“เต่าบิน” ยังไม่ขายแฟรนไชส์ แต่ร่วมธุรกิจกับเต่าบินได้!

ถ้าถามว่า “เวนดิ้ง แมชชีน” หรือ ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่กำลังมาแรงและมีคนพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น “เต่าบิน” คาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง บริการเมนูเครื่องดื่มมากกว่า 170 เมนู ล่าสุดเปิดตัวเมนูใหม่ “โจ๊ก” ราคาเริ่มต้น 25 บาท ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความเร่งรีบและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน

“เต่าบิน” มีความน่าสนใจอย่างไร ขายแฟรนไชส์หรือไม่ และเราสามารถร่วมธุรกิจกับเต่าบินได้หรือไม่ อย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

ทำความรู้จัก “เต่าบิน”

เต่าบิน ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก https://bit.ly/3EuSi9P

“เต่าบิน” เป็นคาเฟ่ชงกาแฟสดอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ในเครือบริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ FORTH จุดเริ่มต้นมาจากการทำตู้กดน้ำกระป๋อง ต่อด้วยตู้กดเครื่องดื่มอัตโนมัติ

ในช่วงแรกใช้ตู้นำเข้าจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ แต่เจอสารพัดปัญหาตามมาอีกมากมายนับไม่ถ้วน จึงนำไปสู่การค้นคว้าและพัฒนาการผลิตตู้กดเครื่องดื่มขึ้นมาเอง โดยทีมงานวิศวกรของบริษัทฯ ใช้เวลาพัฒนาเกือบ 2 ปี กว่าจะออกมาเป็นตู้กดกาแฟสดเต่าบิน และเป็นตู้กดเครื่องดื่มกาแฟสดที่ล้ำหน้ากว่าคู่แข่งในตลาดเวลานี้ เพราะมีให้เลือกกว่า 170 เมนู

เต่าบิน ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก facebook.com/TaoBinBeverage

“เต่าบิน” เป็นชื่อเล่นของผู้ก่อตั้งบริษัทฯ และมีงานอดิเรก “ขับเครื่องบิน” เมื่อนำมารวมกันได้ชื่อว่า “เต่าบิน” จึงเป็นที่มาของชื่อแบรนด์ รวมถึงความสอดคล้องระหว่างตู้กับลูกค้าที่ต้องรอเครื่องดื่มจากตู้ที่กำลังทำงาน เมื่อได้รับและดื่มเครื่องดื่มจากตู้เต่าบินจะได้รับรสชาติที่อร่อยและถูกปาก ปัจจุบันตู้จำหน่ายอัตโนมัติเต่าบินดำเนินธุรกิจมาแล้วกว่า 2 ปี

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมาเป็น “เต่าบิน” ทางบริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด ได้ส่งตู้ “เติมเต็ม Cafe” ออกสู่ตลาดมาก่อนแล้ว แต่เปิดบริการชงเครื่องดื่มให้ลูกค้าได้เพียงครึ่งปีเท่านั้น ทั้งที่ผลการตอบรับดี แต่เจอปัญหาทางด้านเทคนิคมาโดยตลอด

เต่าบิน ยังไม่ขายแฟรนไชส์

ภาพจาก facebook.com/TaoBinBeverage

ข้างในตู้เต่าบินจะมี Moving Part มากมาย ทั้งการจ่ายเครื่องดื่ม ไซรัป แก้ว หลอด หรือฝา ยังไม่นับอุปกรณ์ชงกาแฟ บดเมล็ดกาแฟ กระบวนการทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยหุ่นยนต์ ทุกอย่างถูกออกแบบและคิดคำนวณมาแล้ว ตั้งแต่น้ำหนักของกาแฟ แรงดันในการสกัด ช่วงเวลาในการไหลหรืออุณหภูมิของน้ำ ทุกแก้วได้รับการันตีว่ามีคุณภาพเหมือนๆ กัน

รายได้ “เต่าบิน”

2

ภาพจาก https://bit.ly/3EuSi9P

จากการตรวจสอบข้อมูลงบกำไร-ขาดทุน ประจำปี 2561 – 2563 บริษัท ฟอร์ท เวนดิ้ง จำกัด บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีดังต่อไปนี้

  • ปี 61 รายได้ 139 ล้านบาท ขาดทุน 17.9 ล้านบาท
  • ปี 62 รายได้ 211 ล้านบาท ขาดทุน 26.9 ล้านบาท
  • ปี 63 รายได้ 227 ล้านบาท ขาดทุน 44.8 ล้านบาท

“เต่าบิน” ยังไม่ขายแฟรนไชส์

สำหรับคาเฟ่อัตโนมัติ 24 ชั่วโมง “เต่าบิน” บริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ในปี 2566 จะติดตั้งตู้ให้บริการมากถึง 20,000 ตู้ ผ่านโมเดลธุรกิจที่คล้ายกับบุญเติม คือ มอบตู้ไปยังตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ โดยไม่ต้องเสียค่าเช่าแต่ออกแรงในการดูแลอย่างเดียว ส่วนการขยายแฟรนไชส์ “เต่าบิน” ยังไม่มีการเปิดขายแฟรนไชส์ แม้ว่ามีลูกค้าติดต่อสอบถามซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก

ร่วมธุรกิจเต่าบิน 2 ช่องทาง

1

ภาพจาก https://bit.ly/3EuSi9P

#เจ้าของพื้นที่

สำหรับใครที่เป็นเจ้าของพื้นที่ต่างๆ เช่น บริษัท โรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม คอนโด มหาวิทยาลัย ฯ ทางบริษัทฯ พร้อมดำเนินการติดตั้งและดูแลตู้เต่าบินให้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ยอดขายขั้นต่ำ 1,500 / วัน หากต่ำกว่า บริษัทฯ ขอพิจารณาเรื่องยกตู้กลับ) ทั้งนี้ พื้นที่นั้นๆ ต้องผ่านการประเมินจากบริษัทฯ ก่อน และเป็นเจ้าของพื้นที่นั้นจริงๆ เท่านั้น

#ตัวแทนเต่าบิน

สำหรับคนที่มีความมุ่งมั่นและกำลังมองหาธุรกิจยุคใหม่ หากสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับธุรกิจเต่าบิน สามารถสมัครเป็นตัวแทนบริหารตู้เต่าบินจำนวน 50 ตู้ขึ้นไปในพื้นที่ของตัวเอง (หาพื้นที่/ติดตั้งตู้/เติมวัตถุดิบ/ดูแลตู้) และจะต้องมีทีมและรถสำหรับเติมสินค้า ช่างเทคนิคสำหรับติดตั้งและซ่อมบำรุง ซึ่งตัวแทนได้รับส่วนแบ่งจากยอดขายตามที่ตกลงกัน

สนใจร่วมธุรกิจเต่าบิน คลิก https://www.tao-bin.com/contact

#สรุปก็คือ ปัจจุบัน “เต่าบิน” ยังไม่มีการขายตู้ ยังไม่เปิดขายแฟรนไชส์ แต่ร่วมธุรกิจกับเต่าบินได้

ข้อมูลจาก https://bit.ly/37udFfA , https://bit.ly/3jOLQkD 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3OqmasE

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช