ฮะจิบัง ราเมน บะหมี่เลข 8 ครองใจคนไทยมา 34 ปี

ถ้าพูดถึงร้าน “ราเมน” หรือ “ราเมง” เจ้าแรกๆ ในประเทศไทย เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึง “ฮะจิบัง ราเมน” (Hachiban Ramen) หรือร้านราเมน บะหมี่เลข 8 และยังเป็นร้านที่หลายคนสงสัยว่าบริหารโดยคนญี่ปุ่นหรือคนไทยกันแน่

“ฮะจิบัง ราเมง” เข้ามาเปิดตลาดในไทย และครองใจลูกค้าคนไทยมากว่า 34 ปี ขายราคาไม่แพง เริ่มแรกไม่ถึง 100 บาท มาถึงปัจจุบันก็ยัง 100 บาทกว่าๆ สามารถเข้าถึงลูกค้าทุกระดับชั้น รสชาติแต่ละเมนูคงคุณภาพและมาตรฐานทุกชาม เรียกได้ว่ารสชาติตั้งเปิดร้านเป็นแบบไหนมาในวันนี้ก็ยังเหมือนเดิม เรื่องราวและกลยุทธ์ของ “ฮะจิบัง ราเมน” บะหมี่หมายเลข 8 น่าสนใจมากแค่ไหน ทำไมถึงครองใจคนไทยมากว่า 34 ปี

จุดเริ่มต้น “ฮะจิบัง ราเมน”

บะหมี่เลข 8

ฮะจิบัง ราเมน หรือ “Hachiban Ramen” ร้านราเมนหมายเลข 8 เปิดสาขาแรกปี 1967 บนถนนหลวงสาย 8 เมืองคางะ จังหวัดอิชิกาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดย มร. โจจิ โกโต้ ฮะจิบัง ตอนนั้นเป็นเพียงร้านเล็กๆ แบบเคาท์เตอร์ ขายราเมนเพียงไม่กี่เมนู เน้นเมนูง่ายๆ ราคาร้อยเยน แต่ทำให้ลูกค้าที่ไปกินมาแล้วต้องกลับไปซื้อซ้ำ

เพราะรสชาติของน้ำซุปเข้มข้น รสกลมกล่อมเข้ากับเส้นราเมนพอดี ทำให้ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบ กลายเป็นร้านราเมนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ มีลูกค้าเข้าคิวรอกินเป็นแถวยาวทุกวัน

เคยทำสถิติยอดขายสูงสุดถึง 1,300 ชามภายในวันเดียว คิดดูว่าตอนนั้นในร้านมีชามแค่ 25 ใบ พนักงานต้องล้างชามบ่อยแค่ไหน ว่ากันว่าในตอนนั้น มร. โจจิ โกโต้ ถึงขั้นวางแผนขยายสาขา และเริ่มพัฒนาเมนูที่หลากหลาย จนในที่สุดธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว สามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศญี่ปุ่นได้สำเร็จ

ในประเทศญี่ปุ่นสาขาส่วนใหญ่ของ “ฮะจิบัง ราเมน” อยู่ที่จังหวัดอิชิกาว่า และโทยามะ ไม่ได้อยู่ในโตเกียว หรือโอซากะ ที่เป็นเมืองแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของชาวต่างชาติ ทำให้คนไทยหลายคนที่ไปญี่ปุ่นอาจจะไม่เคยเห็นร้านฮะจิบัง ราเมนเลย

ปัจจุบัน “ฮะจิบัง ราเมน” มีสาขาในญี่ปุ่นกว่า 154 สาขา และต่างประเทศ อาทิ ฮ่องกง เวียดนาม และไทย

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมต้องหมายเลข 8 และหมายเลข 8 มีที่มาอย่างไร

ร้านราเมนหมายเลข 8 มาจากชื่อถนนหมายเลข 8 เป็นทำเลที่ตั้งร้านนั่นเอง และคำว่า “ฮะจิบัง” มีความหมายตามสัญลักษณ์ที่เป็นตัวเลขอารบิก 8 แสดงถึงความเป็นมงคลของชาวญี่ปุ่น เมื่อมองแนวตั้ง เลข 8 จะเหมือนตุ๊กตาล้มลุก หมายถึงความมั่นคง และเสถียรภาพ

หากมองแนวนอน เลข 8 เหมือนเครื่องหมายความเป็นนิรันดร Infinity ไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือนกิจการฮะจิบัง ที่มีความั่นคง ส่งมอบคุณภาพและบริการที่ดีให้กับลูกค้า

“ฮะจิบัง ราเมน” ในไทย

สำหรับในประเทศไทย ฮะจิบังราเมน ถูกนำเข้ามาภายใต้บริษัท ไทยฮะจิบัง จำกัด ของตระกูล “เหลืองภัทรเมธี” โดยก่อนหน้านี้เมื่อช่วงปลายปี 1991 คนในครอบครัวเหลืองภัทรเมธีเคยได้ไปลองชิมราเมนที่ร้านฮะจิบังที่ญี่ปุ่นแล้วติดใจ จึงอยากนำกลับมาเปิดสาขาในไทย หลังจากนั้นได้ก่อตั้งบริษัทฯ ขึ้นมาเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ฮะจิบังแต่เพียงผู้เดียวในไทย

  • พอมาปี 1992 ฮะจิบัง สาขาแรกได้เปิดให้บริการที่ศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์ ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม
  • ปี 2000 ขยายตลาดภาคอีสาน และตะวันออกครั้งแรก เปิดสาขา “เดอะมอลล์ โคราช” และ “แปซิฟิคฟาร์ค ศรีราชา”
  • ปี 2006 สร้าง “ครัวกลาง” ที่นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เป็นตัวช่วยให้ “ฮะจิบัง” รักษาคุณภาพมาตรฐานจนถึงปัจจุบัน
  • ปี 2012 ฉลองครบ 88 สาขา ที่เซ็นทรัลฯ อุดรธานี
  • ปี 2014 เปิดครบ 100 สาขาทั่วประเทศไทย
  • ปี 2025 มีสาขาทั้งหมด 168 สาขาทั่วประเทศไทย ทั้งกรุงเทพ ฯ และต่างจังหวัด นับเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

การทำธุรกิจของแบรนด์ “ฮะจิบัง ราเมน” ในไทย คือ การนำเสนอ “ราเมน” บะหมี่สไตล์ญี่ปุ่น ราคาคุ้มค่า คัดสรรวัตถุดิบอย่างดี และรักษามาตรฐานของแบรนด์เหมือนกับที่ญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้บริโภคคนไทยได้ลิ้มรสราเมนแสนอร่อยอย่างแท้จริง ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ใช้เวลาไม่นานก็เป็นที่นิยมครองใจลูกค้าคนไทยจนถึงปัจจุบัน

รายได้บริษัท ไทยฮะจิบัง จำกัด

  • ปี 2564 รายได้ 1,469 ล้านบาท กำไร 89 ล้านบาท
  • ปี 2565 รายได้ 2,318 ล้านบาท กำไร 356 ล้านบาท
  • ปี 2566 รายได้ 2,755 ล้านบาท กำไร 458 ล้านบาท

เมื่อวิเคราะห์รายได้และผลกำไรของ “ฮะจิบัง ราเมน” ช่วงปี 2564-2566 พบว่ารายได้และผลกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี แสดงให้เห็นว่า “ฮะจิบัง ราเมง” ประสบความสำเร็จอย่างมาก เป็นร้านอาหารของคนญี่ปุ่น แต่ครองใจคนไทยมากว่า 34 ปี

กลยุทธ์ “ฮะจิบัง ราเมน” ครองใจคนไทย

บะหมี่เลข 8

1. จับเป้าหมายลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งเด็ก วัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้ใหญ่ ครอบครัว นำเสนอราคาแต่ละเมนูไม่แพง คุ้มค่า จึงกลายเป็นแบรนด์ในใจของคนไทยมายาวนาน เมื่อพูดถึงราเมนให้นึกถึงฮะจิบังราเมน

2. ขยายสาขาครอบคลุมเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึง จะเห็นว่าสาขาส่วนใหญ่ของฮะจิบัง มักอยู่ตามห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต คอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ รวมถึงห้างค้าปลีกท้องถิ่นในต่างจังหวัด เพราะฮะจิบังมองว่าคนไทยชอบช้อปปิ้ง ชอบเดินตามห้าง เดินตามศูนย์การค้า ไม่ว่าจะเป็นวันหยุด หรือวันทำงาน

3. ราคาสบายกระเป๋า เมนูอาหารจานหลักในร้านฮะจิบังราเมน ปัจจุบันตั้งราคาอยู่ที่ 83-133 บาท อาหารทานเล่น 53-193 บาท เฉลี่ยแล้วราคาหลักร้อยต้นๆ ทำให้ฮะจิบังราเมนเข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มได้ง่าย แม้กระทั่งต่างจังหวัดก็ทานได้ ไม่รู้สึกว่าแพง

4. มีเมนูซิกเนเจอร์เป็นที่นิยมของคนไทย ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ตั้งแต่เรียนจบจนทำงาน เมนูเหล่านี้ยังได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็นเมนูจานหลักอย่าง ฮะจังเมน, ชาชูเมน, คาโมะนิ ราเมน, มิโซะ ราเมน, ไพตัน ราเมน ฯลฯ รวมไปถึงเมนูทานเล่นอย่าง เกี๊ยวซ่า ชีส, เมนชิ คัตสึ, คาราอะเกะ หรือกระทั่งลูกชิ้นปลาหมายเลข 8 ที่ยังครองใจลูกค้าคนไทยมาโดยตลอด

5. ฮะจิบังราเมน รักษาคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่เข้ามาเปิดตลาดในไทยใหม่ๆ จนถึงปัจจุบัน ทั้งผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ รสชาติเหมือนกันทุกชาม ทุกสาขา รวมถึงการให้บริการ ไม่พอฮะจิบังราเมนยังสร้างครัวกลางขึ้นมาในปี 2006 เพื่อผลิตและจัดส่งวัตถุดิบแบบวันต่อวันไปยังทุกสาขาทั่วประเทศ มีกระบวนการปรุงที่เป็นไปมาตรฐานของร้านทุกชาม

6. พัฒนาเมนูท้องถิ่น อย่างในเมืองไทยขึ้นชื่อในเรื่อง “ต้มยำกุ้ง” นอกจากฮะจิบังราเมนจะมีเมนูซิกเนเจอร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเองแล้ว ยังทำเมนู “ต้มยำกุ้ง ราเมน” กับ “ต้มยำ ชาชูเมน” สำหรับคนไทยที่ชอบรสชาติจัดจ้านโดยเฉพาะ

7. ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ดี ตั้งแต่เกิดการระบาดโควิด-19 ร้านในห้างเจอมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้ไม่สามารถนั่งทานในร้านได้ “ฮะจิบัง ราเมน” จึงปรับกลยุทธ์มาให้บริการ “เดลิเวอรี่” มากขึ้น และพัฒนาสินค้าใหม่ “เกี๊ยวซ่าหมูแช่แข็ง” สำหรับลูกค้าที่ต้องซื้อกลับไปทานที่บ้าน

อีกตัวอย่างการปรับตัวของ “ฮะจิบัง” ที่ตอบโจทย์ลูกค้าคนไทยมากๆ แต่ก่อนร้านฮะจิบัง ราเมน ไม่สามาถจ่ายบัตรเครดิตได้ รับแต่เงินสด แต่เดี๋ยวนี้สามารถจ่ายบัตรเครดิตและเดบิตได้แล้ว (ขั้นต่ำ 300 บาท) และยังสแกน QR Code จ่ายได้ไม่มีขั้นต่ำ

มาถึงตรงนี้ คิดว่าหลายคนคงจะรู้แล้วว่า ทำไม “ฮะจิบัง ราเมน” ถึงครองใจลูกค้าคนไทยมากว่า 34 ปี หลายคนอาจจะเคยกินตั้งแต่สมัยเรียน มาถึงตอนนี้ทำงานแล้วก็ยังกินอยู่ หลายคนอาจมองว่าราคาถูกกว่าร้านอื่นๆ รสชาติอร่อย มีมาตรฐาน

ที่สำคัญก็คือ “ฮะจิบัง ราเมน” เลือกกลุ่มลูกค้าได้ทั่วถึง ตั้งราคาเข้าถึงง่าย มีการสร้างมาตรฐาน และสร้างสรรค์เมนูอาหารญี่ปุ่นผสมผสานกับเมนูต้มยำกุ้งยอดฮิตของคนไทย ถ้าใครได้ลองแล้วจะรู้เลยว่า ทำไมถึงครองใจคนไทยมายาวนาน

แหล้งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช