เงิน 71 ล้าน ซื้อแฟรนไชส์อะไรได้บ้าง?

ถ้าเรามี เงิน 71 ล้าน ไม่ว่าจะได้มาโดยเสน่หาหรือว่าเป็นเงินที่ใครเขาให้เพื่อเอาไปลงทุนก็ตาม คำถามคือเราจะเอาเงินก้อนนี้ไปลงทุนอะไรได้บ้าง? อันที่จริงถ้าเงินมากขนาดนี้ แฟรนไชส์ในเมืองไทยมี 655 แบรนด์ เราเลือกแบรนด์ไหนก็ได้หมด

แต่ถ้าจะให้มองเห็นภาพชัดเจน เราจะลองไปโฟกัสกับแฟรนไชส์ที่เป็นงบลงทุนระดับหลักล้าน หรือเกือบๆล้านที่น่าจะสมน้ำสมเนื้อกับเงินลงทุนที่เรามี อย่างไรก็ดีคงต้องไปโฟกัสที่ตัวเราเองก่อนเช่นกันว่าเราต้องการลงทุนในแฟรนไชส์อะไรเช่น อาหาร , เครื่องดื่ม , การศึกษา , ค้าปลีก หรือว่าบริการ ซึ่งแต่ละหมวดหมู่ก็มีหลายแฟรนไชส์ที่น่าสนใจ ลองไปดูว่ามีอะไรกันบ้าง

แฟรนไชส์ร้านกาแฟ

Cafe-Amazon

1.คาเฟ่ อเมซอน ค่าแฟรนไชส์ 1.5 แสนบาท งบลงทุน 2.5 – 4 ล้านบาท สามารถลงทุนได้ 2-3 สาขา

แฟรนไชส์กาแฟ

2.อินทนิล ค่าแฟรนไชส์ ค่าแฟรนไชส์ 1.5 แสนบาท งบลงทุน 1 – 2 ล้านบาท สามารถลงทุนได้ 3 – 4 สาขา

3.MezzoX Drip Cafe ค่าแฟรนไชส์ 2.5 แสนบาท งบลงทุน 5 แสน – 1 ล้านบาท ลงทุนได้ 3 – 4 สาขา

ภาพจาก www.facebook.com/BlackCanyonThailand

4.แบล็คแคนยอน ค่าแฟรนไชส์ 6 แสนบาท งบลงทุน 2 – 4.5 ล้านบาท ลงทุนได้ 2 – 3 สาขา

ภาพจาก www.facebook.com/D.OroThailand.1999

5.ดิโอโร่ ค่าแฟรนไชส์ 3.5 แสนบาท งบลงทุน 2 – 4 ล้านบาท ลงทุนได้ 2 – 3 สาขา


แฟรนไชส์ร้านอาหาร

ภาพจาก www.facebook.com/NigiwaiShabuTaladSamyaek

1.NIGIWAI Shabu & Sushi Buffet ค่าแฟรนไชส์ 1 ล้านบาท งบลงทุน 3.5-8 ล้านบาท ลงทุนได้ 1 -2 สาขา

ภาพจาก กอลจักต๊อกป๊กกีชิกเก้น

2.กอลจักต๊อกป๊กกีชิกเก้น ค่าแฟรนไชส์ 3 แสนบาท งบลงทุน 1.35 – 2.5 ล้านบาท ลงทุนได้ 2-3 สาขา

เงิน 71 ล้าน

3.ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว งบลงทุน 70,000 – 150,000 บาท ลงทุนได้ 5 – 6 สาขา

เงิน 71 ล้าน

4.มอมส์ ทัช (ประเทศไทย) ค่าแฟรนไชส์ 2.9 แสนบาท งบลงทุน 4.5 – 7 แสนบาท ลงทุนได้ 5 – 6 สาขา

เงิน 71 ล้าน

5.กระทะเหล็ก งบลงทุน 1.5 – 2 ล้านบาท ลงทุนได้ 3 – 4 สาขา


แฟรนไชส์ร้านชานมไข่มุก

เงิน 71 ล้าน

1.วีดริ้งก์ ค่าแฟรนไชส์ 880,000 บาท งบลงทุน 1.5 – 2 ล้านบาท ลงทุนได้ 3-4 สาขา

เงิน 71 ล้าน

2.ปิงฉุน ค่าแฟรนไชส์ 50,000 บาท งบลงทุน 8.45 แสนบาท ลงทุนได้ 5-6 สาขา

Check List

3.โอชายะ ค่าแฟรนไชส์ 374,500 บาท งบลงทุน 7 แสน – 1 ล้านบาท ลงทุนได้ 3 – 4 สาขา

เงิน 71 ล้าน

4. Mixue ค่าแฟรนไชส์ 50,000 งบลงทุน 1 – 2 ล้านบาท ลงทุนได้ 4–5 สาขา

ซื้อแฟรนไชส์

5.แดรี่ควีน ค่าแฟรนไชส์ 1.5 ล้านบาท งบลงทุน 3 – 3.5 ล้านบาท ลงทุนได้ 2-3 สาขา


แฟรนไชส์บริการ – ความงาม – การศึกษา

ภาพจาก ด็อกเตอร์ ไทเกอร์ ลอนดรี้

1.ด็อกเตอร์ ไทเกอร์ ลอนดรี้ ค่าแฟรนไชส์ 1.188 ล้านบาท งบลงทุน 1.188 – 3.688 ล้านบาท ลงทุนได้ 2- 3 สาขา

ภาพจาก ศูนย์รักษาสิว เดอร์มิเนต

2.ศูนย์รักษาสิว เดอร์มิเนต ค่าแฟรนไชส์ 3.5 แสนบาท งบลงทุน 7 – 9 แสนบาท ลงทุนได้ 5 – 6 สาขา

ภาพจาก บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่ โฮม

3.บ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่โฮม ค่าแฟรนไชส์ 1.8 ล้านบาท งบลงทุน 20 ล้านบาท ลงทุนได้ 1 สาขา

ภาพจาก โรโบธิงค์

4.แฟรนไชส์การศึกษา โรโบธิงค์ ค่าแฟรนไชส์ 4.5 แสนบาท งบลงทุน 1 – 2 ล้านบาท ลงทุนได้ 3-4 สาขา

ภาพจาก www.facebook.com/kumonthailand

5.คุมอง ค่าแฟรนไชส์ 73,830 บาท งบลทุน 7 แสน – 1.2 ล้านบาท ลงทุนได้ 3-4 สาขา

นี่เป็นแค่ตัวอย่างบางส่วนที่เรายกตัวอย่างมาให้เห็นภาพ ด้วยเงิน 71 ล้านที่มีการลงทุนจึงทำได้มากกว่า 1 สาขา แต่ในแง่ของการลงทุนก็ยังต้องมีต้นทุนอีกหลายอย่างรวมถึงความเสี่ยงด้านต่างๆ ร่วมด้วย แต่ข้อดีของการลงทุนแฟรนไชส์คือมีทีมงานมีระบบบริหารจัดการ ที่พร้อมดูแลเราอย่างดี

ในแง่ของการคืนทุนนั้นเป็นอีกเหตุผลที่หลายคนอาจต้องคิดทบทวนก่อนว่าถ้ามีเงินมากขนาดนี้จะเลือกแฟรนไชส์ไหนที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ามากที่สุด ลองไปดูตัวอย่างของคาเฟ่ อเมเซอน ที่มีข้อมูลว่ายอดขายต่อเดือนประมาณ 4 -5 แสนบาท กำไรต่อเดือน (หลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ) ประมาณ 1 – 2 แสนบาท โอกาสคืนทุนประมาณ 2 ปี โดยขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ

หรืออย่างแฟรนไชส์สายชาบูสุกี้อย่าง NIGIWAI Shabu & Sushi Buffet ประมาณการรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 3 ล้านบาท (ในรูปแบบ Restaurant) กำไรประมาณ 15 – 20% จากยอดขาย โอกาสคืนทุนประมาณ 1 – 2 ปี เป็นต้น

อีกสักตัวอย่างคือการลงทุน Nursing Home กับบ้านธรรมชาติ บาย เฌ้อสเซอรี่โฮม ที่ใช้งบลงทุนประมาณ 20 ล้านบาท เป็นโมเดลแบบ 30 เตียง โอกาสคืนทุนจากธุรกิจนี้ตั้งเป้าหมายภายใน 3-4 ปี และเป็นธุรกิจที่มีความต้องการของลูกค้ากลุ่มผู้สูงวัยที่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

อย่างไรก็ดีหากเรามีเงินก้อนโตจำเป็นต้องมีวิธีบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ นอกจากการนำเงินมาลงทุนแล้ว ต้องมีการเก็บออม หรือนำเงินบางส่วนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด ซึ่งการวางแผนใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้เรามีความมั่นคงทางการเงินได้ดียิ่งๆขึ้นไปด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด