เจ๊งระนาวทั่วโลก 16 ธุรกิจดัง ปิดกิจการส่งท้ายปี 2567

ยังไม่ฟื้น! 7 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจไทยปิดกิจการไปแล้วรวมมูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับธุรกิจที่ปิดกิจการสูงสุด ได้แก่ ก่อสร้าง 758 ราย, อสังหาริมทรัพย์ 467 ราย และอาหาร 259 ราย ส่วนช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2567 เจ๊งกันระยาวทั่วโลก มาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรบ้าง ทั้งของไทยและต่างประเทศ ปิดกิจการ ปลดพนักงาน เลย์ออฟ ส่งท้ายปี

1. Shell ปรับโครงสร้างหั่นพนักงานสำรวจน้ำมัน 20%

เจ๊งระนาวทั่วโลก
ภาพจาก www.shell.co.th

วันที่ 2 กันยายน 2567 มีรายงานข่าวว่า Shell ได้มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ ซึ่งคาดว่าจะมีการลดพนักงานในส่วนสำรวจแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลงถึง 20% ขณะที่นายใหญ่ของ Shell ระบุว่า ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไรให้มากขึ้น การปรับลดพนักงานดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ เป็นหลัก

2. Honda เลย์ออฟพนักงานในจีน 1,700 คน

เจ๊งระนาวทั่วโลก
ภาพจาก https://bit.ly/4gOoMOD/

วันที่ 10 ก.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า “ฮอนด้า มอเตอร์” กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายในตลาดจีน โดยมีแผนที่จะลดจำนวนพนักงานในบริษัทร่วมทุนกับ “ตงเฟิง มอเตอร์ กรุ๊ป” (Dongfeng Motor) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนแห่งที่ 2 ของฮอนด้าในจีนที่ต้องตัดสินใจลดขนาดองค์กร คาดสิ้นปีลดพนักงานทั้งหมด 3,000 คน หลังผู้บริโภคสนใจ EV เมินค่ายรถญี่ปุ่น

3. Texas Chicken ปิดกิจการในไทยหลังขาดทุน

วันที่ 16 กันยายน 2567 มีรายงานข่าวว่า เท็กซัส ชิคเก้น (Texas Chicken) แบรนด์ร้านฟาสต์ฟู้ดในเครือโออาร์ (OR) ประกาศปิดกิจการ Texas Chicken ทุกสาขา ในประเทศวันที่ 30 กันยายน 2567 หลังดำเนินกิจการในไทยมากว่า 9 ปี และมีรายงานผลประกอบการ OR ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2567 พบว่าจำนวนสาขาของร้าน Texas Chicken ลดลงเหลือ 97 สาขาจากไตรมาส 1 ปี 2567 ที่มีจำนวน 101 สาขา ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีจำนวน 107

4. INTUCH แจ้งจดทะเบียนเลิกกิจการ “ไอทีวี”

เจ๊งระนาวทั่วโลก
ภาพจาก https://bit.ly/4gbNCaY

วันที่ 17 กันยายน 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH รายงานตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทขอแจ้งให้ทราบว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) (ITV) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่ 52.92% ได้ดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567

5. Tipco เลิกผลิต-จำหน่าย “สับปะรดกระป๋อง” เหตุขาดทุน-ราคาผันผวน

เจ๊งระนาวทั่วโลก
ภาพจาก https://bit.ly/49x2vCq

วันที่ 25 กันยายน 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท ทิปโก้ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) แจ้งหยุดการดำเนินงานผลิตและจำหน่ายสับปะรดกระป๋องหลังขาดทุนต่อเนื่อง ราคาวัตถุดิบอย่างผลสับปะรดสดผันผวน ปิดตำนาน 48 ปี โรงงานทิปโก้ ประจวบคีรีขันธ์ พบก่อนหน้านี้คู่แข่งอย่าง “โดลไทยแลนด์” ที่โรงงานไม่ไกลกัน เลิกจำหน่ายในไทย เน้นส่งออกต่างประเทศอย่างเดียว

6. Yi Fang ชาผลไม้ไต้หวัน ปิดตัวในไทย

วันที่ 26 กันยายน 2567 มีรายงานข่าวว่า Yi Fang” ชาผลไม้ชื่อดังจากไต้หวัน ประกาศปิดกิจการในไทย 20 ตุลาคม 2567 หลังจากดำเนินกิจการในไทยมากกว่า 5 ปี เหตุจากการแข่งขันในตลาดเครื่องดื่มมีสูง

7. SAMSUNG เลิกจ้างพนักงาน 10% ในอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

ภาพจาก https://bit.ly/49wJwro

วันที่ 3 ตุลาคม 2567 มีรายงานข่าวว่า ซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ (Samsung Electronics) บริษัทเทคยักษ์ใหญ่จากเกาหลีใต้ เริ่มดำเนินการปลดพนักงานทั่วโลกหลายพันตำแหน่ง รวมถึงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นไปตามแผนปรับโครงสร้างใหญ่ที่มีข่าวกระเส็นกระสายออกมาก่อนหน้านี้ และเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งจะเลิกจ้างพนักงานราว 10% ในอินเดีย และบางส่วนของละตินอเมริกา โดยการเลิกจ้างรอบนี้ คาดว่าจะมีพนักงานในต่างประเทศของซัมซุงได้รับผลกระทบไม่ถึง 10% จากทั้งหมด 147,000 คน

8. ช่อง 3 ประกาศเลย์ออฟพนักงาน

ภาพจาก www.becworld.com

วันที่ 7 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า บมจ.บีอีซี เวิลด์ ประกาศเลย์ออฟพนักงาน ปรับโครงสร้างองค์กร มีผลทันทีสิ้นปี 2567 เหตุจากรายจ่ายประจำสูง ทำให้ต้องมีการลดพนักงานครั้งใหญ่ เพื่อปรับลดค่าใช้จ่ายให้ได้ 30 เปอร์เซ็นต์เพื่อให้องค์กรอยู่ต่อไปได้ โดยระบุว่า เดิมทีจะมีการปรับโครงสร้างตั้งแต่หลังสงกรานต์ 2567 แต่ก็พยายามยื้อมาจนไม่ไหว

9. “นิสสัน” ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 9,000 คนทั่วโลก

ภาพจาก https://bit.ly/4iyiX9t

วันที่ 8 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า “นิสสัน” (Nissan) ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่จากญี่ปุ่น ประกาศจะเลิกจ้างพนักงาน 9,000 คนทั่วโลก เพื่อลดต้นทุน เป็นการรับมือกับยอดขายที่ตกลงในจีนและสหรัฐฯ โดยจะส่งผลให้กำลังการผลิตทั่วโลกลดลงถึง 1 ใน 5

10. บริษัท ฟูไน ไทยแลนด์ ปิดกิจการในไทย

ภาพจาก https://bit.ly/3OOUqiO

วันที่ 12 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท ฟูไน ไทยแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่หมู่ 18 ริมถนนปากช่อง-ลำสมพุง ต.จันทึก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา บริษัทผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขนาดกลาง ที่มีบริษัทฟูไนอิเล็กทริค บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้ยื่นขอล้มละลาย จากพิษเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทลูกในประเทศไทย ซึ่งเป็นคู่ค้า ต้องปิดตัวลงในวันที่ 14 พ.ย.67 และจ่ายเงินเดือนให้พนักงานกว่า 800 คนเดือนสุดท้ายในวันที่ 13 พ.ย. 67

11. “โบอิ้ง” เริ่มแผนเลิกจ้างพนักงาน 17,000 คนทั่วโลก

ภาพจาก https://bit.ly/3ZA4BwA

วันที่ 14 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท โบอิ้ง ออกหนังสือแจ้งการเลิกจ้างพนักงาน 17,000 คน หรือคิดเป็น 10% ของพนักงานทั่วโลก โดยจะเริ่มต้นตั้งแต่สัปดาห์ดังกล่าว โดยจะได้รับเงินเดือนจนถึงมกราคม 2568

12. AP เลิกจ้างพนักงาน 8%

ภาพจาก https://bit.ly/3VBE6pz

วันที่ 19 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า Associated Press (AP) สำนักข่าวไม่แสวงหากำไรระดับโลก ดำเนินงานมากว่า 178 ปี ประกาศลดจำนวนพนักงานลง 8% ผ่านการเปิดรับสมัครโครงการเกษียณก่อนกำหนดและการเลิกจ้าง ซึ่ง AP ถือเป็นสำนักข่าวที่มีอิทธิพลระดับโลก มีผู้บริโภคจชข่าวสารกว่า 4,000 ล้านคนต่อวัน มีผู้สื่อข่าวในเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก

13. Northvolt ผู้ผลิตแบตเตอรี่ EV รายใหญ่ยุโรปยื่นล้มละลาย

ภาพจาก https://bit.ly/3ZMqPNo

วันที่ 25 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท นอร์ธโวลท์ เอบี (NorthvoltAB) ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าของสวีเดนได้ประกาศขอยื่นล้มละลายหหลังจากพยายามหาเงินลงทุนเพิ่มเติมแต่ก็ไม่สำเร็จ ตอนนี้บริษัทมีเงินพอหมุนใช้อีกแค่ 1 สัปดาห์เท่านั้น บริษัทเองมีหนี้สินอยู่กว่า 2 แสนล้านบาท

14. บริษัทยานยนต์เส้นกิ่งแก้ว เลิกจ้างพนักงาน 900 คน

วันที่ 28 พ.ย. 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ประกาศเลิกจ้างพนักงาน 900 คน เหตุจากพิษเศรษฐกิจยืดเยื้อและวิกฤติโควิด-19 ทำบริษัทประสบปัญหาทางการเงิน และขาดเงินทุนหมุนเวียน

15. ดีลเลอร์รถยนต์ “มิตซู” ย่านรังสิต ประกาศยุติกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/4fuMm1P

วันที่ 1 ธ.ค. 2567 มีรายงานข่าวว่า บริษัท มิตซู รีพับบลิค จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ มิตซูบิชิ อย่างเป็นทางการ (ดีลเลอร์) ประกาศยุติบทบาทดีลเลอร์ 1 ธันวาคม 2567 โดยผันตัวเองเป็นผู้ให้บริการ “เช่าโชว์รูม” แทน ผู้บริหารยอมรับต้านทานกระแสแข่งขันในอุตสาหกรรมยานยนต์ไม่ไหว โดย มีค่ายรถจีนเป็นผู้เช่ารายใหม่เรียบร้อย

16. Workpoint ยุติผลิตละคร-เลิกจ้างพนักงาน

วันที่ 12 ธ.ค. 2567 มีรายงานข่าวว่า Workpoint อีกหนึ่งค่ายทีวีดิจิทัลได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร หลังประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รายได้โฆษณาลดลง โดยเริ่มจากการยุติการผลิตละคร และปิดแผนกธุรกิจด้านละคร รวมถึงเลิกจ้างพนักงานด้วย ทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายราว 100 – 150 ล้านบาทต่อปี

นั่นคือ 16 ธุรกิจดังทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปิดกิจการ ปลดพนักงาน ส่งท้ายปี 2567 หวังว่าต้นปี 2568 สถานการณ์ทุกอย่างจะดีขึ้น 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช