เจาะตลาด “เครื่องดื่มชาแนวใหม่” มาแรงในจีน มูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท สร้างโอกาสผู้ประกอบการไทย

รู้หรือไม่ว่า เครื่องดื่มที่กำลังฮิตติดลมบนในประเทศจีนอยู่ในขณะนี้ ก็คือ “เครื่องดื่มชาแนวใหม่” หรือ New-style tea ยุค 3.0 มีส่วนผสมระหว่างชา+ชีส และ ชา+ผลไม้สด พัฒนาต่อมาจากสมัยชานมไข่มุก

เครื่องดื่มชาแนวใหม่ มีจุดเด่นตรงที่ใช้วัตถุดิบคุณภาพสดใหม่ ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคชาวจีนที่มีค่านิยมการบริโภคแนวใหม่ สอดคล้องกับยุคที่ผู้บริโภคชาวจีนหันมาใส่ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับกระแสโซเชียลมีเดียได้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยในจีน ยิ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้เครื่องดื่มชาแนวใหม่ได้รับความนิยมในตอนนี้

เครื่องดื่มชาแนวใหม่

สมาคมธุรกิจแฟรนไชส์จีน คาดการณ์ว่า สิ้นปี 2566 ตลาดเครื่องดื่มชาแนวใหม่ในจีนจะมีมูลค่า 149,800 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 44.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และในปี 2568 จะมีมูลค่าสูงถึง 201,500 ล้านหยวน หรือราวๆ 1 ล้านล้านบาท

จากสถิติช่วงกลางปี 2566 พบว่าในจีนแผ่นดินใหญ่มีร้านเครื่องดื่มชาแนวใหม่กว่า 515,000 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบร้านแฟรนไชส์ ในปี 2565 มีการเติบโตสูงถึง 55.2% ถ้าเป็นพื้นที่ชุมชนเมืองใหญ่ หรือพื้นที่ธุรกิจสำคัญ ร้านแฟรนไชส์เครื่องดื่มชาแนวใหม่จะมีการเติบโคสูงถึง 80% และแนวโน้มยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

เครื่องดื่มชาแนวใหม่

ตลาดเครื่องดื่มชาแนวใหม่ในจีน จะได้รับความนิยมและกำลังฮิตในหมู่กลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงาน โดย “หนานหนิง” เป็นเมืองเอกของกว่างซี ติด 1 ใน 10 ของเมืองที่มีร้านเครื่องชาแนวใหม่มากที่สุดของจีน ในปี 2565 พบว่ามีการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.64% ข้อมูลบนแพลตฟอร์ม Meituan ระบุง่า คนหนานหนิงทุก 5 คน มี 1 คนชอบดื่มชานม โดยประชากรกว่า 1.94 ล้านคน ชอบซื้อชานม คิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดกว่า 8.89 ล้านคน

เครื่องดื่มชาแนวใหม่

ภาพจาก www.facebook.com/nayukisg

แนวโน้มของธุรกิจเครื่องดื่มชาแนวใหม่ในจีนจะพัฒนาและขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์มากขึ้น รวมถึงในหนานหนิง ปัจจุบันมีแบรนด์แฟรนไชส์เครื่องดื่มชาแนวใหม่เข้าไปเปิดตลาดในหนานหนิงแล้ว อาทิ Hey Tea, Nayuki, Ah Ma, Hand Make, Tea Expert, Chictea, Liulijing, Baozhugong, Chadaofo, Qiancha

เคล็ดลับเจาะตลาดจีน โอกาสทองผู้ประกอบการไทย

เครื่องดื่มชาแนวใหม่

ภาพจาก www.facebook.com/NaixueThailand

  1. สร้างแบรนด์ให้แตกต่าง สร้างสรรค์เมนูแปลกใหม่ เช่น เบเกอรี่ ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ผลไม้แปลกใหม่ เหมือนแบรนด์ Naixue ชูเมนูชามะขามป้อม หรือแบรนด์ Ah Ma Hand Make จากกว่างซี ใช้สินค้าโอท็อปเป็นวัตถุดิบในเครื่องดื่ม เช่น นมควาย ชามะลิ เผือกกวน ข้าวเหนียว (โมจินม)
  2. สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องราว ยกตัวอย่างแบรนด์ Ah Ma Hand Make บอกเล่าเรื่องราวความทรงจำสมัยเด็กเป็นจุดขาย เพื่อให้ลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นคล้อยตามความรู้สึก สร้างความผูกพันกับแบรนด์
  3. ใช้กลยุทธ์ Co-Branding เช่น แบรนด์ Hey Tea จับมือกับแบรนด์แฟชั่น FENDI ผุดแคมเปญการตลาดระยะสั้นๆ กับเมนูน้ำผลไม้ปั่นแนวทรอปิคอลราคาเริ่มต้น 19 หยวน แถมมีโปรโมชั่นซื้อ 2 แก้ว แถมของที่ระลึก FENDI สร้างกระแสได้อย่างมาก ทำยอดขายได้ถึง 1.5 ล้านแก้วใน 3 วันแรก
  4. ตกแต่ง ดีไซน์ร้านสะดุดตา สไตล์คาเฟ่ เมนูเครื่องดื่มแปลกใหม่ มีเอกลักษณ์ โดดเด่น เป็นตัวตนของแบรนด์
  5. ขยายช่องทางการขายออนไลน์ เดลิเวอรี่ รวมถึงขายคูปองส่วนลดบนแพลตฟอร์ม Live-streaming ้เช่น Taobao Live/ Kuaishou และ TikTok
  6. บริการหลังการขายรวดเร็ว มีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  7. อย่าแตะประวัติศาสตร์และการเมือง ยกตัวอย่างแบรนด์ไต้หวัน Yifang แสดงจุดยืนของไต้หวัน ท้าทายชาตินิยมจีน สุดท้ายถูกแบนจากผู้บริโภคชาวจีน

แม้ว่าเทรนด์เครื่องดื่มชาแนวใหม่อาจจะเป็นธุรกิจกระแส แต่ถ้าผู้ประกอบการให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพวัตถุดิบ รสชาติ การบริการ ราคาเข้าถึงได้ มีช่วงจำหน่ายหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนา “สูตร” เฉพาะของตัวเอง หรือร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่น อาจประสบความสำเร็จในตลาดจีนได้ไม่ยาก

เครื่องดื่มชาแนวใหม่

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consulta

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช