เครื่องหมายการค้า “เหมือนแค่ไหน” ถึงเรียกว่า “ละเมิดสิทธิ์”
การเริ่มทำธุรกิจสิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ” เครื่องหมายการค้า ” เพื่อใช้เป็นตราสินค้าและเพื่อให้เป็นที่จดจำของผู้ใช้สินค้า และต้องแน่ใจก่อนว่าเครื่องหมายการค้าที่จะใช้นั้นชื่อและรูปภาพจะไม่ไปเหมือนหรือคล้ายกับของผู้อื่นที่ยื่นจดทะเบียนแล้ว
แต่คำถามก็คือในยุคนี้ที่มีการแข่งขันกันสูงเหลือเกิน แถมมีธุรกิจเกิดขึ้นใหม่มากมายเราจะรู้ได้ยังไงว่าเครื่องหมายการค้าที่เราจดไปนั้นจะไปเหมือนหรือคล้ายคนอื่นไหม และ “เหมือนแค่ไหน” ถึงเรียกว่า “ละเมิดสิทธิ์”
ถ้าไปดูพรบ.เครื่องหมายการค้าปี 2565 นิยามคำว่า เหมือน หมายถึง เครื่องหมายที่มีลักษณะตรงกัน ส่วนคำว่า คล้าย หมายถึง เครื่องหมายมีความใกล้เคียงกันจนอาจทำให้สาธารณะชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า โดยจะพิจารณาจากภาพรวมของเครื่องหมาย สำเนียงเสียงเรียกขาน และรายการสินค้าทุกองค์ประกอบรวมกัน ว่ามีความคล้ายคลึงมากแค่ไหน
ภาพจาก https://elements.envato.com
และตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 บัญญัติว่า บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ซึ่งในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าแบบไหนที่ “ละเมิดสิทธิ์” มีหลักเกณฑ์ 3 ข้อคือ
- เป็นคำที่พ้องเสียงกัน เช่น nike – nikee – nikea
- เป็นคำที่พ้องรูปกัน เช่น Malee Meela ที่อาจเขียนอักษรคล้ายๆกัน
- เป็นธุรกิจในกลุ่มเดียวกันหรือคล้ายกัน
นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโดยดูจากสาระสำคัญของเครื่องหมาย กลุ่มผู้ใช้สินค้า และรายการสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียน เพื่อนำมาประกอบในการพิจารณาว่าเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายที่ได้ยื่นจดทะเบียนในระบบแล้วหรือไม่
โดยปกติ พรบ.เครื่องหมายการค้าจะให้สิทธิผู้ที่ยื่นขอจดทะเบียนก่อน ตามหลัก First to file เมื่อเครื่องหมายนั้นรับจดทะเบียนแล้วจะได้รับการคุ้มครองตั้งแต่วันแรกที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียน เมื่อมีเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันมาขอยื่นจดทะเบียน นายทะเบียนจะสั่งปฏิเสธรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มาเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายที่ได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว
ภาพจาก https://bit.ly/3Mr5MbI
ทั้งนี้มีกรณีตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจเป็นเคสของ Cafe’ Amazon แบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังที่นอกจากมีสาขาในประเทศยังมีการขยายสาขาไปต่างประเทศด้วย ซึ่งมีรายงานข่าวว่ามีร้านหนึ่งในกัมพูชาตั้งชื่อร้านว่า Café Amazing และมีรูปแบบร้านที่เหมือนกับ Cafe’ Amazon อย่างมากต่างกันเพียงแค่ชื่อร้านเท่านั้น แน่นอนว่าเรื่องนี้ทาง Café Amazon ได้ให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมหลักฐาน เพื่อยื่นฟ้องร้องร้านกาแฟดังกล่าวด้วย
ภาพจาก https://bit.ly/3XvdGXX
รวมถึงอีกเคสที่น่าสนใจเกิดเมื่อปี 2556 ระหว่าง “สตาร์บัง Vs สตาร์บัคส์” โดยเจ้าของร้านกาแฟระดับโลก “สตาร์บัคส์” ยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฟ้องกาแฟรถเข็น “สตาร์บัง” ในข้อหาเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
เคล็ดลับน่ารู้!
ชื่อแบรนด์สามารถใช้เหมือนกันได้ เนื่องจากชื่อแบรนด์ไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็แก้ปัญหาด้วยการจดชื่อแบรนด์ร่วมกับเครื่องหมายการค้า ทำให้มีสิทธิ์ในชื่อและโลโก้อย่างสมบูรณ์แบบ และสามารถเอาผิดกับคนลอกเลียนแบบทั้งโลโก้ ตัวสะกดแม้แต่การออกเสียงชื่อแบรนด์คล้าย ๆ กันได้
อย่างไรก็ดีชื่อแบรนด์ที่เหมือนกันแม้จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ในกลุ่มสินค้าอื่นก็สามารถจดทะเบียนในชื่อเดียวกันได้ ถ้ากลุ่มสินค้านั้นยังไม่มีผู้ขอจดทะเบียนการค้ามาก่อน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)