เทคนิคบริหารแฟรนไชส์ 5 สาขาแรก ให้รอด!
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จํานวนมาก ที่ต้องการปลุกปั้นให้ธุรกิจของตนเองให้เติบโตก้าวไกลไปข้างหน้า ยิ่งมีจํานวนสาขามากเท่าไหร่ยิ่งดี นั่นหมายถึงชื่อเสียงและรายได้
ที่เข้ามาทําให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองเติบโตได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง หากผู้ประกอบการมีความมุ่งมั่นตั้งใจและศึกษาระบบแฟรนไชส์ให้ดี โอกาสที่แฟรนไชส์จะเติบโตก็มีมากไปด้วย
แต่อย่าลืมว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีสาขามาก อาจนำมาซึ่งความล้มเหลวได้เช่นเดียวกัน เพราะแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถดูแลสาขาแฟรนไชส์ได้อย่างทั่วถึง จนสุดท้ายทำให้สาขาแฟรนไชส์ต่างๆ ไปไม่รอด พอเสียหาสาขาหนึ่งก็ส่งให้ล้มทั้งระบบ
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงมีเทคนิคการบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ให้รอดใน 5 สาขาแรก มาฝากผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่กำลังคิดขยายสาขาเพิ่มขึ้นในอนาคต มาดูกันว่าผู้ประกอบการแฟรนไชส์ต้องทำอย่างไรบ้าง
1.สร้างระบบถ่ายทอดแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน
ภาพจาก goo.gl/frnDq9
ระบบแฟรนไชส์นั้น ถ้าหากจะวัดความสามารถของแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนใหญ่จะวัดที่ปริมาณความสำเร็จของแฟรนไชส์ซี คือ การอยู่รอดของแฟรนไชส์ซีนั่นเอง ยิ่งแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จมากเท่าไหร่ ก็แปลว่าแฟรนไชส์ซอร์มีความสามารถ และประสบความสำเร็จตามไปด้วย ดังนั้น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องทำให้แฟรนไชส์ซีในสังกัดให้อยู่รอดด้วย
หลักการบริหารแฟรนไชส์ ผู้เป็นแฟรนไชส์ซอร์ควรมองในสิ่งที่จะทำให้แฟรนไชส์ซีดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น ควรสร้างระบบสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน รูปแบบต่างๆ ของระบบควรเป็นอย่างไร แบบไหน
อย่างแรกเลยแฟรนไชส์ซอร์ควรสร้างร้านต้นแบบ ประมาณ 1-2 แห่ง เพื่อให้ได้รูปแบบการลงทุน ภาพลักษณ์ร้าน และการทดลองระบบ ดูอัตราการคืนทุน ผลกำไร แล้วค่อยส่งต่อรูปแบบธุรกิจที่สำเร็จให้กับแฟรนไซส์ซี
ถ้าร้านต้นแบบประสบความสำเร็จ มีกำไร มีแนวทางธุรกิจดี เมื่อแฟรนไชส์ซอร์คัดลอกธุรกิจจากร้านต้นแบบให้แฟรนไชส์ซี ไม่ว่าจะเป็น ทำเล ลักษณะผู้เป็นแฟรนไชส์ซี การลงทุน ตลอดจนวิธีการบริหารร้านได้ทั้งหมด โอกาสที่จะประสบความสำเร็จย่อมมีมาก เพราะแฟรนไชส์ซีได้ปฏิบัติตามรูปแบบร้านต้นแบบทุกอย่าง โอกาสประสบความสำเร็จก็มีมากขึ้น
2.เลือกแฟรนไชส์ซีเหมือนคู่แต่งงาน
ภาพจาก facebook.com/cocofuku8
ในการเลือกแฟรนไชส์ซีนั้น แฟรนไชส์ซอร์ควรจะคัดเลือกที่ตัวบุคคลเป็นหลัก ไม่ใช่เลือกแฟรนไชส์ซีจากเงินทุน หรือมีทำเลเท่านั้น ควรตรวจสอบคุณสมบัติของแฟรนไชส์ซี ว่ามีความเหมาะสมกับธุรกิจของคุณหรือไม่ มีความตั้งใจจริงที่จะทำธุรกิจให้สำเร็จหรือไม่ มีความรู้ความสามารถ มีนิสัยเข้ากับแฟรนไชส์ซอร์ได้หรือไม่ องค์ประกอบเหล่านี้ต้องมาก่อนเงินทุน
จริงๆ แล้วระบบแฟรนไชส์นั้น จะต้องมีภาระผูกพันทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3-10 ปีขึ้นไป ถ้าไม่เลือกที่ตัวบุคคล หรือไม่ทำให้เกิดความเข้าใจกันเข้ากันได้ มักไปไม่ค่อยรอด เหมือนกับที่ทฤษฎีบอกไว้ว่า การคัดเลือกแฟรนไชส์เหมือนกับการเลือกคู่สมรส
เพราะจะต้องเริ่มจากการพบปะพูดคุยกันก่อนว่า 2 ฝ่าย นิสัยไปกันได้หรือไม่ มีความตั้งใจที่ทำจริงแค่ไหน ตรงต่อเวลานัดหรือไม่ มีความรู้ความสามารถที่จะทำธุรกิจมากน้อยแค่ไหน มีเวลา เงินทุนพอหรือเปล่า ทำเลที่ตั้งเหมาะสมแค่ไหน
แฟรนไชส์ซอร์บางราย จะคัดเลือกแฟรนไชส์ซีจากมีเงินอย่างเดียว ไม่ได้ดูความตั้งใจ หรือความรู้ความสามารถ ก็จะประสบปัญหาความไม่เข้าใจกัน เกิดการเอารัดเอาเปรียบกัน ซึ่งตามมาด้วยการแยกทางกัน มากกว่าที่จะประสบความสำเร็จ
เมื่อใดที่แฟรนไชส์ทั้ง 2 ฝ่าย เปิดสัญญาคุยกัน และเริ่มคิดเล็กคิดน้อยทุกอย่าง จะต้องมีค่าปรับ มีค่าใช้จ่ายมากมาย สุดท้าย ความสัมพันธ์เริ่มไม่มีแล้ว โอกาสที่จะฟ้องร้องเลิกสัญญาเป็นไปได้สูงมาก
ถ้าทั้ง 2 ฝ่ายบริหารธุรกิจภายใต้ความสัมพันธ์อันดี เกื้อหนุนกัน เจ้าของแฟรนไชส์ก็จะบริหารงานระบบแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น การดูแลจะง่ายและไม่ยุ่งยาก ใช้กำลังคนในฝ่ายแฟรนไชส์ซอร์ 2-3 คน ก็สามารถดูแลแฟรนไชส์ซีได้ 70-100 รายได้เลย
3.มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรมต่อแฟรนไชส์ซี
ภาพจาก goo.gl/XkTV2d
ระบบแฟรนไชส์ที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ และอยู่รอดในยุคปัจจุบัน แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องซื่อสัตย์ต่อกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันละกัน ระบบแฟรนไชส์ทีล้มเหลวนั้น แฟรนไชส์ซอร์มักคิดว่าจะคิดเงินแฟรนไชส์ซีอะไรบ้าง จะหารายได้จากแฟรนไชส์ซีได้อย่างไร ตรงนี้จะทำให้ต้นทุนของแฟรนไชส์ซีสูงขึ้น จนไม่สามารถอยู่รอดได้
ดังนั้น ทุกครั้งที่แฟรนไชส์ซอร์จะคิดค่าใช้จ่าย ควรคำนึงถึงความอยู่รอดของธุรกิจด้วย แฟรนไชส์ซอร์ที่ดีมักจะคิดอยู่เสมอว่า จะทำอย่างไรที่จะประหยัดค่าใช้จ่ายให้ได้ เพราะถ้าแฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จ ก็จะเป็นผู้แนะนำแฟรนไชส์รายอื่นเข้ามา
4.แบ่งหน้าที่รับผิดชอบระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี
ภาพจาก goo.gl/QB9eNM
นอกจากแฟรนไชส์ซอร์จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี ระบบต่างๆ ให้กับแฟรนไชส์ซีไปแล้ว หน้าที่อย่างหนึ่งของแฟรนไชส์ซอร์ คือ จะไม่เข้าไปก้าวก่ายในการบริหารกิจของแฟรนไชส์ซี ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะแบ่งหน้าที่กันทำงาน
แฟรนไชส์ซีจะทำหน้าที่ในการลงทุน ดูแลสาขา ดูแลลูกค้า และบริหารงานภายใต้แผนธุรกิจของแฟรนไชส์ซอร์ ส่วนแฟรนไชส์ซอร์จะทำหน้าที่ในการสอนอบรม ให้แผนธุรกิจ จัดซื้อจัดหาสินค้าและวัตถุดิบให้ ดูแลการขยายทางการตลาด พยากรณ์ความเป็นไปของธุรกิจ ให้คำแนะนำ รวมทั้งทำหน้าที่ในการพัฒนาสินค้าและพัฒนาธุรกิจ ให้มีความได้เปรียบในหลายๆ ด้าน
นอกจากแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี จะเข้าใจบทบาทของกันและกันแล้ว หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการบริหารแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ ที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องยึดปฏิบัติ คือ ต้องมีใจรัก ต้องมีเวลา และเข้าใจธุรกิจที่ทำอย่างลึกซึ้งครับ
ภาพจาก bit.ly/2YNhB4y
ได้เห็นกันแล้วว่า เทคนิคในกรบริหารธุรกิจแฟรนไชส์ให้อยู่รอด 5 สาขาแรก ต้องมีหลักการอะไรบ้าง ซึ่งทั้ง 4 เทคนิคถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของการทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอด
หากผู้ประกอบการอยากให้แฟรนไชส์ของตัวเองเดินหน้าไปได้ สามารถนำเอาเทคนิคข้างต้นไปปรับใช้กับธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองได้ โดยเฉพาะเรื่องของการหาแฟรนไชส์มาเป็นคู่ครอง ถ้าเลือกคู่ครองผิด ชีวิตก็จะล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น
คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php
Franchise Tips
- สร้างระบบถ่ายทอดแฟรนไชส์ที่เป็นมาตรฐาน
- เลือกแฟรนไชส์ซีเหมือนคู่แต่งงาน
- มีความซื่อสัตย์ ยุติธรรมต่อแฟรนไชส์ซี
- แบ่งหน้าที่รับผิดชอบระหว่างแฟรนไชส์ซอร์กับแฟรนไชส์ซี
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3gPoSJl
ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise