจจะสั่งเมนูนี้อีกแน่นอน และเราก็สามารถขึ้นราคาได้ด้วยในภายหลัง

7.ลดราคา ขายให้ได้มาก

เป็นวิธีสุดท้ายที่อยากให้เจ้าของกิจการลองทำดูหากสินค้าคนซื้อน้อย แต่ได้กำไรดีครึ่งต่อครึ่ง สมมติปกติขาย 100 กำไร 50 ลองลดราคาลงมาขาย 70 บาท ได้กำไร 35 บาท ถ้าขายได้จำนวนเพิ่มเท่าตัว ก็จะได้กำไรเพิ่มขึ้นด้วย ถือว่าไม่เลวครับ

สุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือของอะไร ถ้าอยากขายดิบขายดี แถมได้กำไรดี ผู้ประกอบการควรใส่ใจในเรื่องคุณภาพมาตรฐาน ราคาคุ้มค่า รสชาติอร่อย ตอบโจทย์ผู้บริโภค สินค้ามีเอกลักษณ์ ส่งเสริมการขาย และศึกษาความต้องการตลาด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช