เจาะตลาด Gen Alpha! ขายอะไร! กำไรดีที่สุด!

Gen Alpha คือผู้ที่เกิดระหว่างปี 2553 – 2567 เด็ก Gen นี้เกิดและเติบโตในยุคดิจิทัล หรือที่เรียกว่า Digital Native คล้าย ๆ กับเจน Z โดย Gen Alpha มีลักษณะนิสัยเฉพาะเจาะจง คุ้นชินกับเทคโนโลยีตั้งแต่เด็ก สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างได้อย่างคล่องแคล่ว

คาดการว่า Gen Alpha มีประชากร 2.2 พันล้านคนทั่วโลก คิดเป็น 27.16% ถึงแม้ตอนนี้ Gen Alpha ยังไม่มีกำลังจับจ่ายใช้สอยเทียบเท่า Gen Y หรือ Gen Z แต่กลับเป็นเจนที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหลาย ๆ อย่าง ของคนในบ้าน เช่น การตัดสินใจซื้อสิ่งของ ไม่ว่าจะเป็น บ้าน เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ ฯลฯ ครอบครัวที่มี Gen Alpha อยู่ในบ้าน

เด็ก Gen นี้ จะมีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายภายในบ้าน 80 – 90% หากสินค้าไหนที่ลูกชอบ พ่อแม่ก็พร้อมที่จะซื้อสิ่งนั้นทันที ประมาณการต่อไปอีกว่า เมื่อถึงปี 2029 ตลาดสินค้า Gen Alpha ทั่วโลกจะมีมูลค่าเพิ่มเป็นสูงถึง 5.46 ล้านล้านดอลลาร์ (195 ล้านล้านบาท) ซึ่งมากเท่า ๆ กับการใช้จ่ายของ Gen Y และ Gen Z

ลักษณะนิสัยของ Gen Alpha ที่ควรรู้เพื่อเน้นการทำตลาดได้อย่างถูกต้อง

  • มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีตั้งแต่วัยเยาว์
  • เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติมากที่สุด
  • มีความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
  • รักอิสระและเปิดกว้างด้านจินตนาการ
  • เปิดใจรับในสิ่งที่ใช่โดยไม่ยึดติดกับแบรนด์
  • มีความคาดหวังสูงต่อความสะดวกสบายและประสิทธิภาพของสินค้า

ถ้าไปดูกลุ่มสินค้าที่คาดว่าจะเจาะตลาด Gen Alpha ได้แน่ๆ แต่ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ด้านการตลาดของแต่ละแบรนด์ร่วมด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มแรก

สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ก รวมถึงบรรดา Gadge ต่างๆ ที่เหมือนเกิดมาพร้อมกับเด็กในยุค Gen Alpha

เจาะตลาด Gen Alpha
ภาพจาก elements.envato.com

เด็กใน Gen Alpha สามารถใช้เทคโนโลยีได้เก่งตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนด้วยซ้ำ บวกกับวิถีชีวิตของพ่อแม่ที่ต้องทำงานทำให้การใช้อุปกรณ์ไอทีเหล่านี้ในเด็ก Gen Alpha มากขึ้นถึงขั้นน่าเป็นห่วง แต่ในอีกมุมหนึ่งก็คือโอกาสในด้านการตลาดของแบรนด์ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

สินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า / รองเท้า

เจาะตลาด Gen Alpha
ภาพจาก https://bit.ly/4jJHDN3

เราจะเห็นว่าหลายแบรนด์ได้หันมาทำเสื้อผ้าแบบผู้ใหญ่แต่ไซซ์เด็ก เพื่อเอาใจ Gen Alpha แทนที่จะทำแฟชั่นแบบเด็ก ๆ แบบในอดีต และการตลาดก็จะเน้นไปที่โซเชี่ยลให้เด็กกลุ่มนี้เห็นเพื่อให้เด็กไปอ้อนให้พ่อแม่ซื้อ ยกตัวอย่าง Nike ที่เปิดตัวรองเท้าคอลเลคชั่น “Nike FlyEase Dynamo Go” และเสื้อผ้าคอลเลคชั่น “Nike FlyEase Play Pack” เพื่อทำให้เด็กสามารถสวมใส่รองเท้าและเสื้อง่ายขึ้น – เร็วขึ้น

ของเล่น / ของใช้ รักษ์สิ่งแวดล้อม

เจาะตลาด Gen Alpha
ภาพจาก https://citly.me/WiYhB

ต้องบอกว่าของเล่นและของใช้สำหรับ Gen Alpha ต้องมีการตลาดที่แตกต่างไปจากยุคก่อนๆ เพื่อหวังสร้างยอดขายให้ดี ยกตัวอย่าง LEGO ที่เปิดตัวตัวต่อต้นแบบที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิลขวดพลาสติก PET โดยมีวัตถุประสงค์ผลิต LEGO จากวัสดุที่ยั่งยืน หรือการที่ Mattel ผู้ผลิตของเล่นรายใหญ่ที่รู้จักกันดี เช่น Barbie ได้เปิดตัวโครงการให้ครอบครัวที่ซื้อของเล่นในเครือ Mattel ไป หากไม่เล่นแล้ว สามารถนำมาคืนได้ เพื่อทางบริษัทจะนำของเล่นเก่าเหล่านี้ ไปเป็นวัสดุใช้ผลิตของเล่นใหม่ได้ ก็นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ผนวกนำมาใช้กับ Gen Alpha ได้เช่นกัน

อาหารทานเล่น / ขนมขบเคี้ยว

ภาพจาก https://bit.ly/4aPxjip

เป็นสินค้าที่ขายดีได้เช่นกันหาก เจาะตลาด Gen Alpha ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกตัวอย่าง CP Xtreme ที่ใช้กลยุทธ์ Gamification Marketing ผ่านเกมดังอย่าง ROBLOX ทำให้กลุ่ม Gen Alpha ไม่ได้แค่ดูอย่างเดียว แต่สามารถเข้าไปเล่นได้ด้วย เป็นการสร้าง behavior อย่างแนบเนียนที่ทำให้เด็ก Gen นี้จำภาพสินค้าได้มากและมีโอกาสสร้างยอดขายได้

เมนูสตรีทฟู้ด / เครื่องดื่ม

ภาพจาก www.facebook.com/PelicanaChickenThailand

ง่ายและเห็นภาพที่ชัดเจนสุดคือ “ไก่ทอด” ที่หลายแบรนด์มาเน้น เจาะตลาด Gen Alpha มากขึ้น ยกตัวอย่างไก่ทอด Pelicana เจาะกลุ่ม Gen Alpha เหตุผลก็คือเด็กใน Gen นี้ส่วนใหญ่ไม่กดดันเรื่องเงิน-ไม่มีแบรนด์โปรดในใจ โดยเลือกเปิดร้านที่ “สยามสเคป” เป็นสาขาแรก เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็น “Education Area” เป็นศูนย์รวมของนักเรียนนักศึกษาโดยแท้จริง ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของเพลิคาน่า

อย่างไรก็ดีแม้ Gen Alpha จะยังเป็นเด็กที่ไม่มีกำลังซื้อ แต่พ่อแม่ยุคนี้ก่อนจะตัดสินใจให้ลูก ต้องมั่นใจว่าลูกจะต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เพื่อให้มีความสุข ปลอดภัย และเติบโตอย่างเต็มที่ โดยไม่เกี่ยงราคา หากแบรนด์ไหนสามารถตีโจทย์การตลาด เอาชนะใจพ่อแม่ได้ ก็มีชัยไปกว่าครึ่งอีกด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด